https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/issue/feed วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก 2024-12-30T16:39:55+07:00 Asst.Prof.Dr.Sudasawan Ngammongkolwong sciandtech.sbc@gmail.com Open Journal Systems <p>วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก เป็นวารสารของคณะเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชั่น สาขานวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ/เทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขนวัตกรรมทางธุรกิจ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทางวารสารมีการเผยแพร่กำหนดพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม โดยการประเมินคุณภาพบทความผ่านผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 ท่าน</p> https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/255321 ประเด็นปัญหาการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในภาคการศึกษา 2024-08-26T13:30:43+07:00 กฤษฏิ์พนธ์ พรรณรัตนชัย therdpong.d@rmutp.ac.th วรชัย ศรีสมุดคำ therdpong.d@rmutp.ac.th มงคล ศิริวงศ์ therdpong.d@rmutp.ac.th เทอดพงษ์ แดงสี therdpong.d@rmutp.ac.th <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในภาคการศึกษา 2) วิเคราะห์ถึงประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในภาคการศึกษา และ 3) เสนอแนวทางในการปรับปรุงและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในวงการวิชาการ โดยแบ่งเป็น 2 ประเด็นหลัก คือ ปัญหาต่อผลงานวิชาการด้านจริยธรรมและการละเมิดสิทธิ์ และปัญหาต่อการเรียนการสอน พบว่า (1) ปัญหาต่อผลงานวิชาการด้านจริยธรรมและการละเมิดสิทธิ์ ได้แก่ ปัญหาความมีอคติและการขาดความเป็นธรรมของปัญญาประดิษฐ์ ส่งผลให้เกิดข้อมูลและผลลัพธ์ที่ไม่เป็นธรรม ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์และทุจริตทางวิชาการจากการใช้ปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งสอดคล้องกับปัญหาข้อมูลเท็จของโมเดลภาษาขนาดใหญ่จากการใช้ปัญญาประดิษฐ์ที่อาจนำไปสู่การเผยแพร่ข้อมูลเท็จ การลอกเลียนแบบ และการละเมิดลิขสิทธิ์ รวมไปถึงปัญหาด้านความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานปัญญาประดิษฐ์ ที่อธิบายถึงการรั่วไหลของข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ และ (2) ปัญหาต่อการเรียนการสอน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ปัญหาคุณภาพการเรียนการสอนและปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เนื่องจากการใช้ปัญญาประดิษฐ์ลดโอกาสการสื่อสารแบบต่อหน้าอาจส่งผลให้ผู้เรียนสูญเสียทักษะการพูด นอกจากนี้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ยังขาดความเข้าใจอารมณ์ อาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน ดังนั้นการพึ่งพาปัญญาประดิษฐ์มากเกินไปของผู้เรียน อาจส่งผลทำให้ศักยภาพและคุณภาพในการเรียนรู้ลดลง นอกจากนี้ยังอาจเกิดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลขึ้นได้หากผู้เรียนอยู่ในพื้นที่ด้อยโอกาส </p> 2024-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/254456 การพัฒนาเว็บแอพพลิเคชันเพื่อประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการจำหน่าย ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผักตบชวา 2024-07-02T14:14:31+07:00 ปวัณพัตร์ ศรีทรงเมือง nuchsharat.n@rmutsb.ac.th นุชรัตน์ นุชประยูร nuchsharat.n@rmutsb.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาเว็บแอพพลิเคชันเพื่อประชาสัมพันธ์และส่งเสริม<br />การจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผักตบชวา 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพเว็บแอพพลิเคชันเพื่อประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผักตบชวา และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจผู้ใช้เว็บแอพพลิเคชันเพื่อประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผักตบชวา ระบบที่พัฒนามีลักษณะเป็นเว็บแอพพลิเคชัน ใช้ Visual Studio Code สำหรับเขียนโปรแกรมด้วยภาษา JAVA และระบบจัดการฐานข้อมูล MySQL กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เข้ามาเยี่ยมชมและซื้อสินค้าผ่านเว็บแอพพลิเคชันเพื่อประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผักตบชวา ศูนย์การเรียนรู้ กศน.หนองน้ำใส อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 30 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบประเมินประสิทธิภาพเว็บแอพพลิเคชัน และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผลการหาประสิทธิภาพของเว็บแอพพลิเคชันเพื่อประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผักตบชวา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.24, S.D. = 0.67) และผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้เว็บแอพพลิเคชันเพื่อประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผักตบชวา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.50, S.D. = 0.57)</p> 2024-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/254697 การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อประชาสัมพันธ์แพลตฟอร์มสตรีมมิง MELLOW POP อสมท บนกูเกิลไซต์ 2024-07-08T14:29:13+07:00 พรปภัสสร ปริญชาญกล kuntida.tha@kmutt.ac.th กุลธิดา ธรรมวิภัชน์ kuntida.tha@kmutt.ac.th กชรัตน์ กลิ่นหอมกรุ่น kuntida.tha@kmutt.ac.th ปณิตา จงดำเกิง kuntida.tha@kmutt.ac.th ปวันรัตน์ สันโสภา kuntida.tha@kmutt.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อประชาสัมพันธ์แพลตฟอร์มสตรีมมิง Mellow POP อสมท บนกูเกิลไซต์ 2) เพื่อประเมินคุณภาพของสื่อที่พัฒนาขึ้น 3) เพื่อประเมินผลการรับรู้ของผู้ชมที่มีต่อสื่อ<br />ที่พัฒนาขึ้น 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ชมที่มีต่อสื่อที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้ชมสตรีมมิง Mellow POP อสมท จำนวน 50 คน ดำเนินการโดยวิธีสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย <br />1) แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านสื่อการนำเสนอ 2) แบบประเมินผลการรับรู้ 3) แบบประเมินความพึงพอใจ ผลการวิจัยได้พัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อประชาสัมพันธ์แพลตฟอร์มสตรีมมิง Mellow POP อสมท บนกูเกิลไซต์ <br />จำนวน 1 เรื่อง ผลการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา พบว่า อยู่ในระดับดี ( = 4.33, S.D. = 0.66) <br />ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่อการนำเสนอ อยู่ในระดับดีมาก ( = 4.56, S.D. = 0.54) ผลการประเมินด้านการรับรู้ของ<br />กลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.71, S.D. = 0.48) และผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.72, S.D. = 0.48) ดังนั้น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อประชาสัมพันธ์แพลตฟอร์มสตรีมมิง Mellow POP <br />อสมท บนกูเกิลไซต์สามารถนำไปได้จริง</p> 2024-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/254696 การพัฒนาชุดวิดีโอคอนเทนต์ เรื่อง “เกร็ดเล็กเช็กกีฬา” บนเพจเฟซบุ๊ก 9th STADIUM 2024-07-08T14:41:34+07:00 กุลธิดา ธรรมวิภัชน์ kuntida.tha@kmutt.ac.th พรปภัสสร ปริญชาญกล kuntida.tha@kmutt.ac.th ฮานีฟ ไวยศิลป์ kuntida.tha@kmutt.ac.th ชิดชนก เงินเจริญรุ่ง kuntida.tha@kmutt.ac.th พรธีรา ศรีสุทธิธาดา kuntida.tha@kmutt.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดวิดีโอคอนเทนต์ เรื่อง “เกร็ดเล็กเช็กกีฬา” บนเพจเฟซบุ๊ก 9th Stadium 2) ประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านสื่อการนำเสนอของชุดวิดีโอคอนเทนต์ที่พัฒนาขึ้น 3) ประเมินผลการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่าง 4) ประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อชุดวิดีโอคอนเทนต์ที่พัฒนาขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดวิดีโอคอนเทนต์ เรื่อง “เกร็ดเล็กเช็กกีฬา” บนเพจเฟซบุ๊ก 9th Stadium 2) แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านสื่อการนำเสนอ 3) แบบประเมินผลการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่าง 4) แบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ติดตามเพจเฟซบุ๊ก 9th Stadium จำนวน 50 คน ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายและยินดีตอบแบบสอบถามซึ่งผลการวิจัย ได้พัฒนาชุดวิดีโอคอนเทนต์ เรื่อง “เกร็ดเล็กเช็กกีฬา” บนเพจเฟซบุ๊ก 9th Stadium จำนวน 4 คลิป ผลการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาพบว่า อยู่ในระดับดี (x ̅ = 4.42, S.D. = 0.50) ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่อการนำเสนออยู่ในระดับดีมาก (x ̅ = 4.61, S.D. = 0.60) ผลประเมินการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.80, S.D. = 0.40) และผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.79, S.D. = 0.42) ดังนั้น ชุดวิดีโอคอนเทนต์์ เรื่อง “เกร็ดเล็กเช็กกีฬา” บนเพจเฟซบุ๊ก 9th Stadium ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ได้จริง</p> 2024-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/254790 การเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการลูกค้า กรณีศึกษา ตัวแทนการส่งออกทางเรือ 2024-08-26T13:23:44+07:00 ณัทธ์หทัย วรรณา Piyanate_nak@utcc.ac.th วิชญุตร์ งามสะอาด witchayut_tim@utcc.ac.th ปิยะเนตร นาคสีดี Piyanate_nak@utcc.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการลูกค้า กรณีศึกษา ตัวแทนการส่งออกทางเรือ <br />ของบริษัท สปีดมาร์ค ทรานสปอร์เตชั่น (ประเทศไทย) จำกัด โดยจัดทำแผนภูมิกระบวนการไหล (Flow Process Chart) <br />ในการแยกกิจกรรมการทำงานทั้งหมดเพื่อให้ทราบระยะเวลาการดำเนินงาน และนำมาปฏิบัติตามแนวคิด Lean สำหรับใช้ลดความสูญเปล่าในการทำงานโดยหลักการ 7 Waste และหลักการ ECRS เพื่อใช้กำจัดกิจกรรมที่เกิดการรอคอยและควบรวมกิจกรรมที่มีการทำงานซับซ้อนเข้าด้วยกัน เริ่มจากนำเครื่องมือ SOP (Standard Operating Procedure) , Checklist <br />มาใช้เป็นแนวทางการเริ่มต้นปฏิบัติงานและตรวจสอบรายการที่พนักงานต้องปฏิบัติ ป้องกันการตกหล่น ลดความล่าช้า <br />การรอคอย และใช้ KPI (Key Performance Indicator) ควบคุมและวัดประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน สรุปผลการปรับปรุงกระบวนการทำงาน สามารถลดขั้นตอนการทำงานจากเดิม 37 ขั้นตอน เหลือ 20 ขั้นตอน และลดระยะเวลา<br />การดำเนินงานรวมถึง 42% เหตุเพราะการทำงานง่ายขึ้น ไม่หยุดชะงัก ไม่เกิดจุดคอขวด ไม่เกิดความผิดพลาดในการทำงาน พนักงานมีศักยภาพในการทำงานและให้บริการได้ดีและรวดเร็วขึ้น ระยะเวลาการทำงานในหนึ่งการจัดส่งลดลง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจต่อไป</p> 2024-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/254791 ศึกษาความเป็นไปได้ในการเลือกทำเลที่ตั้งโกดัง เพื่อเพิ่มพื้นที่จัดเก็บวัตถุดิบมันเส้น กรณีศึกษาโรงงานอาหารสัตว์ บริษัท CP Cambodia 2024-09-02T14:13:50+07:00 ชัดชัย เที่ยงพลับ Piyanate_nak@utcc.ac.th วิชญุตร์ งามสะอาด witchayut_tim@utcc.ac.th ปิยะเนตร นาคสีดี Piyanate_nak@utcc.ac.th <p>บริษัท CP Cambodia ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจผลิตอาหารสัตว์ทั้งด้านการขายและใช้เองภายใน จำเป็นต้องมีกลยุทธ์ในการวางแผนจัดซื้อ และจัดเก็บ รวมทั้งบริหารต้นทุนในทุกจุด ซึ่งปัญหาที่บริษัทกำลังวางแผนในการแก้ไขคือ <br />พื้นที่จัดเก็บมันเส้นให้เพียงพอต่อการใช้ในการผลิตตลอดทั้งปี เพื่อไม่ให้กระทบต่อต้นทุนการผลิต หากมันเส้นไม่เพียงพอต่อการผลิต และต้องจัดซื้อในช่วงนอกฤดูกาลหรือใช้วัตถุดิบอื่นทดแทน ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เนื่องจากราคามันเส้นในช่วงนอกฤดูกาลจะสูง เนื่องจากผลผลิตจะมีปริมาณที่น้อยลง และราคาของวัตถุดิบทดแทนก็จะมีราคาสูงเช่นกัน</p> <p> ดังนั้นการศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเลือกทำเลที่ตั้งเหมาะสม สามารถเพิ่มพื้นที่โกดังจัดเก็บวัตถุดิบมันเส้น อีกทั้งสามารถใช้เป็นแนวทางในการลดต้นทุนการผลิตสินค้าของบริษัท โดยแนวทางการแก้ไขปัญหาที่นำมาใช้คือ การเปรียบเทียบการลงทุนในส่วนของการลงทุน โดยนำการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนดีกว่ามาจัดหาทำเลที่เหมาะสมที่สุด<br />ที่จะทำการเพิ่มโกดังสำหรับจัดเก็บมันเส้นต่อไป ซึ่งจากผลที่ได้คือการลงทุนในการก่อสร้างโกดังด้วยตัวเองให้ผลตอบแทน<br />ที่ดีกว่าการเช่า โดยเครื่องมือพิจารณาทางด้านปริมาณที่นำมาใช่ในการเลือกทำเลที่ตั้งในการก่อสร้างนั้นจำเป็นต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อมันเส้นจริงที่เกิดขึ้นในปี 2018-2022 ของบริษัท CP Cambodia จำกัด แล้วนำข้อมูลที่ได้มาประยุกต์ใช้กับวิธีวิเคราะห์จุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วง หรือ Center of Gravity Method เข้ามาพิจารณาทำเล<br />ที่เหมาะสมที่สุด ส่วนเครื่องมือทางด้านคุณภาพในการเลือกทำเลที่ตั้งในการก่อสร้างนั้น จำเป็นต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูล<br />ที่ได้จากผู้ชำนาญการในแต่ละระดับ ตั้งแต่ระดับปฏิบัติการจนถึง ระดับบริหาร โดยแบ่งสัดส่วนข้อมูลเป็น 30% -70% <br />แล้วนำข้อมูลที่ได้มาประยุกต์ใช้กับวิธีประเมินระดับความสำคัญของปัจจัย หรือ Factor Rating Method <br />โดยนำวิธีกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ หรือ Analytic Hierarchy Process เพื่อช่วยหาน้ำหนักของแต่ละปัจจัยที่ได้จากข้อมูลที่ได้จากผู้บริหาร อีกทั้งยังใช้เครื่องมือพิจาณาทางด้านการเงิน นั่นคือ Internal Rate Of Return ,Net Present Value รวมทั้ง Payback Period โดยข้อสรุปของเครื่องมือทั้ง 3 ด้านนั้นระบุว่าทำเลใดที่เหมาะสมในการก่อสร้างโกดังจัดเก็บมันเส้นเพิ่มเติมมากที่สุด โดยผลจากการวิจัยที่ได้รับจากรายงานฉบับนี้เป็นในแนวทางเดียวกันทั้ง 3 วิธี คือ ทำเลที่ 2 อยู่บริเวณโรงงานไพลิน ซึ่งอยู่ติดกับจังหวัดจันทบุรี ของประเทศไทย ถือเป็นพื้นที่ๆเหมาะสมที่สุด ในการสร้างโกดังจัดเก็บมันเส้น<br />เพื่อรองรับการใช้ผลิตอาหารสัตว์ได้ตลอดทั้งปีมากที่สุด อีกทั้งยังสามารถต่อยอดเพิ่มโอกาสในการใช้โกดังในด้านอื่นๆ <br />ให้สามารถหารายได้เพิ่มเติมอีกด้วย</p> 2024-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/255449 ระบบฐานข้อมูลงานซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลสำหรับงานขนส่งอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ 2024-09-02T14:31:05+07:00 ยุตภูมิ บุญส่งประเสริฐ 6514942002@rumail.ru.ac.th นิธิเดช คูหาทองสัมฤทธิ์ Nitidetch.k@rumail.ru.ac.th กุลวลัญช์ วรุณสิน kulwarun.w@rumail.ru.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบฐานข้อมูลงานซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลสำหรับงานขนส่งอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ โดยใช้การวิเคราะห์และออกแบบระบบการวิเคราะห์การไหลของข้อมูล และกูเกิลแอปชีต ระบบฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นแบ่งได้เป็น 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนจัดเก็บข้อมูลภายในแผนกซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล ส่วนการเตรียมงานใช้สำหรับกำหนดเครื่องจักรกลและผู้ปฏิบัติงานส่วนการจัดเก็บข้อมูลงานตรวจสอบและซ่อมบำรุง และส่วนการแสดงผลข้อมูล จากนั้นนำระบบฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นไปใช้งานจริง พร้อมทั้งเปรียบเทียบระยะเวลาการทำงานต่าง ๆ เพื่อเป็นการยืนยันว่าระบบฐานข้อมูลสามารถปรับปรุงงานตรวจสอบและงานซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลให้ดีขึ้น ผลการวิจัย พบว่า ระบบฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นสนับสนุนงานซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลสำหรับงานขนส่งอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ได้อย่างเป็นอย่างดี โดยพิจารณาจากระยะเวลาในการค้นหาเอกสารเฉลี่ยมีค่าเท่ากับ 0.53 นาที ลดลงจากเดิมคิดเป็นร้อยละ 66.88 ระยะเวลาการคัดกรองประวัติเฉลี่ยมีค่าเท่ากับ 0.61 นาที ลดลงจากเดิมคิดเป็นร้อยละ 94.85 และระยะเวลาการประเมินผลงานซ่อมบำรุงเฉลี่ยมีค่าเท่ากับ 2.26 นาที ลดลงจากเดิมคิดเป็นร้อยละ 43.78 เมื่อนำระยะเวลาก่อนและหลังการใช้ระบบฐานข้อมูลมาเปรียบเทียบด้วยสถิติทดสอบที พบว่าระยะเวลาต่าง ๆ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เนื่องจากค่าสถิติทดสอบทีมีค่าต่ำกว่าค่าวิกฤติของการทดสอบและค่าความน่าจะเป็นที่ใช้ในการทดสอบทางสถิติต่ำกว่าระดับนัยสำคัญทั้งหมด นอกจากนี้ระบบฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นยังกำจัดความผิดพลาดในการค้นหา คัดกรอง ประเมิน และจัดเก็บข้อมูล อีกทั้งระบบฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นสามารถสร้างรายงานผลได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจในการทำงานในอนาคตเมื่อมีข้อมูลอ้างอิงที่ชัดเจนและน่าเชื่อถือ</p> 2024-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/255566 การพัฒนาบทเรียนบนเว็บไซต์ รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) เรื่อง อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2024-08-29T10:35:28+07:00 มนัสนันท์ ปัญญาดี p.mmnsn@gmail.com ชุติมา ประมวลสุข Chutima.p@pkru.ac.th วรางคณา บุญญาพัฒนาพงศ์ warangkana.v@pkru.ac.th นิมิต นิรัติศัย Nimit.N@pkru.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาคุณภาพบทเรียนบนเว็บไซต์รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) เรื่อง อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 <br />2) เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนบทเรียนบนเว็บไซต์ เรื่อง อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บไซต์ เรื่อง อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนบนเว็บไซต์ เรื่อง อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือ<br />ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนบนเว็บไซต์ รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) เรื่อง อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) แบบประเมินคุณภาพบทเรียนบนเว็บไซต์ 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนบนเว็บไซต์</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนบนเว็บไซต์รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) เรื่อง อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.75 S.D.= 0.21) 2) บทเรียนบนเว็บไซต์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 1.45 สูงกว่า 1.00 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานของ<br />เมกุยแกนส์ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนว็บไซต์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนบนเว็บไซต์ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62 S.D.= 0.60)</p> 2024-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/255750 การวิเคราะห์ความเร็วอินเทอร์เน็ตที่ให้บริการผ่านโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่: กรณีศึกษาสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในจังหวัดเพชรบูรณ์ 2024-10-27T11:16:48+07:00 เทอดพงษ์ แดงสี therdpong.d@rmutp.ac.th สิริรักษ์ ภู่ริยะพันธ์ sirirak-ph@rmutp.ac.th กฤษฏิ์พนธ์ พรรณรัตนชัย kritphon.ai@pcru.ac.th <p class="p1">การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการทดสอบและเก็บข้อมูลผ่านแอปพลิเคชัน Speedtest ที่ติดตั้งบนโทรศัพท์ 5G โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพของบริการอินเทอร์เน็ตที่ให้บริการผ่านโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในพื้นที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดเพชรบูรณ์ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพบริการอินเทอร์เน็ตระหว่างพื้นที่รอบสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ และ 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพบริการอินเทอร์เน็ตระหว่างผู้ให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่รายหลักในพื้นที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดเพชรบูรณ์ ด้วยสถิติเชิงพรรณนา (หาค่าเฉลี่ย) และสถิติเชิงวิเคราะห์ (หาค่า p-value ด้วย ANOVA และ t-Test) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลผลการวิจัยพบว่า 1) จากการประเมินคุณภาพบริการอินเทอร์เน็ต พบว่า จากการทดสอบภาคสนามด้วยแอปพลิเคชัน Speedtest ในบริเวณสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในจังหวัดเพชรบูรณ์ สามารถวัดความเร็วในการดาวน์โหลดและอัปโหลดข้อมูลได้ดีที่สุดที่วัดผาซ่อนแก้ว โดยมีค่าเฉลี่ย 120.4 Mbps และ 29.6 Mbps ตามลำดับ 2) การศึกษาผลการทดลองใช้โครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ พบว่าส่วนใหญ่เป็นการเชื่อมต่อผ่านเครือข่าย 4G โดยมีเพียงบางจุดที่สามารถเข้าถึงบริการ 5G ได้ 3) ผลการศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพบริการระหว่างพื้นที่รอบสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ พบว่าความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูลระหว่างสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญโดยส่วนใหญ่ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt; 0.001) และ 4) ผลการศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพบริการ พบว่า โดยส่วนใหญ่ความเร็วอินเทอร์เน็ตของผู้ให้บริการทั้งสองรายมีความไม่ว่าจะเป็นการดาวน์โหลดหรืออัปโหลดข้อมูล มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt; 0.001)</p> 2024-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/255826 การพัฒนาระบบงานบริการห้องสมุดดิจิทัลโดยใช้แบบจำลอง อี-เอ็ส-ควอร์ สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย กลุ่มกรุงเทพมหานคร 2024-10-09T11:17:10+07:00 มานา สีพงษ์ mana_n2o@hotmail.com สุดาสวรรค์ งามมงคลวงค์ lukmoonoy_ping@hotmail.com <p>งานวิจัยเรื่องการพัฒนาระบบงานบริการห้องสมุดดิจิทัลโดยใช้แบบจำลอง อี-เอ็ส-ควอร์ สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย กลุ่มกรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจความต้องการของผู้ใช้งานเพื่อเข้าใจความต้องการของผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้องกับการใช้บริการห้องสมุดดิจิทัล 2) เพื่อพัฒนาระบบงานบริการห้องสมุดดิจิทัลโดยใช้แบบจำลอง E-S-Qual 3) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของระบบงานบริการห้องสมุดดิจิทัลโดยใช้แบบจำลอง E-S-Qual งานวิจัยครั้งนี้สามารถแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ประกอบไปด้วย ขั้นตอนที่ 1 ใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล (Ques-tionnaire) ความต้องการของผู้ใช้ ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาระบบด้วย Wordpress บนโปรแกรมจำลองเว็บเซิร์ฟเวอร์ XAMPP ขั้นตอนที่ 3 ประเมินประสิทธิภาพของระบบบริการห้องสมุดดิจิทัล ในการวิจัยใช้แบบสำรวจและแบบสอบถามโดยให้เลือกตามลำดับความสำคัญในความคิดเห็น 5 ระดับเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มประชากร คือ นักศึกษา, อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาจำนวน 40 คน โดยสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) โดยพิจารณาจากการนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่เคยมีประสบการณ์การใช้งานห้องสมุดดิจิทัล สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบหาค่าที (t-test) เพื่อนำมาใช้ในการทดสอบเพื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลที่มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มนักศึกษา และกลุ่มอาจารย์รวมถึงบุคลากรทางการศึกษา เพื่อการทดสอบต่อความเข้าใจแบบจำลอง อี-เอส-ควอร์ โดยกำหนดนัยยะสำคัญทางสถิติที่ 0.05ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าการพัฒนาระบบงานบริการห้องสมุดดิจิทัลโดยใช้แบบจำลอง อี-เอ็ส-ควอร์ สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย กลุ่มกรุงเทพมหานคร จะช่วยเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล ส่งเสริมการเรียนการสอนและการเรียนรู้ และส่งเสริมกิจกรรมวิจัย ผลการประเมินการทดสอบประสิทธิภาพโดยกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้งาน มีความเหมาะสมการนำไปใช้งานเพื่อสนับสนุนการให้บริการนักศึกษา, อาจารย์และบุคลากรสังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยี กลุ่มกรุงเทพมหานคร พบว่าค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.63 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 0.52 ซึ่งสามารถสรุปได้ว่ากลุ่มตัวอย่าง มีความคิดเห็นการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลโดยใช้แบบจำลอง อี-เอ็ส-ควอร์เหมาะสมกับการนำไปใช้งานมากที่สุด</p> 2024-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/255960 การเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจจับป้ายทะเบียนด้วย YOLO และ การรู้จำตัวอักษรด้วยแสง 2024-10-30T09:05:14+07:00 ภวัต อุดมฐานกุล pawatpawat2542@gmail.com ทรงพล นคเรศเรืองศักดิ์ songpon_n@hotmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจจับป้ายทะเบียนด้วย YOLO และการรู้จำตัวอักษรด้วยแสง (EasyOCR) 2) เพื่อศึกษาและหาเทคนิคและการใช้อัลกอริทึมที่มีความถูกต้องและมีประสิทธิภาพเพื่อออกแบบและพัฒนาระบบ ในการวิจัยนี้ใช้เทคนิคการประมวลผลภาพที่ประกอบด้วยการแปลงภาพเป็นระดับสีเทา, การเบลอภาพด้วยฟิลเตอร์เกาส์เซียน, การค้นหาขอบภาพด้วยโซเบล, การวิเคราะห์ภาพไบนารี, การตรวจจับเส้น, และการทำความสะอาดภาพด้วยการประมวลผลเชิงมอร์โฟโลยี โดยการทดลองได้ใช้ภาพป้ายทะเบียนทั้งหมดจำนวน 100 ภาพพบว่าวิธีการที่นำเสนอสามารถตรวจจับและอ่านป้ายทะเบียนได้ความถูกต้องเฉลี่ย 95.26% และ 78.68% ตามลำดับ </p> 2024-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/256014 การประยุกต์สถาปัตยกรรมองค์กรเต็มรูปแบบเพื่อพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน 2024-11-11T10:49:26+07:00 ธีระพล ลิ้มศรัทธา theerapol.lim@gmail.com รัตนาภรณ์ นิลพงษ์ rattanaporn_n@sbu.southeast.ac.th พุทธิพงษ์ พิพัฒน์วุฑฒิกร ipareng@gmail.com สุชาติ รมณียารักษ์ suchart@southeast.ac.th <p>การพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ในปัจจุบัน ด้วยขนาดของระบบที่มีความซับซ้อนและมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากความต้องการการใช้งานที่เปลี่ยนแปลง ส่งผลให้เกิดแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานบนระบบซอฟต์แวร์ AngularJS โดยใช้แนวคิดสถาปัตยกรรม Model-View-Controller มาศึกษาเพื่อแยกส่วนการทำงานอย่างอิสระต่อกันในงานวิจัยนี้ วัตถุประสงค์ของงานวิจัย 1) เพื่อพัฒนาและจัดการทุกชั้นของระบบเว็บแอปพลิเคชัน ตั้งแต่ frontend และ backend ไปจนถึง infrastructure และ 2) เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเอกสาร มคอ.3 และ มคอ.5 จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 40 คน เป็นอาจารย์ผู้สอนของมหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกที่มีแผนการจัดการเรียนการสอนและมีความเข้าใจในเอกสารมคอ. จึงเหมาะต่อการเก็บกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้งาน เครื่องมือที่ใช้วัดและประเมินผลเป็นแบบประเมินประสิทธิภาพ โดยการวัดแบบมาตราส่วน 5 ระดับ ตามแนวคิดของ Good ที่ทำให้เห็นภาพรวมผลการดำเนินงานและความสามารถในการทำงานตามมาตรฐาน และใช้ซอฟต์แวร์ AngularJS แบบ Model-View-Controller Architecture เพื่อพัฒนาและออกแบบเว็บแอปพลิเคชัน ตามแนวคิดของ Martin Fowler จากผลการวิจัย พบว่าซอฟต์แวร์ที่ใช้สามารถแยกความรับผิดชอบแต่ละส่วนอย่างอิสระต่อกัน และเกิดประสิทธิภาพต่อผู้ใช้งานระบบ ในด้านของหมวดการเรียนรู้ที่ต้องการใช้งาน หมวดการใช้งานง่าย เมื่อเทียบกับระบบเดิม (เอกสาร) และหมวดการเข้าถึงระบบและการเรียกใช้ออนไลน์ ซึ่งภาพรวมอยู่ในระดับ (ดี) มากที่สุด ( X ̅ = 4.56, S.D. = 0.48) ดังนั้น การออกแบบและพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันด้วยแนวทางนี้จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกับยุคที่ต้องการการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่รวดเร็ว ยืดหยุ่น และสามารถบำรุงรักษาได้ในระยะยาว</p> 2024-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/256028 การพัฒนาระบบติดตามความก้าวหน้างานวิจัย มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก 2024-10-24T14:19:23+07:00 วชิรวิชญ์ นิลสุก wachirawictch@southeast.ac.th ฌาวีรัชญ์ พรศิยาวรัญญ์ chawee3659@gmail.com นฤทธิ์ตา สุดสงวน naritta@southeast.ac.th เบญจมาภรณ์ รุ่นประพันธ์ wachirawictch@southeast.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบติดตามความก้าวหน้างานวิจัย และศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบติดตามความก้าวหน้างานวิจัย มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก โดยใช้แนวคิดการพัฒนาระบบ 5 ขั้นตอน คือการศึกษาความเป็นไปได้ การวิเคราะห์ การออกแบบ การสร้างและการทดสอบ และการเผยแพร่ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร นักวิจัย และเจ้าหน้าที่กลุ่มงานวิจัยที่ปฏิบัติการเกี่ยวข้องกับการติดตามงานวิจัย พัฒนาระบบด้วยภาษา PHP และใช้ระบบจัดการฐานข้อมูล MySQL และใช้แบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานเป็นเครื่องมือในการวิจัย ผลจากการพัฒนาพบว่า ระบบสามารถสนับสนุนกระบวนการดำเนินการวิจัย ในการติดตามสถานะของการดำเนินโครงการวิจัย ที่ขอรับทุนอุดหนุนการวิจัยภายใน ทั้งในขั้นตอนเริ่มต้นอนุมัติโครงการ การรายงานความก้าวหน้า การเบิกจ่ายทุนวิจัย รวมไปถึงการสรุปผลการดำเนินโครงการวิจัยตามคณะและปีการศึกษาของงานวิจัยได้ ซึ่งระบบช่วยสนับสนุนให้ทั้งผู้บริหาร นักวิจัย และเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน รวมทั้งสามารถจัดการฐานข้อมูลงานวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยพบว่าผลการประเมินประสิทธิภาพในการพัฒนาระบบติดตามความก้าวหน้างานวิจัย ของผู้ทดลองใช้ระบบ จำนวน 10 คน ด้าน Functional Requirement Test ด้าน Functional Test ด้าน Usability Test และด้าน Security Test มีประสิทธิภาพในระดับดี และในส่วนของความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบ พบว่าผู้ใช้มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 4.22) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือด้านการแสดงผลของระบบ (𝑥̅ = 4.45) รองลงมาคือด้านสิทธิ์และความปลอดภัย (𝑥̅ = 4.26) ด้านการใช้งานการป้อนข้อมูลของระบบ (𝑥̅ = 4.17) และด้านการประมวลผลของระบบ (𝑥̅ = 4.00) ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่าระบบติดตามความก้าวหน้างานวิจัย ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้งานได้จริง ตรงความต้องการของผู้ใช้งาน และระบบสามารถสนับสนุนการติดตามงานทุนวิจัยภายในของมหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2024-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/256271 การพัฒนาระบบสนทนาโต้ตอบอัจฉริยะเพื่อให้คำปรึกษาการศึกษา และแนะแนวการศึกษาต่อ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2024-10-17T11:11:45+07:00 ปุริม ชฎารัตนฐิติ phurim.cr@bru.ac.th กมลรัตน์ สมใจ kamonrat.sj@bru.ac.th วรินทร์พิพัชร วัชรพงษ์เกษม warinpiphat.wp@bru.ac.th <p>มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ มีความตระหนักถึงความสำคัญของการให้คำปรึกษาการศึกษาและแนะแนวแก่ผู้เรียน จึงได้มีการพัฒนาระบบสนทนาโต้ตอบอัจฉริยะเพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการให้บริการนักศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาและการแนะแนวเพื่อการเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2) เพื่อพัฒนาระบบสนทนาโต้ตอบอัจฉริยะเพื่อให้คำปรึกษาการศึกษาและแนะแนวการศึกษาต่อ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการใช้งานระบบสนทนาโต้ตอบอัจฉริยะเพื่อให้คำปรึกษาการศึกษาและแนะแนวการศึกษาต่อ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ใช้ในศึกษาข้อมูลการให้คำปรึกษา โดยคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 30 คน และกลุ่มที่ 2 ประชากรที่ใช้ในการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อระบบสนทนาโต้ตอบอัจฉริยะ โดยใช้วิธีการสุ่ม จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) ชุดฐานข้อมูลให้คำปรึกษาแนะแนว 2) แอปพลิเคชันระบบสนทนาโต้ตอบอัจฉริยะ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อระบบสนทนาโต้ตอบอัจฉริยะ ผลจากการวิจัยพบว่า 1) ได้ข้อมูลการให้คำปรึกษานำมาสรุปเป็นชุดฐานข้อมูลให้คำปรึกษาการศึกษาและแนะแนวการศึกษาต่อ 2) ได้แอปพลิเคชันระบบสนทนาโต้ตอบอัจฉริยะเพื่อให้คำปรึกษาการศึกษาและแนะแนวการศึกษาต่อ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ที่สามารถให้ข้อมูลและเรียนรู้แก่ผู้ที่สนใจได้เป็นอย่าง และ 3) ผลจากการประเมินความพึงพอใจโดยกลุ่มตัวอย่าง ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.71, S.D. = 0.60)</p> 2024-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/256599 การพัฒนาบอร์ดเกมการศึกษาความจริงเสริมสำหรับการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน เรื่อง โปรแกรม Scratch ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2024-11-07T15:21:57+07:00 นันทรัตน์ เกียรติศักดิ์โสภณ nantarat@pkru.ac.th ณัฐริกา สงสังข์ nattarika3274@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์1) เพื่อพัฒนาบอร์ดเกมการศึกษาความจริงเสริม สำหรับการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน เรื่อง โปรแกรม Scratch ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของบอร์ดเกมการศึกษาความจริงเสริม สำหรับการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน เรื่องโปรแกรม Scratch ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยบอร์ดเกมการศึกษาความจริงเสริม สำหรับการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน เรื่อง โปรแกรม Scratch ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้บอร์ดเกมการศึกษา AR สำหรับการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน เรื่อง โปรแกรม Scratch ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4&nbsp; โรงเรียนบ้านฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต จำนวน นักเรียน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บอร์ดเกมการศึกษาความจริงเสริม เรื่อง โปรแกรม Scratch แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โปรแกรม Scratch ในการวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ โดยใช้สถิติการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสถิติทดสอบ (t-test) แบบ dependent</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินคุณภาพสื่อบอร์ดเกมการศึกษาความจริงเสริม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากผู้เชี่ยวชาญมีค่าเฉลี่ย =4.93 ซึ่งมีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) บอร์ดเกมการศึกษาความจริงเสริม สำหรับการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน เรื่อง โปรแกรม Scratch ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยมีประสิทธิภาพ 81.7/86.1 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โปรแกรม Scratch ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณสูงกว่า หลังใช้บอร์ดเกมการศึกษาความจริงเสริม พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเป็น 13.74 สูงกว่าคะแนนก่อนเรียนคือ 6.94&nbsp; 4) ความพึงพอใจของนักเรียนหลังใช้บอร์ดเกมการศึกษาความจริงเสริม เรื่อง โปรแกรม Scratch อยู่ในระดับมากที่สุด =4.63 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อที่นักเรียนตอบแบบประเมินมีความพึงพอใจสูงสุด 3 อันดับแรก คือ บอร์ดเกมมีความน่าสนใจและดึงดูด ( =4.90) รองลงมา คือ รู้สึกสนุกในการเรียน ( =4.87) และได้ความรู้เพิ่มขึ้นหลังจากศึกษาผ่านบอร์ดเกมเรื่องนี้ ( =4.84)</p> 2024-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/256321 THE EFFECT OF MARKET CULTURE ON DYNAMIC CAPABILITY AND FIRM PERFORMANCE 2024-10-29T15:21:03+07:00 Verathian Verathian verathian@sbu.southeast.ac.th Nantarat Klinhom nantarat@sbu.southeast.ac.th Thitikorn Suthiapa thitikorn@sbu.southeast.ac.th <p>This research aims to determine how market culture affects dynamic capability and firm performance. A total of 440 respondents, comprising experts and higher education students in technology and innovation fields in Thailand, were surveyed using a mixed-method approach, including qualitative in-depth interviews and quantitative multiple regression analysis. The study extends the work of Khianmeesuk et al. [1] by confirming the positive effect of market culture on dynamic capability and firm performance. Additionally, it examines the conceptual framework proposed by Suthiapa et al. [2] in the context of Thailand's technology and innovation sectors. The results reveal that market culture significantly influences dynamic capability, specifically seizing abilities and transforming abilities, with 𝑅<sup>2</sup> = 0.80, standard error = 0.03, 𝐹 =24.5 (p &lt; 0.001), and Durbin-Watson = 1.95. Furthermore, market culture and dynamic capability directly influence firm performance by 89% and 80%, with 𝑅<sup>2</sup> = 0.83 and 𝑅<sup>2</sup> = 0.75, respectively. Qualitative results from expert interview method supported the quantitative findings from in-depth insights that market culture significantly influences both dynamic capability and firm performance from the abilities of adaptability and innovation, technology integration, and external focus on market conditions. These findings confirm the earlier exploration by Khianmeesuk et al. [1] and align with the conceptual framework of Suthiapa et al. [2], suggesting that developing a market culture can enhance dynamic capability and firm performance.</p> 2024-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก