SCIENCE AND TECHNOLOGY NAKHON SAWAN RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSTNSRU วารสารวิชาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (NSRU Science and Technology Journal) en-US chonlada.d@nsru.ac.th (รองศาสตราจารย์ ดร.ชลดา เดชาเกียรติไกร ธีรการุณวงศ์) sirichai.t@nsru.ac.th (นายศิริชัย ทวีผล) Mon, 30 Sep 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การเปรียบเทียบตัวแบบอิงพารามิเตอร์สามตัวแบบในการทำนายการลดลงของประชากรเชื้อก่อโรค https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSTNSRU/article/view/248859 <p> </p> <p> </p> KANNAT NA BANGCHANG Copyright (c) 2024 SCIENCE AND TECHNOLOGY NAKHON SAWAN RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSTNSRU/article/view/248859 Mon, 30 Sep 2024 00:00:00 +0700 การกักเก็บคาร์บอนของไม้ต้นบริเวณเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จังหวัดนครสวรรค์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSTNSRU/article/view/253840 <p>การเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ส่งผลต่อสถานการณ์โลกร้อนอย่างรุนแรง การศึกษาการกักเก็บคาร์บอนจึงเป็นวิธีที่หลายภาคส่วนใช้ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมเพื่อเป็นข้อมูลในการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจก พื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จังหวัดนครสวรรค์เป็นพื้นที่ป่าเต็งรังอยู่ใกล้เขตชุมชนและพื้นที่เกษตรกรรมและยังไม่มีข้อมูลการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสํารวจพันธุ์ไม้ในพื้นที่เส้นทางศึกษาธรรมชาติเพื่อทราบปริมาณมวลชีวภาพของต้นไม้และทราบปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่โครงการฯ ขนาดพื้นที่ 3.68 เฮกตาร์ โดยการสุ่มวางแปลงตัวอย่าง 3 แปลง คิดเป็นร้อยละ 13 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยวางแปลงจากความหนาแน่นของจำนวนต้นไม้ 3 ระดับ คือ ความหนาแน่นมาก ปานกลาง และน้อย ขนาด 0.16 เฮกตาร์ ผลการศึกษา พบว่า บริเวณพื้นที่ศึกษาพบพรรณไม้ทั้งหมด 409 ต้น 48 ชนิด 42 สกุล 24 วงศ์ โดยพันธุ์ไม้ที่พบมากที่สุด คือ เหียง (<em>Dipterocarpus obtusifolius</em> Teijsm. ex Miq.) มีค่าดัชนีความสำคัญของพันธุ์ไม้เท่ากับ 55.18 รองลงมา คือ ประดู่ป่า (<em>Pterocarpus macrocarpus</em> Kurz) 22.49 ตามด้วย กุ๊ก (<em>Lannea coromandelica</em> (Houtt.) Merr.) งิ้วป่า (<em>Bombax anceps</em> Pierre var. Anceps) และตะแบกเลือด (<em>Terminalia corticosa </em>Pierre ex Laness.) 21.48, 19.77, 11.93 ตามลำดับ มวลชีวภาพเฉลี่ย 173.88 ตัน/เฮกตาร์ มวลชีวภาพรวม 639.86 ตัน สามารถกักเก็บคาร์บอนได้เฉลี่ย 81.71 ตัน/เฮกตาร์ กักเก็บคาร์บอนได้ทั้งหมด 300.69 ตัน ข้อมูลที่ได้นี้สามารถนำไปส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่ป่าและเป็นฐานข้อมูลทรัพยากรป่าไม้ของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ต่อไป</p> ธนิษฐา กันทะวงค์ Copyright (c) 2024 SCIENCE AND TECHNOLOGY NAKHON SAWAN RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSTNSRU/article/view/253840 Mon, 30 Sep 2024 00:00:00 +0700 การพยากรณ์ปริมาณการใช้น้ำประปาในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ ด้วยวิธีการวิเคราะห์อนุกรมเวลาโดยใช้เทคนิคของบอกซ์-เจนกินส์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSTNSRU/article/view/253024 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพยากรณ์ความต้องการใช้น้ำประปาในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ โดยใช้ข้อมูลปริมาณการใช้น้ำประปาในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2556 ถึงปีงบประมาณ 2566 จำนวน 132 ค่า โดยแบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ชุด คือ ชุดที่ 1 ใช้สำหรับการวิเคราะห์เพื่อสร้างตัวแบบพยากรณ์ เป็นข้อมูลปริมาณการใช้น้ำประปาในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2556 ถึงปีงบประมาณ2565 จำนวน 120 ค่า และข้อมูลชุดที่ 2 เป็นข้อมูลปริมาณการใช้น้ำประปาในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ปีงบประมาณ 2566 จำนวน 12 ค่า ซึ่งเป็นข้อมูลที่ใช้สำหรับทดสอบประสิทธิภาพตัวแบบพยากรณ์ที่สร้างขึ้น โดยวิเคราะห์อนุกรมเวลาด้วยวิธีบอกซ์เจนกินส์ (Box-Jenkins) หาประสิทธิภาพความแม่นยำของตัวแบบการพยากรณ์โดยพิจารณา รากที่สองของความคลาดเคลื่อนเฉลี่ย (RMSE) ค่าเฉลี่ยร้อยละความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ (MAPE) และค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย (MAE) พบว่า ตัวแบบที่วิเคราะห์อนุกรมเวลาด้วยวิธีบอกซ์เจนกินส์ที่เหมาะสมที่สุด คือ ตัวแบบ ARIMA(10,1,5) โดยให้ค่า RMSE = 58,551.27, MAPE = 5.36 และ MAE = 51,437.16 ผลการพยากรณ์ปริมาณการใช้น้ำประปาในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ปีงบประมาณ 2567 รวมเท่ากับ 10,632,157.04 ลูกบาศก์เมตร</p> Woraphan Jareankam Copyright (c) 2024 SCIENCE AND TECHNOLOGY NAKHON SAWAN RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSTNSRU/article/view/253024 Mon, 30 Sep 2024 00:00:00 +0700 กระถางพืชอินทรีย์จากมะพร้าวน้ำหอมเหลือทิ้งและวัสดุรองพื้นคอกสุกร https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSTNSRU/article/view/253448 <p>เปลือกมะพร้าวน้ำหอมและวัสดุรองพื้นสำหรับคอกสุกรเป็นของเสียที่เกิดขึ้นมากในจังหวัดราชบุรี ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาการใช้เปลือกมะพร้าวน้ำหอม วัสดุรองพื้นคอกสุกร โดยนำเปลือกมะพร้าวน้ำหอมผสมวัสดุรองพื้นคอกสุกรในอัตราส่วน 1:1 โดยน้ำหนัก ซึ่งใช้แป้งข้าวโพดเป็นตัวประสาน ศึกษาสมบัติทางกายภาพและเคมี และทดสอบการปลูกกะเพราเป็นเวลา 30 วัน ผลการศึกษาพบว่า เปลือกมะพร้าวและวัสดุรองพื้นคอกสุกร มีค่าคาร์บอนต่อไนโตรเจนเท่ากับ 74.42 และ 9.86 ตามลำดับ กระถางอินทรีย์สามารถปลดปล่อยแอมโมเนีย ไนเตรท ฟอสฟอรัส และแทนนินออกมาได้ เมื่อนำมาใช้ปลูกกะเพราเปรียบเทียบกับกระถางพลาสติก พบว่าการใช้วัสดุรองพื้นคอกสุกรเป็นกระถาง มีจำนวนต้นและความสูงเฉลี่ยสูงที่สุด ให้ผลที่ดีกว่าการใช้กระถางพลาสติก การใช้กระถางเปลือกมะพร้าวยังมีข้อจำกัด เนื่องจากมีการปลดปล่อยแทนนินออกจากกระถางและเกิดการสะสม ทำให้มีผลในทางลบต่อการเจริญของพืช กระถางอินทรีย์จากวัสดุรองพื้นคอกสุกรสามารถนำมาใช้เป็นกระถางพร้อมปลูกลงดิน ย่อยสลายได้ง่าย และมีธาตุอาหารที่เหมาะสมสำหรับการเจริญของพืช</p> soydoa vinitnantharat Copyright (c) 2024 SCIENCE AND TECHNOLOGY NAKHON SAWAN RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSTNSRU/article/view/253448 Fri, 25 Oct 2024 00:00:00 +0700 ระบบแจ้งเตือนอัจฉริยะเพื่อป้องกันภัยสำหรับนักเรียนพลัดตกอาคารเรียน https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSTNSRU/article/view/252525 <p>ปัญหาการพลัดตกอาคารในช่วงเวลากลางคืนหรือในช่วงเวลาที่ไม่มีคนอยู่ เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยและไม่สามารถจะช่วยเหลือได้ทันท่วงที ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ ผู้วิจัยมีแนวคิดในการพัฒนาระบบแจ้งเตือนเพื่อป้องกันการพลัดตกอาคารในสถานศึกษาเพื่อช่วยป้องกันการเกิดเหตุร้าย โดยใช้การตรวจจับร่างกายผ่านกล้องไอพีโดยใช้มีเดียไปป์ จำแนกท่าทางโดยใช้ Long Short-Term Memory (LSTM) และแจ้งเตือนผ่านลำโพงบลูทูธเมื่อตรวจพบบุคคล และจับเวลาเพื่อแจ้งเตือนเป็นระยะๆ เพื่อให้พนักงานรักษาความปลอดภัยเข้าช่วยเหลือได้ทันท่วงที ผลการทดสอบกับบุคคลจำนวน 10 คน พบว่าความแม่นยำของการแจ้งเตือนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 96.5 โดยสามารถระบุท่าทางของบุคคลในขณะนั้นได้ และมีความแม่นยำสูงเมื่อระยะการทดสอบไม่เกิน 1 เมตร</p> Natthaphon Wongmee, Wiyada Yawai Copyright (c) 2024 SCIENCE AND TECHNOLOGY NAKHON SAWAN RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSTNSRU/article/view/252525 Tue, 29 Oct 2024 00:00:00 +0700 การสร้างเครื่องต้นแบบดูดจ่ายของเหลวอัตโนมัติสำหรับสารละลายเจือจางและอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดเหลวที่บรรจุในหลอดทดลอง https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSTNSRU/article/view/253420 <p>การเตรียมสารละลายเจือจางและอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดเหลวมักพบปัญหาในขั้นตอนการเตรียมและการบรรจุลงในหลอดทดลอง โดยทั่วไปนิยมใช้กระบอกเข็มฉีดยาพลาสติกหรือเครื่องดูดจ่ายกึ่งอัตโนมัติ (dispenser) ซึ่งแต่ละครั้งมีการเตรียมในปริมาณมาก อุปกรณ์ที่ใช้เตรียมมีขนาดเล็ก ใช้เวลานาน ราคาค่อนข้างแพง มีอายุการใช้งาน 1-2 ปี และที่สำคัญปริมาตรที่ตวงได้ไม่สม่ำเสมออาจเกิดจากความเมื่อยล้าของผู้ปฏิบัติงาน ส่งผลให้เมื่อนำไปใช้งานทดสอบด้านจุลชีววิทยาเกิดความผิดพลาดและไม่ตรงตามที่ต้องการ คณะผู้วิจัยจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างเครื่องต้นแบบดูดจ่ายของเหลวอัตโนมัติสำหรับสารละลายเจือจางและอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดเหลวที่บรรจุในหลอดทดลอง ปริมาตร 9.00 และ 10.00 มิลลิลิตร ขนาดหลอดทดลอง 16x160 มิลลิเมตร จำนวน 100 หลอด มีขั้นตอนดำเนินการวิจัยโดยการออกแบบเครื่อง ประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ 1) ถังเก็บและปั๊มดูดจ่ายสารละลายเจือจางและอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดเหลว 2) กลไกการเคลื่อนที่ไปจ่ายของเหลว และ 3) ชุดควบคุมการทำงานปั๊มและกลไกการเคลื่อนที่ หลักการทำงานใช้กลไกการขับเคลื่อนแบบเดียวกับเครื่องจักรอุตสาหกรรม ที่เรียกว่า เครื่อง CNC เป็นกลไกที่สามารถเคลื่อนที่ไปตามแนวแกน x, y และ z ได้ตามต้องการ ซึ่งกลไกดังกล่าวจะเคลื่อนที่ไปจ่ายของเหลวยังตำแหน่งที่กำหนด และมีปั้มแบบรีดท่อ (peristaltic pump) จ่ายของเหลวลงในหลอดทดลองตามปริมาตรที่กำหนด โดยใช้โปรแกรมคำสั่ง G code ควบคุมเครื่องผ่านทาง software ที่ชื่อว่า MACH 3 ออกแบบการทำงาน 2 โปรแกรม คือ (1) แบบ 9.00 มิลลิลิตร 100 หลอด และ (2) แบบ 10.00 มิลลิลิตร 100 หลอด จากการศึกษาพบว่า การควบคุมปริมาตรการจ่ายของเหลวใช้ค่า pulse with modulation (PMW) ปรับจาก speed controller และค่า time ปรับด้วยโปรแกรม G code พบว่าปริมาตร 9.00 มิลลิลิตร ใช้ค่า PMW 72% time 1.4 sec และปริมาตร 10.00 มิลลิลิตร ใช้ค่า PMW 83% time 1.4 sec ผลการทดสอบความถูกต้องแม่นยำ ปริมาตร 9.00 และ 10.00 มิลลิลิตร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.89±0.7 และ 9.99±0.7 มิลลิลิตร ตามลำดับ ผลการทดสอบมีความแม่นยำสูงแสดงได้ด้วยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์ (%RSD) ที่ n=10 มีค่า %RSD เท่ากับ 0.76 และ 0.70 ตามลำดับ จากการเปรียบเทียบด้วย t-Test พบว่าค่าเฉลี่ยที่ปริมาตร 9.00 และ 10.00 มิลลิลิตร ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95% เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์การยอมรับในการเตรียมสารละลายเจือจางและอาหารเลี้ยงเชื้อ ที่ปริมาตร 9.00±0.2 มิลลิลิตร และปริมาตร 10.00±0.1 มิลลิลิตร อยู่ในเกณฑ์การยอมรับ สรุปได้ว่าเครื่องดูดจ่ายของเหลวอัตโนมัติ (automatic dispensing machine, ADM) ใช้เตรียมสารละลายเจือจางและอาหารเลี้ยงเชื้อที่บรรจุในหลอดทดลองได้เป็นอย่างดี มีความถูกต้องแม่นยำ น่าเชื่อถือ ช่วยอำนวยความสะดวก ลดระยะเวลาในการทำงาน ประหยัดงบประมาณ โดยไม่จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์บ่อยครั้งและมีราคาแพงจากต่างประเทศ ลดค่าใช้จ่ายให้กับห้องปฏิบัติการ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานด้านอื่น ๆ ได้อีกด้วย</p> Penpak Komkaew, วิชาวุธ บุญญานุกูล Copyright (c) 2024 SCIENCE AND TECHNOLOGY NAKHON SAWAN RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSTNSRU/article/view/253420 Fri, 08 Nov 2024 00:00:00 +0700 สารสกัดจากใบกระถินที่ถูกตรึงบนกระดาษสำหรับเป็นชุดทดสอบปริมาณไอออนเหล็กในตัวอย่างยาเสริมธาตุเหล็ก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSTNSRU/article/view/254384 <p>งานวิจัยนี้ได้ศึกษาหาปริมาณไอออนเหล็กในตัวอย่างยาเสริมธาตุเหล็กด้วยเทคนิคแลป-ออน-เปเปอร์ โดยใช้สารสกัดจากใบกระถินเป็นรีเอเจนต์ ร่วมกับการตรวจวัดค่าสี RGB ด้วยโทรศัพท์มือถือ การเกิดปฏิกิริยาระหว่างสารมิโมซีนในใบกระถินกับไอออนเหล็กจะได้สารประกอบเชิงซ้อนสีส้มอิฐ ให้สเปกตราการดูดกลืนแสงสูงสุดที่ <br />460 nm โดยได้ศึกษาตัวแปรต่าง ๆ เพื่อให้ได้สภาวะที่เหมาะสมพบค่าที่เหมาะสม คือ ความเข้มข้นของสารสกัดใบกระถินที่ 2.5 %w/v เวลาในการสกัด 20 นาที pH ในการเกิดปฏิกิริยา 4.5 ปริมาตรสารละลายตัวอย่างที่หยดบนกระดาษเท่ากับ 15 ไมโครลิตร เวลาในการทำปฏิกิริยา 7.5 นาที และใช้แสงสีน้ำเงิน (B) ในการติดตามสัญญาณ ซึ่งภายใต้สภาวะการทดลองที่เหมาะสม พบช่วงการใช้งานที่เป็นเส้นตรงของสารละลายมาตรฐานเหล็กอยู่ในช่วง 1.00–10.00 ppm (y = 0.9626x – 2.1379, R<sup>2</sup> = 0.9959) ค่า LOD และ LOQ เท่ากับ 0.09 และ 3.68 ppm ตามลำดับ และค่าความแม่นยำในการวิเคราะห์ของเทคนิคที่พัฒนาขึ้นที่ความเข้มข้นของสารละลายมาตรฐานเหล็ก 1.00, 5.00 และ 10.00 ppm (n = 8) พบว่า %RSD เท่ากับ 3.00 2.84 และ 2.38 ตามลำดับ ร้อยละการได้คืนกลับ 87–93% จากการวิเคราะห์ไอออนเหล็กในตัวอย่างยาพบว่า เมื่อเปรียบเทียบค่าการวิเคราะห์ทางสถิติแบบ t-Test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ของวิธีที่พัฒนาขึ้นกับวิธีมาตรฐานของยาแต่ละชนิด พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ งานวิจัยนี้ถือได้ว่าเป็นเครื่องมืออย่างง่าย มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและราคาประหยัด</p> Napaporn Wannaprom Copyright (c) 2024 SCIENCE AND TECHNOLOGY NAKHON SAWAN RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSTNSRU/article/view/254384 Mon, 11 Nov 2024 00:00:00 +0700 ผลิตภัณฑ์กัมมี่เยลลี่จากน้ำสกัดส้มแขกผสมมะขามป้อมและกระชายขาว https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSTNSRU/article/view/253095 <p>ส้มแขก มะขามป้อม และกระชายขาว เป็นสมุนไพรพืชอาหารที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพในการส่งเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพจากส้มแขกผสมมะขามป้อมและกระชายขาว เพื่อนำข้อมูลมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ ผลการสำรวจผู้บริโภคโดยใช้แบบสอบถามพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ร้อยละ 50) ให้ความสนใจผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพในรูปแบบของกัมมี่เยลลี่มากกว่าเจลลี่แบบแท่ง แบบเหลวและแบบพุดดิ้ง ด้วยเหตุผลง่ายในการรับประทานและสะดวกในการพกพา ผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์กัมมี่เยลลี่จากน้ำสกัดส้มแขกผสมมะขามป้อมและกระชายขาว โดยศึกษาปริมาณเจลาตินที่เหมาะสมในสูตรร้อยละ 12 และร้อยละ 15 พบว่าการใช้เจลาตินร้อยละ 15 ของส่วนผสมทั้งหมด ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์กัมมี่เยลลี่มีสีจางลง มีความใสเพิ่มขึ้น เนื้อสัมผัสแข็งและเหนียวหนึบ ค่า a<sub>w</sub> และปริมาณความชื้นลดลง ปริมาณโปรตีนและเถ้าสูงขึ้น แต่ไม่มีผลต่อปริมาณไขมัน และการใช้เจลาตินร้อยละ 15 ยังได้รับคะแนนความชอบจากผู้ทดสอบชิมมากกว่าผลิตภัณฑ์กัมมี่เยลลี่ที่ใช้เจลาตินร้อยละ 12 ผลิตภัณฑ์กัมมี่เยลลี่ที่พัฒนาได้น้ำหนัก 100 กรัม มีปริมาณโปรตีน 17.47 กรัม ไขมัน 0.43 กรัม เถ้า 0.49 กรัม และคาร์โบไฮเดรต 81.66 กรัม มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ DPPH 355.23 มิลลิกรัมสมมูลย์ Trolox/100 กรัม และฟีนอลิกรวม 192.55 มิลลิกรัมสมมูลย์กรดแกลลิก/100 กรัม จึงเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพที่เหมาะสำหรับส่งเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ </p> Nomjit Suteebut Copyright (c) 2024 SCIENCE AND TECHNOLOGY NAKHON SAWAN RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSTNSRU/article/view/253095 Mon, 23 Dec 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม น้ำมันอากาศยานชีวภาพจากของเหลือทิ้งชีวภาพและพืชพลังงาน https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSTNSRU/article/view/252801 <p>วิกฤตภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาสำคัญระดับโลก โดยมีสาเหตุหลักจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลทำให้เกิดการสะสมก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกและน้ำทะเลในปี พ.ศ. 2565 เพิ่มสูงถึง 1.15 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม (พ.ศ. 2493) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกสร้างความเสียหายทั่วโลกเฉลี่ย 480 ล้านเหรียญสหรัฐต่อวัน ในปี พ.ศ. 2557 ประเทศไทยได้ร่วมกับประชาคมโลก เพื่อควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียส และมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี พ.ศ. 2593 อุตสาหกรรมการบินไทยยุคก่อนโควิด 19 ในปี พ.ศ. 2562 มีการใช้น้ำมันอากาศยานฟอสซิลสูงสุด 19.5 ล้านลิตรต่อวัน และปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศในระดับสูงสุด 34.949 ล้านตันต่อปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2573 สายการบินประเทศไทยต้องรักษาระดับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิให้อยู่ระดับคงที่ (neutralize) ไม่ให้เกินระดับการปล่อยสูงสุดของปี พ.ศ. 2562 น้ำมันอากาศยานชีวภาพสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้สูงถึงร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับน้ำมันอากาศยานฟอสซิล การผลิตน้ำมันอากาศยานชีวภาพเริ่มจากการนำน้ำมันชีวภาพมาทำปฏิกิริยากับไฮโดรเจนในถังปฏิกิริยาความดันสูง จะได้เชื้อเพลิงเหลวไฮโดรคาร์บอนสูงร้อยละ 80 - 95 แล้วนำเข้าสู่กระบวนการกลั่นที่อุณหภูมิสูงจะได้ผลิตภัณฑ์น้ำมันอากาศยานชีวภาพร้อยละ 21 - 25 น้ำมันก๊าซโซลีนชีวภาพร้อยละ 8 - 18 น้ำมันไบโอดีเซลร้อยละ 20 - 25 ก๊าซชีวภาพร้อยละ 22 - 25 และกากน้ำมันชีวภาพร้อยละ 8 - 10 วัตถุดิบที่เหมาะสำหรับผลิตน้ำมันอากาศยานชีวภาพ ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน น้ำมันพืชใช้แล้ว สบู่ดำ อ้อย และมันสำปะหลัง เทคโนโลยีการผลิตน้ำมันอากาศยานชีวภาพที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย คือ กระบวนการไฮโดรโปรเซสเอสเทอร์และกรดไขมัน เทคโนโลยีไบโอแมสก๊าซซิฟิเคชั่นร่วมกับอโรมาติกฟิชเชอร์ทรอปซ์ และกระบวนการแอลกอฮอล์ทูเจ็ท</p> SUJANYA CHANTRASIRI Copyright (c) 2024 SCIENCE AND TECHNOLOGY NAKHON SAWAN RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSTNSRU/article/view/252801 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อตรวจจับตัวอักษรภาษาไทยผ่านการแสดงท่าทางของมือ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSTNSRU/article/view/252503 <p>ระบบการตรวจจับอักษรภาษาไทยผ่านการแสดงท่าทางของมือในบทความนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและการพูดหรือบุคคลที่ใช้สื่อสารกับผู้อื่นด้วยสัญญาณมือ ให้มีเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้การแสดงออกของมือและนิ้วที่เพื่อการสะกดตัวอักษรไทย วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันบนฟลาสก์เฟรมเวิร์คที่สามารถตรวจจับและแปลสัญญาณมือผ่านกล้องเว็บแคมเป็นตัวอักษรภาษาไทย (Thai Sign Language: ThSL) ทั้งนี้เพื่อให้ระบบสามารถรับรู้การเคลื่อนไหวของมือเป็นอักขระภาษาไทยได้ ในงานนี้จึงมีการสร้างตัวแบบอักษรมือไทยที่มีการใช้เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่องจักร การเรียนรู้เชิงลึก โดยเฉพาะตัวแบบเครือข่ายประสาทความจำระยะสั้นแบบยาว ที่มีการบูรณาการเฟรมเวิร์คต่าง ๆ เช่น เครื่องมือมีเดียไปป์ เทนเซอร์โฟลว์ โดยมีเป้าหมายที่จะปรับปรุงความแม่นยำผ่านการฝึกฝนแบบวนซ้ำและป้องกันการโอเวอร์ฟิตติ้งโดยการจัดการกระบวนการฝึกฝนอย่างรอบคอบ ในตอนท้ายของงานนี้มีการนำเสนอการประเมินคุณภาพของตัวแบบการเรียนรู้ของเครื่องจักรที่แสดงให้เห็นค่าเฉลี่ยผลการทดสอบความถูกต้องแม่นยำของตัวแบบการเรียนรู้ของเครื่องจักรในแต่ละตัวอักษรไทยทั้ง 42 ตัวในงานนี้ได้ผลลัพธ์ในเกณฑ์ดีมาก (0.98)</p> Pumin Suksuwan, Chayut Saeeng, Nopnob Hongsuwan, Boonchoo Jitnupong Copyright (c) 2024 SCIENCE AND TECHNOLOGY NAKHON SAWAN RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSTNSRU/article/view/252503 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีอิทธิพลต่อราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSTNSRU/article/view/253379 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีอิทธิพลต่อราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 2) สร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีอิทธิพลต่อราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตัวแปรทางด้านเศรษฐกิจที่ใช้ในศึกษามีทั้งหมด 12 ตัวแปร ใช้ข้อมูลเป็นรายเดือนตั้งแต่เดือนมกราคม 2561 ถึงเดือนธันวาคม 2566 จำนวน 72 เดือน ใช้สถิติการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis : FA) และวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณด้วยการเลือกตัวแปรอิสระแบบขั้นตอน (The Stepwise Regression Procedure) จากการศึกษาพบว่าตัวแปรทั้ง 12 ตัวแปร มีตัวแปรที่ไม่สามารถนำมาวิเคราะห์องค์ประกอบจำนวน 6 ตัวแปร นำตัวแปรที่เหลือ 6 ตัวแปร มาวิเคราะห์องค์ประกอบ ผลการวิเคราะห์ใช้การหมุนด้วยวิธี Varimax สามารถจำแนกตัวแปรได้ 1 องค์ประกอบ สามารถอธิบายความผันแปรของตัวแปรอิสระทั้ง 6 ตัวแปรได้ร้อยละ 84.25 หลังจากนั้นนำตัวแปรอิสระที่ไม่ได้วิเคราะห์องค์ประกอบจำนวน 6 ตัวแปรและตัวแปรที่ได้จากการวิเคราะห์ปัจจัย 1 ตัวแปร รวมทั้งสิ้น 7 ตัวแปร ได้แก่ การส่งออกสินค้าเกษตรกรรม (X<sub>4</sub>) พื้นที่เพาะปลูก (X<sub>8</sub>) ปริมาณปุ๋ยที่ใช้ (X<sub>9</sub>) ปริมาณการส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (X<sub>10</sub>) อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์ (X<sub>11</sub>) ราคาปุ๋ย (X<sub>12</sub>) และการขนส่งสินค้า (F<sub>1</sub>) มาวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณด้วยการเลือกตัวแปรอิสระแบบขั้นตอน และสร้างสมการพยากรณ์ระหว่างราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับปัจจัยทางเศรษฐกิจ ได้ดังนี้ </p> <p>สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ</p> <p>Y' = 5.645+ 0.625X<sub>12</sub> – 0.207X<sub>10</sub> + 0.243X<sub>4</sub></p> <p>สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน</p> <p>Z'<sub>Y</sub> = 0.787Z<sub>12</sub> – 0.161Z<sub>10</sub> + 0.197Z<sub>4</sub></p> <p>จากสมการพบว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีอิทธิพลต่อราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ ราคาปุ๋ย ปริมาณการส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และการส่งออกสินค้าเกษตรกรรม</p> Patrinee Khongchoo Copyright (c) 2024 SCIENCE AND TECHNOLOGY NAKHON SAWAN RAJABHAT UNIVERSITY JOURNAL http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSTNSRU/article/view/253379 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700