วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI <p>วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก เป็นวารสารของคณะเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชั่น สาขานวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ/เทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขนวัตกรรมทางธุรกิจ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทางวารสารมีการเผยแพร่กำหนดพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม โดยการประเมินคุณภาพบทความผ่านผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 ท่าน</p> Southeast Bangkok University th-TH วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก 2773-9120 <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์และเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก</p> การพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิกแบบอัลบั้มโพสต์บนแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อการประชาสัมพันธ์องค์กร https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/250085 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) พัฒนาสื่ออินโฟกราฟิกแบบอัลบั้มโพสต์บนแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์องค์กร 2) เพื่อประเมินคุณภาพสื่อที่พัฒนาขึ้น 3) เพื่อประเมินผลการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างมีต่อสื่ออินโฟกราฟิกที่พัฒนาขึ้น และ4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่ออินโฟกราฟิกที่พัฒนาขึ้นตามรูปแบบ ADDIE Model เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านสื่อการนำเสนอ แบบประเมินผลการรับรู้และแบบประเมินความพึงพอใจ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ติดตามบนแฟนเพจเฟซบุ๊กประชาสัมพันธ์องค์กรเอกชน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจงจากผู้ติดตามที่ยินดีตอบแบบสอบถาม จำนวน 30 คน และใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยได้ 1) ได้สื่ออินโฟกราฟิกแบบอัลบั้มโพสต์จำนวน 4 ชุด 2) ผลจากการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหา อยู่ในระดับดีมาก ( = 4.88 , S.D. = 0.22 ) และผลการประเมินคุณภาพด้านสื่อการนำเสนออยู่ในระดับดีมาก ( = 4.60 , S.D. = 0.52 ) 2) 3) ผลประเมินการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.70 , S.D. = 0.45) และ 4) ความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.61 , S.D. = 0.55 ) ตามลำดับ ดังนั้นสื่ออินโฟกราฟิกแบบอัลบั้มโพสต์ที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นจึงสามารถนำไปใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์องค์กรเอกชนได้จริง</p> พรปภัสสร ปริญชาญกล กุลธิดา ธรรมวิภัชน์ ชลิตา แทนเอี่ยม ปิยชัย อิ่มจิต Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 3 2 1 13 การลดความผิดพลาด และลดระยะเวลาในการหยิบสินค้า กรณีศึกษา บริษัท EUROSIA FOODS TRADING & AGENCIES CO., LTD. https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/250195 <p>การศึกษางานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาวิธีการลดความผิดพลาดและลดระยะเวลาในการหยิบสินค้าในส่วนของคลังสินค้าแบบทั่วไป ซึ่งปัญหาที่พบคือกระบวนการจัดเก็บสินค้าไม่มีการแยกหมวดหมู่ของสินค้า ส่งผลให้กระบวนการในการหยิบสินค้าเกิดการรอคอยและมีความซ้ำซ้อนเนื่องจากพนักงานหยิบสินค้าไม่ทราบชื่อของสินค้าเพราะไม่มีป้ายสัญลักษณ์ ทำให้พนักงานจำเป็นต้องเปิดดูสินค้าภายในกล่องเพื่ออ่านชื่อของสินค้านั้นจากบรรจุภัณฑ์ทีละกล่อง อีกทั้งการจัดเก็บสินค้าที่ไร้รูปแบบทำให้เกิดความผิดพลาดในการหยิบสินค้า การหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาด้วยผังก้างปลา โดยผู้ศึกษาได้ทำการแบ่งกลุ่มประเภทของสินค้าตามหลักทฤษฎี ABC Analysis เพื่อทำการจัดผังคลังสินค้าตามทฤษฎีกลยุทธ์การปรับเปลี่ยนการจัดเก็บสินค้า และนำแผนภูมิกระบวนการไหลมาวิเคราะห์ขั้นตอนกระบวนการในการหยิบสินค้า และทำการแก้ไขด้วยหลักการ ECRS Inventory classification และทฤษฎีการควบคุมด้วยการมองเห็น เพื่อการปรับปรุงวิธีการทำงานให้ง่ายขึ้นจะช่วยลดระยะเวลาการทำงานที่ซ้ำซ้อนและลดโอกาสการเกิดความผิดพลาดจากการทำงาน ผู้ศึกษาจึงได้ทำการศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และได้นำเครื่องมือมาแก้ไขปัญหาเพื่อให้พนักงานสามารถหยิบสินค้าได้รวดเร็วและประสิทธิภาพงานที่ดียิ่งขึ้น ผลการศึกษาพบว่า ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นก่อนปรับปรุง เกิดปัญหาการหยิบสินค้าผิดพลาด 123 ครั้ง จากการส่งมอบทั้งหมด 216 ครั้ง ในเดือนตุลาคม เดือนพฤศจิกายน และเดือนธันวาคม 2565 หลังการปรับปรุงในเดือนมกราคม 2566 เกิดความผิดพลาดเหลือ 0 โดยผลลัพธ์คิดเป็น 100% ในส่วนของกระบวนการหยิบสินค้าที่ล่าช้าจากกระบวนการทำงานที่ซ้ำซ้อน ทำให้ระยะเวลาก่อนการปรับปรุงเป็น 85.2 นาที ต่อ 1 คำสั่งซื้อ และผลลัพธ์หลังการปรับปรุงกระบวนการทำงาน ทำให้ระยะเวลาหลังการปรับปรุงเป็น 61 นาที ต่อ 1 คำสั่งซื้อ คิดเป็นระยะเวลาลดลงเฉลี่ย 28.4%</p> คัคณางค์ โคตรโยธา วิชญุตร์ งามสะอาด ปิยะเนตร นาคสีดี Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 3 2 14 31 กระบวนการและเทคนิคการสร้างสรรค์ภาพถ่ายโฆษณาอาหารในยุคดิจิทัล https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/250788 <p>การวิจัยเรื่องกระบวนการและเทคนิคการสร้างสรรค์ภาพถ่ายโฆษณาอาหารในยุคดิจิทัล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา กระบวนการการสร้างสรรค์การถ่ายภาพโฆษณาและเทคนิคการสร้างสรรค์ภาพถ่ายโฆษณาอาหารในยุคดิจิทัล ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods research) โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ กลุ่มนักสร้างภาพโฆษณาอาหาร จำนวน 7 คน โดยแบ่งเป็น นักสร้างสรรค์และตกแต่งจานอาหาร (Food Stylist) จำนวน 3 คนและช่างถ่ายภาพอาหาร (Food Photographer) จำนวน 4 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแนวคำถามสำหรับใช้ในการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการสร้างสรรค์การถ่ายภาพโฆษณาอาหาร มีหลักสำคัญ 3 ประการที่จะทำให้การถ่ายภาพโฆษณาอาหารมีความสมบูรณ์ คือ 1) ภาพอาหารต้องดึงดูดความสนใจ สามารถสะกดให้ผู้คนหยุดมองภาพได้ 2) สร้างอารมณ์คล้อยตาม ภาพถ่ายต้องสร้างความประทับใจให้ผู้ชม สร้างอารมณ์คล้อยตามได้ และ 3) ภาพอาหารต้องมีอิทธิพลต่อผู้ชม เมื่อเห็นภาพแล้วอยากกินอยากซื้อ เกิดการตัดสินใจซื้อ เทคนิคการสร้างสรรค์ภาพถ่ายโฆษณาอาหารมี 2 องค์ประกอบจะทำให้ถ่ายภาพโฆษณาอาหารมีความสมบูรณ์ คือ 1) แนวทางการจัดแสงถ่ายภาพโฆษณาอาหาร และ 2) อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการจัดแสง ผลการประเมินรับรองกระบวนการและเทคนิคการสร้างสรรค์ภาพถ่ายโฆษณาอาหารในยุคดิจิทัลความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ผลการประเมินรับรองโดยสรุปผลเฉลี่ยรวมทุกองค์ประกอบอยู่ในระดับมาก ( <strong> </strong>= 4.46, S.D. = 0.67)</p> ดร.กฤษฎา ทวีศักดิ์ศรี Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 3 2 32 48 การประเมินผู้ส่งมอบวัตถุดิบสำหรับโรงงานแป้งมันสำปะหลัง https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/250824 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผู้ส่งมอบวัตถุดิบสำหรับโรงงานแป้งมันสำปะหลังแห่งหนึ่งในจังหวัดสกลนคร จากการศึกษาการส่งมอบวัตถุดิบในปัจจุบัน พบว่า ทางโรงงานยังไม่มีเกณฑ์การพิจารณาที่ชัดเจนและเหมาะสม สำหรับการประเมินผู้ส่งมอบวัตถุดิบแต่ละราย ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้ประยุกต์ใช้กระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (AHP) เพื่อกำหนดค่าน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยในการประเมินผู้ส่งมอบวัตถุดิบให้กับทางโรงงานโดยเฉพาะกลุ่มลานมัน เนื่องจากมีปริมาณการส่งมอบที่มากกว่ากลุ่มเกษตรกร สำหรับการกำหนดปัจจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลและปรึกษาจากผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อวัตถุดิบและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า ผลการวิเคราะห์ค่าน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยทั้ง 3 ด้าน เรียงลำดับความสำคัญได้ดังนี้ 1) ปัจจัยด้านคุณภาพ (0.674) 2) ปัจจัยด้านปริมาณ (0.225) และ 3) ปัจจัยด้านการส่งมอบ (0.101) ตามลำดับ ส่วนผลการวิเคราะห์ค่าน้ำหนักสามารถจัดลำดับความสำคัญของผู้ส่งมอบวัตถุดิบลานมันในแต่ละปัจจัย และจัดลำดับความสำคัญของผู้ส่งมอบวัตถุดิบลานมันในภาพรวมได้ นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังได้ทำการจัดกลุ่มผู้ส่งมอบวัตถุดิบออกเป็นกลุ่ม AA, BB และ CC ตามค่าคะแนนและลำดับความสำคัญ ซึ่งก็จะเป็นข้อมูลช่วยสำหรับการตัดสินใจให้กับทางโรงงานในการคัดเลือกผู้ส่งมอบวัตถุดิบและสามารถกำหนดแนวทางในการพัฒนาผู้ส่งมอบวัตถุดิบเชิงกลยุทธ์ได้ในอนาคต</p> วิษณุ ฟองอ่อน นุชสรา เกรียงกรกฎ ปรีชา เกรียงกรกฎ Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 3 2 49 61 การประยุกต์ใช้ GIS Analysis และ VRP วิเคราะห์ตรวจสอบข้อมูลเส้นทาง การขนส่งห่วงโซ่ความเย็น สำหรับส่งมอบวัคซีนไปยังโรงพยาบาลและศูนย์บริการสาธารณสุขในสังกัดกรุงเทพมาหานคร https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/251565 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาการขนส่งห่วงโซ่ความเย็นของวัคซีนเพื่อรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมด้านการขนส่ง เพื่อควบคุมอุณหภูมิและจัดส่งในระยะเวลาที่สั้น โดยการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีต่างๆ ในการวิจัย เช่นการใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ Geographic Information System Analysis (GIS Analysis) และ Vehicle routing problem (VRP) โดยทำการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เพื่อหาวิธีการเชิงพื้นที่และเส้นทางการขนส่งที่เหมาะสมที่สุดสำหรับวัคซีนเพื่อลดระยะทางและเวลาในการจัดส่ง โดยจุดประสงค์หลักคือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการวัคซีนและการขนส่ง รวมถึงรักษาคุณภาพของวัคซีนในระหว่างการขนส่ง Cold chain management กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ตำแหน่งโรงพยาบาลและศูนย์บริการสาธารณสุข ในสังกัดกรุงเทพมาหานครจำนวน 76 จุดผลการวิจัยพบว่าการวิเคราะห์พื้นที่และการใช้ Vehicle routing problem สามารถช่วยให้สามารถสรุปแนะแนวทางและตำแหน่งที่เหมาะสมในการตั้งศูนย์กระจายวัคซีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่จะทำให้การบริหารจัดการวัคซีนและการขนส่งเป็นไปอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การวิเคราะห์พื้นที่ช่วยในการระบุตำแหน่งที่สอดคล้องกับความต้องการในการกระจายวัคซีน และ Vehicle routing problem ช่วยในการคำนวนเส้นทางที่ทำให้การขนส่งลดเวลาและระยะทางในการขนส่ง ผลการวิจัยช่วยสนับสนุนการตัดสินใจบริหารจัดการการขนส่งห่วงโซ่ความเย็น ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถควบคุมอุณหภูมิของการเก็บ รักษาวัคซีนได้ตลอดระยะทางในการขนส่งไปยังจุดส่งมอบแต่ละพิกัด</p> <p> </p> ณัฐวุฒิ พุ่มพฤกษี ปิยธิดา ศรีพงษ์สุทธิ์ พรพิทักษ์ พันธ์หล้า Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 3 2 62 74 QUANTUM TELEPORTATION DEVELOPMENT AND DEPLOYMENT USING Q# LIBRARY AND C# CLIENT https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/250145 <p>ควอนตัมคอมพิวเตอร์เป็นระบบคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ หน่วยพื้นฐานของระบบนี้คือคิวบิตซึ่งแตกต่างจากระบบคอมพิวเตอร์เดิม ๆ ที่คือบิต ในขณะที่บิตมีค่าคือ 0 หรือ 1 แต่คิวบิตมีค่าคือ 0 หรือ 1 หรือทั้ง 0 และ 1 ในเวลาเดียวกัน ควอนตัมคอมพิวเตอร์ขณะนี้ถือว่าเป็นคอมพิวเตอร์เฉพาะทาง ไม่ใช่คอมพิวเตอร์เอนกประสงค์ มันเหมาะกับการแก้ปัญหาบางอย่างโดยเฉพาะปัญหาที่มีความซับซ้อนมาก ๆ ในหลายวงการ เช่น ชีววิทยา โลจิสติกส์ ความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล เป็นต้น หลักการพื้นฐานสำคัญ 2 ประการของควอนตัมคอมพิวเตอร์คือ เอ็นแทงเกิลเมนต์ และเทเลพอร์ตเตชั่น สำหรับนักวิจัยมือใหม่ด้านควอนตัมคอมพิวเตอร์ อุปสรรคหลักที่มีมานานสองประการ คือ การไม่เข้าใจคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องได้โดยง่าย และการไม่มีตัวอย่างวิธีการพัฒนาและติดตั้งซอฟต์แวร์ที่สอดคล้องกับการอธิบายเชิงทฤษฎี บทความนี้แก้ปัญหาที่กล่าวมาโดยการอธิบายควอนตัมเทเลพอร์ตเตชั่นด้วยคณิตศาสตร์ที่ไม่ซับซ้อน แสดงวิธีการใช้ควอนตัมลอจิกเกตในการแก้ปัญหาและแสดงการสร้างซอฟต์แวร์พร้อมโค้ดที่รันได้จริง ประกอบด้วยการสร้างไลบรารี่เทเลพอร์ตเตชั่นที่เขียนด้วยภาษา Q# ซึ่งจะถูกเรียกใช้โดยโปรแกรมลูกที่เขียนด้วยภาษา C# แม้ว่าตัวอย่างโค้ดในบทความนี้จะรันบนระบบจำลองควอนตัมแต่มันสามารถนำไปรันบนควอนตัมคอมพิวเตอร์จริงที่อิงสถาปัตยกรรมจากค่ายเดียวกัน เช่น ไมโครซอฟต์อะชัวร์ควอนตัม ได้</p> Kayun Chantarasathaporn Choonhapong Thaiupathump Nongnat Nopakun Yong Li Vasutan Tunbunheng Luo Yong Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 3 2 75 90 THE EXPERIMENT DETERMINATION OF THE OPTIMAL MIXING RATIO OF POLYESTER FIBER SCRAP WITH 100% POLYESTER IN NONWOVEN FABRIC PRODUCTION https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/250210 <p>The purpose of this research is to study the optimum ratio between polyester fiber scraps and virgin polyester. In the study, the production process of a nonwoven fabric manufacturer in Rayong, Thailand, it was found a problem in the production process, there is a large amount of polyester fiber scrap left from the production process. Therefore, the waste of polyester fiber from the production process was mixed with pure polyester raw material in 4 sets of ratios, namely 4:96, 6:94, 8:92, and 10:90 get to average to compare with the conditions weight values, strength, elongation, and thickness as to the testing standards by TIS no. 121 and analyzing process capability by the Actual Process Capability Index (Cpk) was used by analyzing and processing from the Minitab package to examine the variability of the production process. The results showed that the ratio was 4:96 with a mean total weight of 27.5 grams per square meter. The thickness value was 1.07 mm., the strength value was 25.85 N.m., and the elongation value was 5.05 N.M., which were in the specified criteria for all test results. The ratio was 6:94 with an average weight of 27.9 g/m. square meter The thickness value was 1.10 mm., the strength value was 24.41 N.m., and the elongation value was 4.40 N.M., were within the specified criteria for all test results and both of which had a Cpk greater than 1, indicating that the process was capable or there is a natural variance. After the improvement in the past 12 months, it was found that the amount of poly fiber scrap 58 tons of ester left over from the production process were recycled and 45 tons were recycled, representing 77.58% of the recycled polyester scrap or the efficiency of the product was 96.7</p> Nattavadee Mahanil Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 3 2 91 102 THE OPTIMUM DESIGN OF THE JIB CRANE BY USING FINITE ELEMENT METHOD https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/251797 <p>In this experiment, the Finite Element Method (FEM) is employed to simulate von Mises Stress, Displacement, and the Factor of Safety (FOS)across three variations of a swing jib crane. The first variation, referred to as Type-1, incorporated a 12t mm stiffener plate and is characterized by the dimensions H150×150×7×10 mm. The second variation, Type-2, is designed without a stiffener plate and has identical dimensions to Type-1:H150×150×7×10 mm. The third and final variation, Type-3, is similar to Type-1 in its use of a 12t mm stiffener plate but differs in its dimensions, which are H100×100×6×8 mm. This study analyzes these three types of swing jib cranes through simulation and statistical evaluation to identify the optimal design in terms of engineering excellence and cost-effectiveness. The distribution of von Mises Stress and displacement within the jib crane structures are investigated, revealing critical stress concentrations at the bolt holes. However, maximum stress levels remained below yield stress thresholds for all crane types. The factor of safety analysis indicates that the Type-3 jib crane is the most optimal, with a Factor of Safety value of 1.5, exceeding recommended standards. Moreover, considering the mass weight and fabrication cost, the Type-3 jib crane is the most cost-effective choice and helps reduce cost by up to 10%. The statistical significance established through ANOVA reveals the significant impact of design on stress distribution, displacement, FOS, and mass weight. Therefore, the Type-3 jib crane is suggested as the most optimal choice for fabrication. A successful load test of the Type-3 jib crane verifies its performance and matches simulated test results.</p> Picha Panmongkol Wasan Leelatanaroek Noppakorn Phuraya Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 3 2 103 113