วารสารวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSET <p>วารสารวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ได้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่บทความวิจัยคุณภาพสูงด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Sciences) ในสาขาวิชา วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (Computer Science), วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering), วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Environmental Science) และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง <br />โดยตีพิมพ์ 2 ฉบับ ต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม</p> มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย th-TH วารสารวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี 2773-9856 <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์</p> การยืนยันตัวตนสำหรับเว็บแอปพลิเคชันแบบพหุปัจจัย https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSET/article/view/252820 <p>การล็อกอินเข้าสู่ระบบเว็บแอปพลิเคชันด้วยวิธีการใช้รหัสผ่านเป็นวิธีที่พบเห็นทั่วไปในระบบสารสนเทศต่างๆ สำหรับเว็บแอปพลิเคชันที่ต่างกันการจำรหัสผ่านหลายรหัสในการเข้าสู่ระบบยังคงเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้ที่มีโอกาสในการลืมรหัสผ่าน ทำให้เกิดการปัญหามากมายจนนำไปสู่ช่อง นอกจากนี้การให้ผู้อื่นยืมรหัสผ่านจะทำให้เกิดปัญหาการถูกขโมยรหัสผ่านจากผู้ไม่ประสงค์ดี นับเป็นช่องโหว่สำคัญที่จะนำปสู่การถูกโจมตีทางไซเบอร์ อย่างไรก็ตามนักพัฒนาระบบสารสนเทศได้นำการยืนยันตัวตนแบบพหุปัจจัยเข้ามาใช้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้มากขึ้น แต่ยังคงมีข้อจำกัดในด้านค่าใช้จ่ายและความสะดวกสบายในการใช้งาน ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบการยืนยันตัวตนสำหรับเว็บแอปพลิเคชันแบบสองขั้นตอนด้วยคิวอาร์โค้ด โดยการใช้เทคโนโลยีการยืนยันตัวตนแบบไม่มีการเก็บสถานะ (Stateless Authentication) ด้วยเทคโนโลยี JSON Web Token (JWT) ซึ่งออกแบบในการเข้าใช้ระบบสารสนเทศหรือเว็บแอปพลิเคชันสองขั้นตอนได้แก่ 1) การยืนยันตัวตนของผู้ใช้เพื่อรับ user_token และ 2) การเข้าสู่เว็บแอปพลิเคชันด้วยการสแกนคิวอาร์โค้ด ผลการทดสอบจำลองการใช้งานด้วยผู้ใช้จำนวน 30 ถึง 240 บัญชี พร้อมกันพบว่ามีประสิทธิภาพด้านเวลาในการตอบสนอง (Response Time) ที่เหมาะสมในการใช้งานรองรับผู้ใช้ที่ 90 บัญชี ที่เวลาเฉลี่ย 4 วินาที ในขณะที่ผู้ใช้ 240 บัญชีเข้าระบบพร้อมกันมีความเร็วเฉลี่ยประมาณ 8 วินาที ส่วนด้านประสิทธิภาพพบว่าได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญที่คะแนนเฉลี่ย 4.50 อยู่ในระดับมากที่สุด</p> <p> </p> ชัยนันท์ สมพงษ์ วุฒิพงษ์ พันธุมนันท์ Copyright (c) 2024 Loei Rajabhat University https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-17 2024-05-17 4 1 1 13 ระยะการออกดอกเป็นผลและการแพร่พันธุ์เมล็ดของพรรณไม้ในอุทยานสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSET/article/view/252927 <p>วัตถุประสงค์ของงานวิจัยเพื่อสำรวจพรรณไม้ในอุทยานสวรรค์ (หนองสมบูรณ์) ซึ่งมีเนื้อที่ทั้งหมด 316 ไร่ โดยการสำรวจบันทึกช่วงเวลาระยะออกดอกและเป็นผล ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2564 - มิถุนายน 2565 ภายใต้สภาพภูมิอากาศที่มีปริมาณน้ำฝน เฉลี่ย 4.5 มิลลิลิตร อุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุด 34.2 และ 23.8 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 29 องศาเซลเซียส ตามแนวทางเดินภายในอุทยานสวรรค์ รวมระยะทางประมาณ 3.3 กิโลเมตร พร้อมทั้งถ่ายรูป จดบันทึก และเก็บตัวอย่างพรรณไม้ เพื่อจัดจำแนกและระบุชนิด ลักษณะวิสัย และการแพร่พันธุ์เมล็ด รวมทั้งวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด 3 ลำดับ ผลการศึกษาพบพรรณไม้ทั้งหมด 51 วงศ์ 121 สกุล 163 ชนิด แบ่งเป็นไม้ต้นมากที่สุด (100 ชนิด) รองลงมาคือ ไม้ต้นขนาดเล็ก (27 ชนิด) และไม้พุ่ม/ไม้ต้นขนาดเล็ก (13 ชนิด), ตามลำดับ โดยพรรณไม้ที่พบมากที่สุดคือวงศ์ถั่ว (Fabaceae) จำนวน 33 ชนิด 21 สกุล รองลงมาคือวงศ์เข็ม (Rubiaceae) จำนวน 9 ชนิด 7 สกุล และวงศ์แคหางค่าง (Bignoniaceae) จำนวน 8 ชนิด 6 สกุล ต้นไม้ที่เส้นผ่านศูนย์กลาง (DBH) มากที่สุด 3 อันดับ พบว่า ไทรย้อยใบแหลม (3.34 เมตร) และอีก 2 ต้น คือ ไทรย้อย (3.18 และ 2.86 เมตร) ตามลำดับ พบการแพร่พันธุ์เมล็ดโดยสัตว์มากที่สุด (96 ชนิด) รองลงมาคือลม (57 ชนิด) แรงดันจากการแตกของผล (7 ชนิด) และน้ำ (3 ชนิด) ตามลำดับ ผลการศึกษาระยะการออกดอก พบในช่วงฤดูร้อนมากที่สุด ในเดือนมีนาคม จำนวน 100 ชนิด รองลงมาเป็นช่วงฤดูหนาว ในเดือนกุมภาพันธ์ จำนวน 88 ชนิด และช่วงฤดูฝน ในเดือนกรกฎาคม จำนวน 55 ชนิด ในขณะที่พบการเป็นผลในช่วงฤดูร้อนและช่วงฤดูฝน มากที่สุด ในเดือนเมษายน และเดือนกรกฎาคม (77 ชนิด) และช่วงฤดูหนาวน้อยที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ (64 ชนิด) ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาสามารถนำไปใช้สำหรับการวางแผนการอนุรักษ์และการปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ไม้ใหญ่ในเมืองและเพิ่มพื้นที่สีเขียวต่อไป</p> สุภาวรรณ วงค์คำจันทร์ ณัฐธชัย นุชชม ดารณี กาญจนะ คุ้มสิน ชลิตา การภักดี Copyright (c) 2024 Loei Rajabhat University https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-17 2024-05-17 4 1 14 27 กระบวนการผลิตถ่านอัดแท่งจากวัสดุเหลือทิ้งในสวนยางพารา และการถ่ายทอด ผ่านเทคโนโลยีอินโฟกราฟิก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSET/article/view/252377 <p>งานวิจัยนี้เพื่อผลิตและทดสอบประสิทธิภาพเชิงความร้อนของถ่านอัดแท่งที่ผลิตจากวัสดุเหลือทิ้งจากสวนยางพารา และทำการวิเคราะห์ออกแบบการถ่ายทอดกระบวนการผลิตถ่านอัดแท่งผ่านเทคโนโลยีอินโฟกราฟิก ในการผลิตถ่านอัดแท่งนั้นจะใช้เศษกิ่งไม้ยางพารา และเปลือกผลยางพาราที่ตากแห้งแล้ว จากนั้นเผาจนเป็นถ่านและบดให้ละเอียด นำไปผสมกับแป้งมันและน้ำ ทั้งหมด 3 สูตร คือ สูตรที่ 1 กิ่งไม้ยางพารา : แป้งมัน : น้ำ ในอัตราส่วน คือ 2 kg : 250 g : 1,400 ml, สูตรที่ 2 เปลือกผลยางพารา : แป้งมัน : น้ำ ในอัตราส่วน คือ 2 kg : 250 g : 1,000 ml, และสูตรที่ 3 กิ่งไม้ยางพารา : เปลือกผลยางพารา : แป้งมัน : น้ำ ในอัตราส่วน คือ 1 kg : 1 kg : 250 g : 1,200 ml, ตามลำดับ แล้วอัดขึ้นรูป นำถ่านที่ได้ไปตากแดดให้แห้ง และทดสอบหาคุณสมบัติทางด้านความร้อนต่างๆ คือ ค่าความร้อน ปริมาณความชื้น ปริมาณเถ้า อุณหภูมิการเผาไหม้เฉลี่ย และระยะเวลาการเผาไหม้ ผลการทดสอบพบว่า สูตรที่ 1 คือ มีค่าความร้อน 6,853.21 kcal/kg มีปริมาณความชื้น 4.804% มีปริมาณเถ้า 26.250% มีอุณหภูมิการเผาไหม้เฉลี่ย 250.63 <sup>๐</sup>C และระยะเวลาการเผาไหม้จนเป็นเถ้าเฉลี่ย 160 นาที สูตรที่ 2 มีค่าความร้อน 8,127.21 kcal/kg มีปริมาณความชื้น 4.37% มีปริมาณเถ้า 26.250% มีอุณหภูมิการเผาไหม้เฉลี่ย 270.2 <sup>๐</sup>C และระยะเวลาการเผาไหม้จนเป็นเถ้าเฉลี่ย 180 นาที สูตรที่ 3 มีค่าความร้อน 7,657.40 kcal/kg มีปริมาณความชื้น 4.485% มีปริมาณเถ้า 26.641% มีอุณหภูมิการเผาไหม้เฉลี่ย 258 <sup>๐</sup>C และระยะเวลาการเผาไหม้จนเป็นเถ้าเฉลี่ย 180 นาที จะเห็นได้ว่าสูตรที่ 2 มีประสิทธิภาพเชิงความร้อนที่ดีที่สุด จากทั้ง 3 อัตราส่วนที่ผลิตขึ้นมา เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช. 238/2547) สามารถใช้หุงต้มได้ดี ไม่มีการแตกประทุ ติดไฟได้ดี มีเขม่า และควันเล็กน้อย หลังจากนั้นผู้วิจัยทำการออกแบบการถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านเทคโนโลยีอินโฟกราฟิก สำหรับผู้สนใจสามารถเรียกดูได้ในรูปแบบสื่อมัลติมีเดีย โดยมีการประเมินประสิทธิภาพสื่อโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน โดยแบ่งเป็น ด้านเนื้อหา จำนวน 1 คน ด้านการออกแบบสื่อ จำนวน 2 คน ด้านการนำเสนอสื่อ จำนวน 2 คน พบว่า ผลรวมการประเมินประสิทธิภาพสื่ออยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ค่าเฉลี่ย 4.93 คะแนน และนำสื่อที่ได้ไปประเมินความพึงพอใจโดยผู้ที่สนใจ จำนวน 30 คน ปรากฏว่า ผลรวมการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.48 คะแนน</p> แพรตะวัน จารุตัน วิชชุดา ภาโสม Copyright (c) 2024 Loei Rajabhat University https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-21 2024-05-21 4 1 28 43 การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการกองทุนสหกรณ์ข้าว หมู่บ้านดอนขาว ตำบลช้างมิ่ง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSET/article/view/252516 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการกองทุนสหกรณ์ข้าว หมู่บ้านดอนขาว <br />ตำบลช้างมิ่ง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร 2) ประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการกองทุนสหกรณ์ข้าว และ 3) ประเมินความพึงพอใจระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการกองทุนสหกรณ์ข้าว ดำเนินการพัฒนาตามวงจรการพัฒนาระบบ (SDLC) พัฒนาระบบด้วยภาษา PHP HTML CSS JavaScript SQL และจัดการฐานข้อมูลด้วย MySQL การประเมินประสิทธิภาพด้วยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และกลุ่มตัวอย่างประเมินความพึงพอใจของระบบ จำนวน 49 คน โดยการใช้เกณฑ์หรือการประมาณจากจำนวนประชากร</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการกองทุนสหกรณ์ข้าวหมู่บ้านดอนขาว สามารถใช้งานได้ ช่วยให้การทำงานของกองทุนมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีการจัดเก็บ ค้นหา และรายงานข้อมูลกองทุนสหกรณ์ข้าวที่สะดวกและรวดเร็ว ช่วยลดปัญหาการสูญหายของข้อมูล มีระบบการยืม - คืน ของสมาชิกกองทุนสหกรณ์ข้าวที่สะดวกมากขึ้น โดยพิจารณาผลการประเมินประสิทธิภาพจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ภาพรวมของระบบมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ =4.58, S.D.= 0.46) และผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งาน อยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ =4.51, S.D.=0.55)</p> ปิยวรรณ โถปาสอน นิภาพร ชนะมาร สุพจน์ หล่อนสิ่ว วีระศักดิ์ เจริญรัตน์ Copyright (c) 2024 Loei Rajabhat University https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-21 2024-05-21 4 1 44 55 การพัฒนาแอปพลิเคชันให้ความรู้การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และการปลูกไม้มีค่า ด้วย Glide Platform https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSET/article/view/253529 <p>งานวิจัยนี้นำเสนอการการพัฒนาแอปพลิเคชันให้ความรู้การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการปลูกไม้มีค่า ด้วย Glide Platform มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับการจัดเก็บข้อมูลการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและข้อมูลการปลูกไม้มีค่าให้มีประสิทธิภาพ ในการบริหารจัดการข้อมูล เพื่ออำนวยความสะดวกแก่บุคคลทั่วไปและผู้ที่ต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับไม้มีค่า ซึ่งผู้วิจัยออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันโดยใช้ Glide Platform ในด้านการจัดการส่วนการติดต่อประสานกับผู้ใช้กับผู้ใช้งาน รวมไปถึงใช้สำหรับการจัดเก็บข้อมูลในแอปพลิเคชัน ส่วนของการประเมินความสามารถของแอปพลิเคชันที่ออกแบบและพัฒนาขึ้น ได้ทำการทดสอบความสามารถของแอปพลิเคชัน โดยให้ผู้ใช้งานจริงทั้งสิ้น 113 ราย ได้ทำการใช้ระบบพร้อมทั้งตอบแบบสอบถามเพื่อนำมาประเมินความพึงพอใจในการใช้งานแอปพลิเคที่ได้พัฒนาขึ้นในด้านความพึงพอใจของผู้ใช้ ด้านคุณภาพของภาพรวมของระบบ ด้านคุณภาพของแอปพลิเคชัน ด้านคุณภาพของบริการ และด้านการนำแอปพลิเคชันไปใช้งานและพัฒนาต่อไป ผลการประเมินด้านความพึงพอใจของผู้ใช้อยู่ในเกณฑ์ระดับมากที่สุด ด้านคุณภาพของภาพรวมของระบบอยู่ในเกณฑ์ระดับมากที่สุด ด้านคุณภาพของแอปพลิเคชันอยู่ในเกณฑ์ระดับมาก ด้านคุณภาพของบริการอยู่ในเกณฑ์ระดับมากที่สุด และด้านการนำแอปพลิเคชันไปใช้งานและพัฒนาต่อไปอยู่ในเกณฑ์ระดับมาก</p> ณัฐธิดา บุตรพรม Copyright (c) 2024 Loei Rajabhat University https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-04 2024-06-04 4 1 56 69