วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI <p>วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก เป็นวารสารของคณะเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชั่น สาขานวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ/เทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขนวัตกรรมทางธุรกิจ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทางวารสารมีการเผยแพร่กำหนดพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม โดยการประเมินคุณภาพบทความผ่านผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 ท่าน</p> th-TH <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์และเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก</p> sciandtech.sbc@gmail.com (Asst.Prof.Dr.Sudasawan Ngammongkolwong) Naritta2121@gmail.com (อาจารย์นฤทธิ์ตา สุดสงวน) Sat, 29 Jun 2024 17:03:29 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันเพื่อการจำหน่ายสินค้า กรณีศึกษา ร้านพรชัยค้าไม้ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/251985 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโมบายแอปพลิเคชันเพื่อการจำหน่ายสินค้า กรณีศึกษา ร้านพรชัยค้าไม้ 2) ศึกษาประสิทธิภาพของโมบายแอปพลิเคชัน 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อการใช้งานโมบายแอปพลิเคชัน<br />เพื่อการจำหน่ายสินค้า กรณีศึกษา ร้านพรชัยค้าไม้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาประสิทธิภาพของโมบายแอปพลิเคชัน ได้แก่ <br />ผู้เขี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการใช้โมบายแอปพลิเคชัน ได้แก่ ลูกค้าที่มาใช้บริการร้านพรชัยค้าไม้ ตำบลปากจั่น อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 150 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบประเมินประสิทธิภาพ และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งาน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้พัฒนาโมบายแอปพริเคชัน เพื่อการจำหน่ายสินค้า ให้กับร้านพรชัยค้าไม้ จำนวน 1 แอปพลิเคชั่น โดยใช้โปรแกรม Appsheet ในการพัฒนาโมบายแอปพลิเคชัน 2) ประสิทธิภาพของโมบายแอปพลิเคชันในภาพรวมทุกด้านอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ( = 4.79 และ S.D. = 0.40) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการออกแบบขั้นตอนการใช้งานแอปพลิเคชั่น 3) ความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อโมบายแอปพลิเคชันเพื่อการจำหน่ายสินค้า กรณีศึกษา ร้านพรชัยค้าไม้ ในภาพรวมทุกด้านมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.72 และ S.D. = 0.44) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการรักษาความปลอดภัย</p> กิตติยา ปัญญาเยาว์, ปัชฌา ตรีมงคล Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/251985 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 ผลการพัฒนาสื่อและกิจกรรมโครงการฝึกความเป็นผู้ประกอบการ เพื่อระดมทุนช่วยเหลือนักศึกษาครุศาสตร์ขาดแคลน https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/252194 <p>จากภาวะโควิด-19 ที่ส่งผลถึงรายได้ผู้ปกครองและกระทบถึงค่าใช้จ่ายของนักศึกษาในยุคปัจจุบัน ทำให้คณะวิชาต้องหาทางช่วยเหลือนักศึกษาขาดแคลน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและประเมินคุณภาพของสื่อและกิจกรรมในโครงการฝึกความเป็นผู้ประกอบการเพื่อระดมทุนช่วยเหลือนักศึกษาครุศาสตร์ขาดแคลน 2) เพื่อประเมินผลการรับรู้ของผู้เข้าร่วมโครงการที่มีต่อโครงการฝึกความเป็นผู้ประกอบการเพื่อระดมทุนช่วยเหลือนักศึกษาครุศาสตร์ขาดแคลน 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าโครงการที่มีต่อโครงการฝึกความเป็นผู้ประกอบการเพื่อระดมทุนช่วยเหลือนักศึกษาครุศาสตร์ขาดแคลน 4) เพื่อประเมินระดับการเป็นผู้ประกอบการสำหรับคณะผู้จัดโครงการก่อนและหลังโครงการฝึกความเป็นผู้ประกอบการเพื่อระดมทุนช่วยเหลือนักศึกษาครุศาสตร์ขาดแคลน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จำนวน 39 คน ดำเนินการโดยวิธีเลือกแบบเจาะจงจากนักศึกษาผู้จัดงานและเข้าร่วมโครงการตั้งแต่ต้นจนจบในภาคการศึกษาที่1/2566 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหา แบบประเมินคุณภาพด้านสื่อและกิจกรรม แบบประเมินผลการรับรู้ แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบประเมินระดับการเป็นผู้ประกอบการสำหรับคณะผู้จัดโครงการก่อนและหลังโครงการฝึกความเป็นผู้ประกอบการเพื่อระดมทุนช่วยเหลือนักศึกษาครุศาสตร์ขาดแคลน ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหา อยู่ในระดับดีมาก ( = 4.83, S.D.= 0.38) ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่อและกิจกรรม อยู่ในระดับดีมาก ( = 4.67, S.D.= 0.48) ผลประเมินการรับรู้สำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60, S.D.= 0.65) และผลประเมินความพึงพอใจสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม พบว่า มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65, S.D.= 0.61) ผลการประเมินระดับการเป็นผู้ประกอบการสำหรับคณะผู้จัดโครงการหลังดำเนินโครงการสูงกว่าผลการประเมินระดับการเป็นผู้ประกอบการสำหรับคณะผู้จัดโครงการก่อนดำเนินโครงการอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05</p> พรปภัสสร ปริญชาญกล, กุลธิดา ธรรมวิภัชน์, ชิดชนก เงินเจริญรุ่ง, พรธีรา ศรีสุทธิธาดา Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/252194 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีอินโฟกราฟิกสรุปความ เพื่อเผยแพร่บนกูเกิลไซต์รายวิชาทักษะการนำเสนอ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/252200 <p>งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีอินโฟกราฟิกสรุปความเพื่อเผยแพร่บนกูเกิลไซต์รายวิชาทักษะการนำเสนอ 2) เพื่อประเมินคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีอินโฟกราฟิกสรุปความเพื่อเผยแพร่บนกูเกิลไซต์รายวิชาทักษะการนำเสนอ 3) เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีอินโฟกราฟิกสรุปความเพื่อเผยแพร่บนกูเกิลไซต์รายวิชาทักษะการนำเสนอ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีอินโฟกราฟิกสรุปความเพื่อเผยแพร่บนกูเกิลไซต์รายวิชาทักษะการนำเสนอ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่&nbsp; นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ดำเนินการโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย จากนักศึกษาชั้นปี 4 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาทักษะการนำเสนอ และยินดีตอบแบบสอบถาม จำนวน 36 คน ผลการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก ( = 4.78 , S.D. = 0.42) &nbsp;&nbsp;&nbsp;ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่อการนำเสนออยู่ในระดับดี ( = 4.41 , S.D. = 0.50) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่าง หลังเรียนจากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีอินโฟกราฟิกสรุปความเพื่อเผยแพร่บนกูเกิลไซต์รายวิชาทักษะการนำเสนอ พบว่า ผลที่ได้จากการทำแบบทดสอบหลังเรียนสูงกว่าผลที่ได้จากการทำแบบทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ .05 และผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62 , S.D. = 0.55) ดังนั้น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีอินโฟกราฟิกสรุปความเพื่อเผยแพร่บนกูเกิลไซต์รายวิชาทักษะการนำเสนอที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ได้จริง</p> พรปภัสสร ปริญชาญกุล, กุลธิดา ธรรมวิภัชน์, พรธีรา ศรีสุทธิธาดา, ชิดชนก เงินเจริญรุ่ง, กชรัตน์ กลิ่นหอมกรุ่น Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/252200 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อโมเดลสมการโครงสร้างดอกไม้ที่เหลือทิ้งด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/252376 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยที่ส่งผลต่อดอกไม้ที่เหลือทิ้ง 2) เพื่อการสร้างองค์ความรู้ผลิตภัณฑ์จากสีดอกไม้ที่เหลือทิ้งด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง (Virtual Reality) โดยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน นำมาสร้างเครื่องมือ (Index of Item-objective Congruence : IOC) ในตัวแปรที่สังเกตได้ทั้งหมด 12 ตัวแปร และกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 320 คน โดยรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามทำการวิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ด้วยโปรแกรม AMOS เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงและตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลแต่ละองค์ประกอบในโมเดลสมการโครงสร้าง และสร้างองค์ความรู้ห้องเรียนในโลกเสมือน ผลการวิจัยพบว่า 1) พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ค่าไคสแควร์เท่ากับ 38.142 ค่าไคสแควร์สัมพัทธ์ เท่ากับ 1.122 สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง มีค่า 0.980 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) มีค่า 0.998 ผลสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) มีค่า 0.020 และ 2) พบว่า ผลจากการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานในการสร้างองค์ความรู้ผลิตภัณฑ์จากสีดอกไม้ที่เหลือทิ้งด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง (Virtual Reality) โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.35 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.77 ซึ่งอยู่ในระดับมาก</p> บุญชม สุดจิตต์ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/252376 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 การวิจัยและพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันตรวจจับและแจ้งเตือนการล้ม สำหรับผู้สูงอายุด้วยมีเดียไปป์เฟรมเวิร์ค https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/253061 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเว็บแอปพลิเคชันตรวจจับและแจ้งเตือนการล้มสำหรับผู้สูงอายุด้วยมีเดียไปป์เฟรมเวิร์ค 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันตรวจจับการล้ม กลุ่มตัวอย่าง โดยขอบเขตในการพัฒนาแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ระบบจัดการกล้องเพื่อนำเข้าข้อมูลวิดีโอซึ่งใช้การเชื่อมต่อแบบ Real Time Streaming Protocol ส่วนที่ 2 ระบบตรวจจับและแจ้งเตือนผ่านแอปพลิเคชันไลน์ โดยใช้แบบจำลอง Pose Landmarker Model ใน MediaPipe ของ Google ตรวจจับตำแหน่งข้อต่อสำคัญของร่างกาย 33 จุดในรูปแบบ 3 มิติ วิธีการทดลอง ใช้การทดสอบรูปแบบการล้ม 6 รูปแบบ ประกอบด้วย 1) หน้าตรงล้มไปข้างหน้า 2) หน้าตรงล้มไปข้างหลัง 3) หันข้างล้มไปด้านขวา 4) หันหน้าล้มไปด้านขวา 5) หันหน้าล้มไปด้านซ้าย และ 6) หันข้างล้มไปด้านซ้าย จากอาสาสมัครจำนวน 10 คนตรวจจับรูปภาพและระบุตำแหน่งข้อต่อสำคัญของร่างกาย 33 จุด เป็นชุดข้อมูลทั้งหมด 1,000 รายการ ผลการประเมินประสิทธิภาพการตรวจจับการล้มโดยใช้ Random forest และ K-NN สร้างโมเดลและชุดข้อมูลทดสอบพบว่า โมเดลที่สร้างด้วย Random forest ได้มีผลการตรวจจับการล้มได้ดีที่สุดมีความแม่นยำ 88.00% และระบบมีความแม่นยำในการตรวจจับการล้มในท่าทางหน้าตรงดีกว่าการล้มไปด้านข้างซ้ายและขวา</p> ทินกร ชุณหภัทรกุล Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/253061 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 การประยุกต์ใช้หลักการ DMAIC ตามแนวคิดของซิกซ์ ซิกม่า เพื่อลดของเสียในกระบวนการเชื่อมประกอบรถยนต์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/253668 <p>งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดของเสียลักษณะสะเก็ดไฟในกระบวนการเชื่อมประกอบรถยนต์ ให้ไม่เกินร้อยละ 0.2 ของยอดการผลิตต่อเดือน จากปัญหาของเสียลักษณะสะเก็ดไฟ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการเชื่อมประกอบฯ จึงได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลของเสียย้อนหลังจำนวน 7 เดือน จากยอดการผลิตรถยนต์ 48,260 คัน พบว่าของเสียลักษณะสะเก็ดไฟจำนวน 490 ชิ้น หรือมากกว่าร้อยละ 0.2 ของยอดการผลิตต่อดือน จึงประยุกต์ใช้หลักการ DMAIC เป็นขั้นตอนการแก้ไขปัญหา ทำการวิเคราะห์สาเหตุด้วยแผนผังเหตุและผล นำสาเหตุที่ได้จากการวิเคราะห์ไปหาระดับคะแนนเพื่อลำดับความสำคัญ พบว่าสาเหตุย่อยของคะแนนที่มากกว่าร้อยละ 80 คือเกิดจากสาเหตุการปรับตั้งกระแสไฟไม่เหมาะสม จึงได้เลือกนำไปแก้ไข โดยออกแบบการทดลองเพื่อหาค่ากระแสไฟที่เหมาะสมในการเชื่อมประกอบฯ โดยการทดลองนั้นประกอบด้วยตัวแปร<br />ที่เกี่ยวข้อง คือ 1) แรงกด 2) เวลาที่ใช้ในการเชื่อม และ 3) กระแสไฟเชื่อม มาทำการทดลองเชิงแฟกทอเรียล 3k และวิเคราะห์ผลการทดลองด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป Minitab ผลการทดลองพบว่าค่ากระแสไฟที่เหมาะสมในการเชื่อม คือ <br />ค่าแรงกดเท่ากับ 3.6 กิโลนิวตัน/เมตร เวลาที่ใช้ในการเชื่อมเท่ากับ 250 มิลลิวินาที และกระแสไฟเชื่อมเท่ากับ 7.8 <br />กิโลแอมแปร์ซึ่งได้ปริมาณของการเกิดสะเก็ดไฟเท่ากับ -0.197 ซึ่งเป็นการเกิดสะเก็ดไฟที่น้อยและเหมาะสม ส่งผลให้จำนวนของเสียก่อนปรับปรุงเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 0.998 ต่อเดือน หลังปรับปรุงลดเหลือเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 0.023 ต่อเดือน และระดับซิกซ์ ซิกม่า ก่อนปรับปรับเท่ากับ 4.25 หลังปรับปรุงเพิ่มขึ้นเท่ากับ 5.33 บ่งชี้ถึงระดับคุณภาพของการกระบวนการที่ดีขึ้น</p> ณัฐวดี มหานิล, บุญเกื้อ หวังรายกลาง, สมพร จงอร่ามเรือง, วิรัชชัย วินิจฉัย, วัชรินทร์ จัตุกูล Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/253668 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 การออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูลศิษย์เก่า ออนไลน์ มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/253897 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อการออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูลศิษย์เก่า ออนไลน์ มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก (2) เพื่อประเมินประเมินคุณภาพในการใช้งานระบบฐานข้อมูลศิษย์เก่า ออนไลน์ มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกและ (3) เพื่อเปรียบเทียบความสอดคล้องของการออกแบบและพัฒนาระบบกับคุณภาพการใช้งานระบบฐานข้อมูลศิษย์เก่า ออนไลน์ มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก โดยการวิจัยนี้แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ กล่าวคือ ในระยะที่ 1 การพัฒนาและออกแบบระบบฐานข้อมูลศิษย์เก่า ออนไลน์ โดยใช้วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ แบบน้ำตกหกขั้น (SASHIMI) โดยผ่านการวิเคราะห์ความต้องการจากผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูลศิษย์เก่า ออนไลน์ โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง จำนวน 11 คน และสร้างระบบด้วย ภาษา PHP 7 ออกแบบหน้าเว็บ Bootstrap 5.0 และการจัดการฐานข้อมูล phpMyAdmin ระยะที่ 2 ประเมินคุณภาพการใช้งานระบบฐานข้อมูลศิษย์เก่า ออนไลน์ ด้วยแบบจำลองสำหรับประเมินคุณภาพแบบ ES_QUAL ที่ผ่านการหาค่าความเที่ยงตรง และเปรียบเทียบความสอดคล้องของการออกแบบและพัฒนาระบบกับคุณภาพการใช้งาน ด้วยค่าสัมประสิทธิ์การแปรผัน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ใช้งานระบบฐานข้อมูลศิษย์เก่า ออนไลน์ นักศึกษาศิษย์เก่า จำนวน 48 คน โดยเลือการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่าห้าระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าสัมประสิทธิ์การแปรผัน </p> <p> ซึ่งผลการวิจัยพบว่า (1) การออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูลศิษย์เก่า ออนไลน์ มีแผนภาพสามประเภท คือ แผนภาพบริบท แผนภาพกระแสการไหลข้อมูล และแผนภาพการทำงานของระบบ โดยการออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูลศิษย์เก่า ออนไลน์ ประกอบ ด้วยส่วนงานสองส่วน คือ ส่วนงานของผู้ใช้งาน (นักศึกษา) และส่วนงานของผู้ดูแลระบบ(อาจารย์) และ(2) ผลการประเมินคุณภาพการใช้งานระบบฐานข้อมูลศิษย์เก่า ออนไลน์ ดังกล่าวมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก (Mean= 4.48, S.D. = 0.54) และ (3) ผลการประเมินการออกแบบและพัฒนาระบบมีความสอดคล้องกับคุณภาพการใช้งานระบบฐานข้อมูลศิษย์เก่า ออนไลน์ ดังกล่าวมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก(Mean= 4.50, S.D. = 0.55) (ค่าสัมประสิทธิ์ การแปรผัน(C.V.) ของการพัฒนาและการออกแบบระบบเท่ากับ 12.22% และ ค่าสัมประสิทธิ์การแปรผัน (C.V.) ของคุณภาพการการใช้งานระบบเท่ากับ 12.05 %</p> วชิรวิชญ์ นิลสุก Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/253897 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาบอร์ดเกมการเรียนรู้ตามแนวทางทฤษฎีพัฒนาการทางความคิดของเพียเจท์เพื่อส่งเสริมทักษะการยืดหยุ่นทางความคิดของนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/254086 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบอร์ดเกมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการยืดหยุ่นทางความคิดของนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังทดสอบบอร์ดเกมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการยืดหยุ่นทางความคิดของนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก <br />ในประจำปีการศึกษา 2566 ภาคเรียนที่ 2 เรียนในรายวิชาการเขียนโปรแกรมเกมคอมพิวเตอร์ 2 จำนวน 19 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บอร์ดเกมการเรียนรู้ตามแนวทางทฤษฎีพัฒนาการทางความคิดของเพียเจท์เพื่อส่งเสริมทักษะการยืดหยุ่นทางความคิดของนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 และ <br />2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบอร์ดเกมฯ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าสถิติ (Dependent t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาบอร์ดเกมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะ<br />การยืดหยุ่นทางความคิดของนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 มีองค์ประกอบ ได้แก่ 1) กำหนดเนื้อหาหรือเนื้อเรื่อง 2) การกำหนดจุดประสงค์ 3) การเลือกใช้กลไก 4) กฎ กติกา 5) ระยะเวลาในการเล่น 6) การสะท้อนกลับ และ 7) การออกแบบกราฟิก<br />ในเกม 2) ผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังทดสอบบอร์ดเกมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการยืดหยุ่นทางความคิดของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า คะแนนหลังทดสอบอยู่ในระดับมาก ( =3.71, S.D.=0.82) มีคะแนนมากกว่าก่อนทดสอบซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง ( =3.01, S.D.=0.04) โดยประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 1) องค์ประกอบ ทางเลือก คะแนนหลังทดสอบอยู่ใน<br />ระดับมาก ( =3.54, S.D.=0.84) มีคะแนนมากกว่าก่อนทดสอบอยู่ในระดับปานกลาง ( =3.12, S.D.=0.68) 2) องค์ประกอบ <br />การควบคุม คะแนนหลังทดสอบอยู่ในระดับมาก ( =3.54, S.D.=0.84) มีคะแนนมากกว่าก่อนทดสอบอยู่ในระดับปานกลาง ( =3.00, S.D.=0.61) 3) องค์ประกอบ การรับรู้ประสิทธิภาพของตนเอง คะแนนหลังทดสอบอยู่ในระดับมาก <br />( =3.74, S.D.=0.72) มีคะแนนมากกว่าก่อนทดสอบอยู่ในระดับปานกลาง ( =2.92, S.D.=0.59) สรุปได้ว่า คะแนนทักษะการยืดหยุ่นทางความคิด หลังทดสอบด้วยบอร์ดเกมตามแนวทางทฤษฎีฯ สูงกว่าก่อนเรียน ที่ระดับนัยสำคัญ .05 <br />โดยก่อนทดสอบ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.01 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.04 หลังทดสอบ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.71 และ<br />ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.82 โดยมีค่า t test เท่ากับ 1.734</p> อภิรดี เดชพงษ์สัมฤทธิ์ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/254086 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 HARNESSING ICT TO ENHANCE COMMUNITY COMMUNICATION RESILIENCE: A CASE STUDY OF AN UNDERPRIVILEGED COMMUNITY AND A HOUSING ESTATE COMMUNITY, BANGKOK https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/253729 <p>As the need for seamless connectivity becomes paramount, ICT emerges as the catalyst for bridging distances and connecting individuals in the urban community instantaneously. This study aimed to explore how community communication resilience can be enhanced via the utilization of ICT. Through the lens of the Technology Acceptance Model, two Bangkok urban communities were explored; an underprivileged community and a housing estate community. Questionnaire responses were collected from 229 households of an underprivileged community, and 178 households of a housing estate community. The sample size was 160 and 137 respectively. A multiple linear regression model was constructed to explore the impact of the relationships of <em>perceived usefulness, perceived ease of use, perceived quality of life</em>, and <em>attitude toward technology</em>. The findings revealed that all four variables had a positive effect on community communication resilience. The predictive power of an underprivileged community and a housing estate community are 61.2% (<em>R<sup>2</sup> = .612, p &lt; 0.01</em>) and 87.1% (<em>R<sup>2</sup> = .871, p &lt; 0.01</em>) respectively. By addressing barriers to adoption and leveraging the potential of technology, ICT contributes to the resilience of robust communication.</p> สุวิมล วงศ์สิงห์ทอง, เอกพัทธ์ บุณยะรัตเวช , ทรงพล นคเรศเรืองศักดิ์ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/253729 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 GUIDELINE FOR DEVELOPING AN EXAMINATION REPOSITORY SYSTEM BASED ON CLOUD COMPUTING TECHNOLOGY TO ASSESS ENGLISH AND INFORMATION TECHNOLOGY STANDARDS BEFORE GRADUATING FROM HIGHER EDUCATION https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/254004 <p>The objective of this study is to (1) study guidelines for developing the examination repository system based on cloud computing technology to measure english and information technology standards before graduating from higher education (2) analysis and design an examination repository system based on cloud computing technology to measure english and information technology standards before graduating from higher education and (3) assessment the appropriateness of the guidelines for developing the examination repository system based on cloud computing technology to measure english and information technology standards before graduating from higher education. There are two steps of this study, First step study guidelines from problem and requirement of stakeholder and design in examination repository system based on cloud computing technology to measure english and information technology standards before graduating from higher education by system development life cycle sashimi waterfall and second step is assessment the appropriateness of the guidelines for developing the examination repository system based on cloud computing technology to measure english and information technology standards before graduating from higher education. The sample consisted of 90 person stakeholders that a knowledge about information technology of the examination repository system based on cloud computing technology to measure english and information technology standards before graduating from higher education by stratified random sampling. The tool used in close-ended questionnaire with five-point rating scale. Statistics used to analyze data are mean standard deviation and coefficient of variation. The results showed that: (1) the problems of traditional operations from the three groups of stakeholders survey, there are four factors are Staffs, Budget, Technology and Operation (2) analyzed and design to define guidelines for developing the examination repository system based on cloud computing technology to measure english and information technology standards before graduating from higher education consists of three diagrams are 1.fishbone chart 2.use case diagram 3.architecture diagram and sequence diagram (3) appropriateness guidelines for developing the examination repository system based on cloud computing technology to measure english and information technology standards before graduating from higher education at a high level (Mean=4.02, S.D.=0.63) and low variance compared to the mean, which is moderately reliable (C.V. =13.18)</p> สุริยะ พุ่มเฉลิม Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/254004 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700