https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSTNSRU/issue/feed SCIENCE AND TECHNOLOGY NAKHON SAWAN RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL 2024-01-29T14:37:33+07:00 รองศาสตราจารย์ ดร.ชลดา เดชาเกียรติไกร ธีรการุณวงศ์ [email protected] Open Journal Systems วารสารวิชาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (NSRU Science and Technology Journal) https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSTNSRU/article/view/250465 การศึกษาเปรียบเทียบวิธีที่เหมาะสมสำหรับพัฒนาหุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบอัตโนมัติ ด้วยแพลตฟอร์ม Arduino 2023-08-04T15:04:50+07:00 นฤพนธ์ พนาวงศ์ [email protected] เอกสิทธิ์ สิทธิสมาน [email protected] ภัคจิรา ศิริโสม [email protected] <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิธีที่เหมาะสมสำหรับพัฒนาหุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบอัตโนมัติ 2) ออกแบบและพัฒนาหุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบอัตโนมัติด้วยแพลตฟอร์ม Arduino 3) เปรียบเทียบประสิทธิภาพและหาวิธีที่เหมาะสมสำหรับหุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบอัตโนมัติ โดยแบ่งวิธีการดำเนินงานวิจัยออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) การออกแบบและพัฒนาหุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบอัตโนมัติ ผู้วิจัยใช้แพลตฟอร์ม Arduino ประกอบไปด้วย บอร์ดอิเล็กทรอนิกส์ ESP32 ในการประมวลผลคำสั่งต่าง ๆ โมดูล HC-SR04 อัลตร้าโซนิคเป็นอุปกรณ์วัดระยะทางเพื่อตรวจจับสิ่งกีดขวาง IR Infrared เป็นอุปกรณ์ตรวจจับเส้นทางในการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ และโมดูล L298N เป็นตัวขับเคลื่อนหุ่นยนต์ทำให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งต่าง ๆ ได้ และใช้ภาษา C สำหรับ Arduino ในการเขียนโปรแกรมตามอัลกอริทึมการค้นหาเส้นทาง 2) การพัฒนาอัลกอริทึมที่ใช้สำหรับหุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบอัตโนมัติ โดยใช้ 4 อัลกอริทึมที่นิยมนำมาใช้งานค้นหาเส้นทาง ได้แก่ คือ อัลกอริทึมการค้นหาในแนวกว้างก่อน อัลกอริทึมการค้นหาเชิงลึกก่อน อัลกอริทึมการค้นหาแบบดีที่สุดก่อน และอัลกอริทึมการค้นหาแบบเอ-สตาร์ จากการทดสอบการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์แบบอัตโนมัติพบว่าอัลกอริทึมที่ใช้เวลาในการเดินทางเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ อัลกอริทึมการค้นหาแบบเอ-สตาร์ ใช้เวลาเฉลี่ยเท่ากับ 39.12 วินาที ส่วนอัลกอริทึมที่ใช้เวลาในการเดินทางเฉลี่ยมากที่สุด คือ อัลกอริทึมการค้นหาเชิงลึกก่อน ใช้เวลาเฉลี่ยเท่ากับ 48.64 วินาที ซึ่งทุกอัลกอริทึมใช้ระยะทางในการเดินทางเท่ากัน คือ 10 บล็อก</p> 2024-01-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 SCIENCE AND TECHNOLOGY NAKHON SAWAN RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSTNSRU/article/view/252212 การปรับปรุงประสิทธิภาพชั้นไทเทเนียมไดออกไซด์ของเซลล์แสงอาทิตย์ ชนิดสีย้อมไวแสงโดยเปรียบเทียบน้ำหนักโมเลกุลของโพลิเอธิลีนไกลคอล 2023-12-28T13:57:26+07:00 chattariya Sirisamphanwong [email protected] <p>งานวิจัยนี้ศึกษาการปรับปรุงประสิทธิภาพชั้นไทเทเนียมไดออกไซด์ของเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสงโดยเปรียบเทียบน้ำหนักโมเลกุลของโพลิเอธิลีนไกลคอล (Poly Ethylene Glycol : PEG) ที่มีน้ำหนักโมเลกุล 6,000 8,000 และ 10,000 จากผลการศึกษาลักษณะเฟสด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนด้วยรังสีเอกซ์ พบว่าเฟสของไทเทเนียมไดออกไซด์เป็นเฟสอะนาเทสและเฟสรูไทล์ มื่อตรวจสอบสัณฐานวิทยาของชั้นไทเทเนียมด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด พบว่าชั้นไทเทเนียมไดออกไซด์ที่เติมสาร PEG น้ำหนักโมเลกุล 10,000 มีลักษณะเป็นรูพรุนที่กระจายบนพื้นผิวของเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสงเป็นจำนวนมากทำให้มีช่องว่างสำหรับสีย้อมไวแสงมากที่สุด และเมื่อตรวจสอบคุณสมบัติทางไฟฟ้าของเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสงที่เติมสาร PEG น้ำหนักโมเลกุล 10,000 พบว่ามีคุณสมบัติทางไฟฟ้าสูงสุด โดยพบว่ามีค่าแรงดันไฟฟ้าลัดวงจร เท่ากับ 0.348 V ค่ากระแสไฟฟ้าลัดวงจร เท่ากับ 0.580 A/cm<sup>2</sup> ค่าฟิลแฟคเตอร์ เท่ากับ 0.440 และค่าประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสงเท่ากับร้อยละ 0.888 </p> 2024-01-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 SCIENCE AND TECHNOLOGY NAKHON SAWAN RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSTNSRU/article/view/251786 การวิเคราะห์เว็บไซต์ท่องเที่ยวโดยใช้การคำนวณหาค่าน้ำหนักของคำเชิงความหมาย และตรรกศาสตร์คลุมเครือ 2023-11-19T23:10:12+07:00 Warachanan Choothong [email protected] Naruepon Panawong [email protected] Ekkawit Sittiwa [email protected] <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เว็บไซต์ท่องเที่ยว โดยใช้เทคนิคการคํานวณหาค่าน้ำหนักของคําเชิงความหมายและตรรกศาสตร์คลุมเครือ และวัดประสิทธิภาพของเทคนิคนี้ด้วย F-Measure การวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน กล่าวคือ (1) การออกแบบสถาปัตยกรรมของการวิเคราะห์เว็บไซต์ท่องเที่ยว ที่นำเสนอภาพรวมของงานวิจัย และการสร้างคําสำคัญเชิงความหมายจากออนโทโลจีการท่องเที่ยว และคําสำคัญที่ปรากฏร่วมกันบ่อยในเว็บไซต์ (2) การวิเคราะห์เว็บไซต์ด้วยการเขียนโค้ดภาษา Python เพื่อนำเนื้อหามาจาก Body tags ของเว็บไซต์ อีกทั้งนำผลลัพธ์การสืบค้นมาจากเว็บไซต์กูเกิล โดยใช้ 647 เว็บไซต์ท่องเที่ยวจาก Truehits มาเรียนรู้ จากนั้นคํานวณหาค่าน้ำหนักของคําเชิงความหมายจำนวน 68 คํา และคํานวณหาความน่าจะเป็นของแต่ละเว็บไซต์ และ (3) การตั้งค่าเขตแดนโดยใช้ตรรกศาสตร์คลุมเครือที่กำหนดความเป็นสมาชิกด้วยค่า F-Measure โดยใช้ฟังก์ชันสามเหลี่ยมมาสร้างกฎฟัซซีแบบ IF &lt;condition&gt; THEN จำนวน 5 กฎ ช่วยอนุมานและหาจุดศูนย์ถ่วงสำหรับค่าเขตแดนอันเหมาะสมที่สุด ผลการวิเคราะห์ ทราบค่าเขตแดนอันเหมาะสมที่สุดเท่ากับ 10.65 จากการทดสอบกับเว็บไซต์ท่องเที่ยวจำนวน 500 เว็บไซต์ พบว่า มีเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว คิดเป็นร้อยละ 83.80 โดยมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับร้อยละ 93.21 มีค่าความแม่นยําเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 100 และค่าความระลึกเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 87.29</p> 2024-02-12T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 SCIENCE AND TECHNOLOGY NAKHON SAWAN RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSTNSRU/article/view/250750 การสร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณผลผลิตมันสำปะหลัง 2023-08-30T19:43:48+07:00 Saowalee Peakrathok [email protected] <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยและสร้างสมการทำนายปริมาณผลผลิตมันสำปะหลังในเขตพื้นที่ชุมชนบ้านละลม ตำบลละลมใหม่พัฒนา อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งทำการศึกษาทั้งหมด 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) พื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 2) การใช้ปุ๋ยบำรุงต้นมันสำปะหลัง 3) พันธุ์มันสำปะหลังที่ปลูก 4) โรคและศัตรูมันสำปะหลัง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อปริมาณผลผลิตมันสำปะหลัง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ปลูกมันสำปะหลังหรือผู้ทำไร่มันสำปะหลัง ที่มีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของไร่ในเขตพื้นที่ในเขตพื้นที่ชุมชนบ้านละลม ตำบลละลมใหม่พัฒนา อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 98 คน ผลการศึกษาพบว่าทั้ง 4 ปัจจัย มีความสัมพันธ์กับปริมาณผลผลิตมันสำปะหลังในระดับค่อนข้างสูง โดยสามารถพยากรณ์ปริมาณการผลิตได้ร้อยละ 55.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แสดงว่าปัจจัยดังกล่าวสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของปริมาณผลผลิตมันสำปะหลังได้ร้อยละ 55.3 และเมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวพยากรณ์ พบว่ามีเพียง 2 ปัจจัยเท่านั้นที่สามารถพยากรณ์ปริมาณผลผลิตได้ ได้แก่ พื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง และพันธุ์มันสำปะหลังที่ปลูก มีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ 0.05 ซึ่งสามารถเขียนสมการพยากรณ์ปริมาณผลผลิตมันสำปะหลัง ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ Y = 6.862 + 1.450X<sub>1</sub> + 1.536X<sub>3</sub> สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z = 0.332Z<sub>1</sub> + 0.295Z<sub>3</sub></p> 2024-04-09T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 SCIENCE AND TECHNOLOGY NAKHON SAWAN RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSTNSRU/article/view/250746 การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันแยกประเภทขยะด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ 2023-08-30T16:01:13+07:00 WADEENAT WANNASAWASKUL [email protected] <p>งานวิจัยนี้เป็นการสร้างเว็บแอปพลิเคชันสำหรับการให้ข้อมูลคัดแยกขยะซึ่งสามารถใช้งานได้ทั้งคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟน โดยได้นําเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ มาใช้วิเคราะห์ภาพขยะเพื่อให้ได้ประเภทขยะที่ถูกต้อง และจะแสดงผลลัพธ์ที่หน้าจออุปกรณ์ โครงการวิจัยนี้ได้นํา Teachable Machine มาใช้เป็นแบบจําลองของปัญญาประดิษฐ์ของขยะจำนวน 4 ประเภท โดยแบ่งข้อมูลออกเป็น 12 คลาส โมเดลปัญญาประดิษฐ์ที่ได้มีความถูกต้องร้อยละ 85.33 จากนั้นใช้เอชทีเอ็มแอล ร่วมกับจาวาสคริปต์ในการพัฒนาแอปพลิเคชัน เว็บไซต์ที่พัฒนาสามารถใช้งานแสดงประเภทขยะได้อย่างถูกต้องร้อยละ 84.67</p> 2024-04-09T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 SCIENCE AND TECHNOLOGY NAKHON SAWAN RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL