https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSET/issue/feed วารสารวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี 2023-12-13T08:50:42+07:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติ ตันเมืองปัก [email protected] Open Journal Systems <p>วารสารวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี ได้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่บทความวิจัยคุณภาพสูงด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี และเป็นสื่อประสานและส่งข่าวระหว่างเครือข่ายนักวิชาการด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี โดยตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่1 มกราคม-มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม</p> https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSET/article/view/249694 การพัฒนาระบบบริหารจัดการอุปกรณ์ประเภทคอนกรีตในแผนกคลังพัสดุ ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร 2023-09-05T09:36:23+07:00 นิภาพร ชนะมาร [email protected] ภราเดช สุจริต [email protected] สุรสิทธิ์ อุ้ยปัดฌาวงศ์ [email protected] ชัยนันท์ สมพงษ์ [email protected] สุธาสินี คุปตะบุตร [email protected] <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบบริหารจัดการอุปกรณ์ประเภทคอนกรีตในแผนกคลังพัสดุของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร 2) ประเมินประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการอุปกรณ์ประเภทคอนกรีตในแผนกคลังพัสดุของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร และ 3) ประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบบริหารจัดการอุปกรณ์ประเภทคอนกรีตในแผนกคลังพัสดุของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร พัฒนาด้วยวงจรการพัฒนาระบบ (SDLC) และใช้ภาษา HTML ภาษา PHP ตกแต่งออกแบบหน้าเว็บใช้ CSS และ JavaScript การจัดการระบบฐานข้อมูลด้วย MySQL การประเมินประสิทธิภาพด้วยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน และกลุ่มตัวอย่างประเมินความพึงพอใจของระบบ จำนวน 30 คน ใช้การคัดเลือกด้วยวิธีการแบบเจาะจง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ระบบบริหารจัดการอุปกรณ์ประเภทคอนกรีตในแผนกคลังพัสดุของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร สามารถใช้ประโยชน์ได้จริง ช่วยจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบและลดปัญหาข้อมูลสูญหาย อีกทั้งสามารถเรียกดูข้อมูลรายการเบิกจ่ายข้อมูลคอนกรีตที่นำออกไปบริการติดตั้งตามจุดบริการต่างๆ ของการไฟฟ้าได้สะดวกมากขึ้น โดยพิจารณาจากผลการประเมินประสิทธิภาพจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ภาพรวมของระบบมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ =4.37, S.D.=0.56) โดยด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน อยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ =4.56, S.D.=0.49) รองลงมาด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล อยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ =4.53, S.D.=0.53) ด้านความเร็วในการประมวลผล อยู่ในระดับมาก (𝑥̅ =4.32, S.D.=0.66) ด้านการทำงานได้ตรงตามหน้าที่ของฟังก์ชัน อยู่ในระดับมาก (𝑥̅ =4.28, S.D.=0.58) และด้านความง่ายต่อการใช้งาน อยู่ในระดับมาก (𝑥̅ =4.20, S.D.=0.56) ตามลำดับ และผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งาน อยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ =4.81, S.D.=0.46)</p> 2023-10-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 Loei Rajabhat University https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSET/article/view/249020 ปฏิกิริยาควบแน่นแบบอัลดอลของอะซีโตนกับบิวทิรัลดีไฮด์ ด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาอัลคาไลบนไฮโดรทัลไซต์ 2023-06-28T13:59:10+07:00 ปานชีวา สิงไธสง [email protected] อาทิตย์ อัศวสุขี [email protected] <p>ตัวเร่งปฏิกิริยาไฮโดรทัลไซต์ที่ได้รับการปรับสภาพด้วยความร้อนซึ่งถูกเตรียมที่อุณหภูมิแตกต่างกัน (HT400, HT600 และ HT 800) และโลหะอัลคาไล (ลิเทียม โพแทสเซียม และซีเซียม) ที่เติมแต่งใน HT400 ถูกศึกษาความแตกต่างของสมบัติเชิงพื้นผิว และประสิทธิภาพการเร่งปฏิกิริยา/ความสามารถในการเลือกสรรผลิตภัณฑ์ในปฏิกิริยาการควบแน่นแบบอัลดอลในสถานะแก๊สในระบบต่อเนื่องระหว่างอะซีโตนและบิวทิรัลดีไฮด์ ตัวเร่งปฏิกิริยาที่สังเคราะห์ขึ้นถูกวิเคราะห์คุณลักษณะด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดซึ่งต่อกับสเปคโทรสโคปีรังสีเอกซ์แบบการกระจายพลังงาน และการโปรแกรมอุณหภูมิเพื่อศึกษาการคายซับคาร์บอนไดออกไซด์ ประสิทธิภาพการเร่งปฏิกิริยาของไฮโดรทัลไซต์ที่ได้รับการปรับสภาพด้วยความร้อนเพิ่มขึ้นตามลำดับต่อไปนี้: HT400 &lt; HT600 &lt; HT800 โดยปฏิกิริยาการควบแน่นแบบอัลดอลแบบข้าม และด้วยตัวเองทำให้เกิดส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ควบแน่นหลายชนิด ในปฏิกิริยาการควบแน่นแบบอัลดอลระหว่างอะซีโตนและบิวทิรัลดีไฮด์โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา HT600 การเกิดปฏิกิริยาอัลดอลด้วยตัวเองของบิวทิรัลดีไฮด์ซึ่งให้ผลิตภัณฑ์ที่มีจำนวนคาร์บอน 8 อะตอมเกิดขึ้นได้เร็วกว่าปฏิกิริยาอัลดอลแบบข้ามซึ่งให้ผลิตภัณฑ์ที่มีจำนวนคาร์บอน 7 อะตอม ภายหลังจากการเติมแต่งลิเทียม <br />(1 โมล%) กับ HT400 โดยวิธีการฝังตัว ตัวเร่งปฏิกิริยาดังกล่าวสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการเร่งปฏิกิริยาได้ อย่างไรก็ตาม<br />ลิเทียมสปีชีส์อาจเกิดการรวมตัวกันเกิดเป็นคลัสเตอร์ขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อเติมแต่งโลหะเพิ่มขึ้น (5 และ 10 โมล%) ซึ่งนำไปสู่เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงที่ลดต่ำลง เมื่อพิจารณาถึงผลของโลหะพบว่าประสิทธิภาพการเร่งปฏิกิริยาของโลหะอัลคาไลที่เติมแต่งใน HT400 (10 โมล%) จะลดลงตามลำดับต่อไปนี้: 10Li/HT400 &gt; 10Cs/HT400 &gt; 10K/HT400 สันนิษฐานว่าการเกิดขึ้นของ<br />สปีชีส์โลหะที่แตกต่างกันและขนาดของคลัสเตอร์สามารถมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการเร่งปฏิกิริยา ความเสถียร และการเลือกสรรผลิตภัณฑ์ของตัวเร่งปฏิกิริยาในปฏิกิริยาการควบแน่นแบบอัลดอล</p> <p> </p> 2023-11-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 Loei Rajabhat University https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSET/article/view/250174 การพัฒนาระบบตอบคำถามอัตโนมัติการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 2023-11-09T11:55:13+07:00 แพรตะวัน จารุตัน [email protected] ขจรศักดิ์ วงค์จันทะ [email protected] สุธาสินี คุปตะบุตร [email protected] ปิยวรรณ โถปาสอน [email protected] อุบลศิลป์ โพธิ์พรม [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบตอบคำถามอัตโนมัติสำหรับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 2) ประเมินประสิทธิภาพระบบตอบคำถามอัตโนมัติการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และ 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบตอบคำถามอัตโนมัติการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ โดยใช้เทคโนโลยีไลน์ ด้วยไลน์แมสเสจจิ่ง เอพีไอ (LINE Messaging API) เป็นเครื่องมือในการติดต่อฐานข้อมูลกับไลน์เอพีไอ ใช้การกำหนดคีย์เวิร์ดและใช้ไลน์ออฟฟิเซียล แอคเคาท์ (LINE Official Account) เป็นตัวกลางในการติดต่อระหว่างผู้ใช้กับระบบ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามประสิทธิภาพระบบตอบคำถามอัตโนมัติการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบตอบคำถามอัตโนมัติการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในงานวิจัย เลือกแบบเจาะจง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ใช้งาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ระบบตอบคำถามอัตโนมัติการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ มีฟังก์ชันหลัก 3 ส่วนการทำงาน ได้แก่ หน้าจอหลักของระบบ หน้าจอสำหรับอาจารย์นิเทศก์ และหน้าจอสำหรับหน่วยงาน ส่วนผลการประเมินประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ผลรวมการประเมินประสิทธิภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินความพึงพอใจ พบว่า ผลรวมการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษา อาจารย์และบุคลากรอยู่ในระดับมาก</p> 2023-11-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 Loei Rajabhat University https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSET/article/view/248995 ผลของแบบจำลองเซลล์เสริมสารสกัดคลอโรฟิลล์จากพืช ต่อปริมาณออกซิเจนละลายน้ำในน้ำเสียสังเคราะห์ 2023-04-04T12:44:05+07:00 ธีรวัฒน์ สีทองแดง [email protected] บุรินทร์ มนตรีวิสัย [email protected] ทรงกลด ใบยา [email protected] อาภรณ์ บัวหลวง [email protected] สุรศักดิ์ ละลอกน้ำ [email protected] บงกช บุญบูรพงศ์ [email protected] <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของแบบจำลองเซลล์เสริมสารสกัดคลอโรฟิลล์จากพืชต่อปริมาณออกซิเจนละลายน้ำในน้ำเสียสังเคราะห์ โดยสกัดคลอโรฟิลล์จากใบพืช จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ ชะพลู (<em>Piper sarmentosum</em>) บัวบก (<em>Centella asiatica</em>) และ เตย (<em>Pandanus amaryllifolius</em>) ชนิดละ 10 กรัม สกัดด้วยน้ำปริมาตร 100 มิลลิลิตร นำสารสกัดคลอโรฟิลล์จากพืชผสมกับสารละลายโซเดียมอัลจิเนต ความเข้มข้นร้อยละ 0.5 1.0 1.5 และ 2.0 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร จากนั้นนำไปทำปฏิกิริยากับสารละลายแคลเซียมคลอไรด์ ความเข้มข้นร้อยละ 0.5 1.0 1.5 และ 2.0 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร พบว่า สูตรเซลล์ตรึงที่เหมาะสมในการแบบจำลองเซลล์เสริมสารสกัดคลอโรฟิลล์จากพืช คือ สารผสมที่มีความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมอัลจิเนตร้อยละ 2.0 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร ที่ทำปฏิกิริยากับสารละลายแคลเซียมคลอไรด์ความเข้มข้นร้อยละ 1.0 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร และนำไปศึกษาชนิดแบบจำลองเซลล์เสริมสารสกัดคลอโรฟิลล์จากพืชชนิดต่าง ๆ ต่อความสามารถในการเพิ่มปริมาณออกซิเจนละลายน้ำในน้ำเสียสังเคราะห์ โดยใช้เครื่องวัดออกซิเจนละลายน้ำ พบว่า แบบจำลองเซลล์เสริมสารสกัดคลอโรฟิลล์จากใบชะพลูมีความสามารถเพิ่มปริมาณออกซิเจนละลายน้ำในน้ำเสียสังเคราะห์สูงสุด มีค่าปริมาณออกซิเจนละลายน้ำเท่ากับ <br />7.51 มิลลิกรัมต่อลิตร ในเวลา 60 นาที รองลงมา คือ ใบบัวบก และ ใบเตย เท่ากับ 6.82 และ 5.45 มิลลิกรัมต่อลิตร <br />ในเวลา 60 นาที ตามลำดับ ในขณะที่ชุดควบคุมมีค่าปริมาณออกซิเจนละลายน้ำเท่ากับ 4 มิลลิกรัมต่อลิตร จากการศึกษานี้อธิบายได้ว่าแบบจำลองเซลล์เสริมสารสกัดคลอโรฟิลล์จากพืชสามารถเพิ่มออกซิเจนละลายน้ำในน้ำเสียสังเคราะห์ได้ และสามารถนำไปใช้ในกระบวนการบำบัดน้ำเสียได้ </p> 2023-11-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 Loei Rajabhat University https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSET/article/view/251692 ลักษณะทางกายภาพของเมล็ดพืชบางชนิดในป่าบุ่งป่าทาม และการทดสอบการงอกเบื้องต้น 2023-11-14T09:16:29+07:00 เทียมหทัย ชูพันธ์ [email protected] ธิดารัตน์ มีศรี [email protected] สุนิสา โสนาคา [email protected] <p>การศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเมล็ดพืชบางชนิดในป่าบุ่งป่าทาม จังหวัดนครราชสีมา ด้วยการสำรวจและเก็บตัวอย่างเมล็ด จำนวน 41 ชนิด บันทึกลักษณะทางกายภาพ น้ำหนักแห้ง และตัดทดสอบ จากนั้นทดสอบการงอกเบื้องต้น พบว่า พืชที่มีน้ำหนักแห้งเมล็ดมากที่สุด คือ ถั่วพร้า (<em>Canavalia gladiata</em> (Jacq.) DC.) มีค่าเท่ากับ 1.0163 กรัม รองลงมาคือ ทองกวาว (<em>Butea monosperma</em> (Lam.) Kuntze) มีค่าเท่ากับ 0.7651 กรัม และมะขามแขก (<em>Cathormion umbellatum</em> (Vahl) Kosterm.) มีค่าเท่ากับ 0.3086 กรัม ตามลำดับ เมล็ดที่มีความกว้างและความยาวเฉลี่ย (W:L) มากที่สุด คือ ทองกวาว มีค่าเท่ากับ 2.11:3.04 เซนติเมตร รองลงมาคือ ถั่วพร้า มีค่าเท่ากับ 1.04:1.86 เซนติเมตร และมะขามแขก มีค่าเท่ากับ 0.86:1.04 เซนติเมตร ตามลำดับ จำแนกเมล็ดออกเป็น 2 ประเภท คือ เมล็ดประเภทออร์โธดอกซ์ จำนวน 39 ชนิด และเมล็ดประเภทรีแคลซิแทรนท์ จำนวน 2 ชนิด โดยพืชที่มีเปอร์เซ็นต์การงอกเฉลี่ยมากที่สุดคือ ทองกวาว มีค่าเท่ากับ 89.33% รองลงมาคือ ถ่อน (<em>Albizia procera</em> (Roxb.) Benth.) มีค่าเท่ากับ 46.67% และสะแกนา (<em>Combretum quadrangulare</em> Kurz) มีค่าเท่ากับ 42.00% ตามลำดับ ส่วนพืชมีเปอร์เซ็นต์การงอกเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ หว้านา (<em>Syzygium borneense </em>(Miq.) Miq.) เทียนนา (<em>Ludwigia hyssopifolia</em> (G. Don) Exell) ผักไผ่น้ำ (<em>Persicaria pulchra</em> Soják) และหมาว้อ (<em>Lepisanthes senegalensis</em> (Poir.) Leenh.) มีค่าเท่ากับ 0.00%</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 Loei Rajabhat University https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSET/article/view/251747 ระบบตรวจสอบความผิดปกติระหว่างการทำงานปั๊มน้ำโซลาร์เซลล์ 2023-12-13T08:50:42+07:00 นัฐพงษ์ เนินชัด [email protected] พิสุทธิ์ แสนดีน้อย [email protected] ธันวำ ขำทับทิม [email protected] ธีรศักดิ์ แหยมบุรี [email protected] ธนภูมิ เฟื่องเพียร [email protected] <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างระบบตรวจสอบความผิดปกติระหว่างการทำงานของปั๊มน้ำโซลาร์เซลล์ (24V, 280W) ขั้นตอนการทดลองได้ทำการสูบน้ำจากถังทดลองหนึ่ง (Tank1) ไปยังถังทดลองสอง (Tank2) และติดตั้งเซนเซอร์วัดระดับน้ำในถังทดลองที่หนึ่ง การตรวจสอบความผิดปกติในระบบได้ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ทำงานร่วมกับเซนเซอร์ทั้ง 3 ชนิดนั่นคือ เซนเซอร์วัดระดับน้ำ เซนเซอร์วัดกระแสและเซนเซอร์วัดแรงดันไฟฟ้า สำหรับเงื่อนไขความผิดปกติของระบบมอเตอร์ปั๊มน้ำคือไม่มีน้ำเหลืออยู่ในถังทดลองหนึ่งและเซนเซอร์วัดค่ากระแสไฟฟ้าได้อยู่ระหว่าง 1A ถึง 4A หรือเซนเซอร์วัดค่าแรงดันมีค่าน้อยกว่า 10V ผลการทดลองได้แบ่งออกเป็น 3 กรณีดังนี้ 1) ผลการวัดค่ากระแสและแรงดันไฟฟ้าขณะที่ปั๊มน้ำมีโหลดและไม่มีโหลด พบว่าเมื่อปั๊มน้ำเริ่มสูบน้ำจะมีค่ากระแส 5A และมีกำลังไฟฟ้าอยู่ที่ 60W 2) ผลการสั่งตัดวงจรไฟฟ้าเมื่อระดับน้ำถึงค่าที่กำหนด พบว่าในขณะปั๊มน้ำทำการสูบน้ำค่ากระแสอยู่ที่ 5.04A ค่าความเร็วรอบมอเตอร์เฉลี่ยอยู่ที่ 205RPM และเมื่อระดับน้ำเริ่มลดลงต่ำกว่าตำแหน่งเซนเซอร์วัดระดับน้ำ ระบบสามารถตัดวงจรของปั๊มน้ำได้อย่างถูกต้องตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ 3) ผลการสั่งตัดวงจรไฟฟ้าผ่านสมาร์ทโฟน แสดงให้เห็นว่าสามารถควบคุมการทำงานของปั๊มน้ำผ่านแอปพลิเคชัน RemoteXY ในสมาร์ทโฟนได้</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 Loei Rajabhat University