@article{รักษาศิลป์_นำพูลสุขสันต์_แสนสุข_แสนสุข_2020, title={ความหลากหลายและการใช้ประโยชน์พื้นบ้านพืชวงศ์ขิงในอำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม}, volume={1}, url={https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/ScienceRERU/article/view/241765}, abstractNote={<p>ศึกษาความหลากหลายและการใช้ประโยชน์พื้นบ้านพืชวงศ์ขิงในอำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม โดยศึกษาระหว่าง เดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2561 พบพืชวงศ์ขิงจำนวน 14 ชนิด ได้แก่ ว่านมหาเสน่ห์ (Alpinia mutica Roxb.) ข่าบ้าน (A. galanga L.) ข่าตาแดง (A. siamensis K. Schum.) กระชาย (Boesenbergia rotunda (L.) Mansf.) กระเจียวแดง (Curcuma angustifolia Roxb.) ขมิ้น (C. longa L.) กระเจียวขาว (C. singularis Gagnep.) ว่านดอกทอง (Elettariopsis wandokthong Picheans & Yupparach) ดาหลา (Etlingera elatior (Jack) R. M. Sm) ดอกเข้าพรรษา (Globba schomburgii C. H. Wright) มหาหงส์ (Hedychium coronarium J. Koenig) ขิง (Zingiber officinale Roscoe) ไพล (Z. montanum (Koenig) Link ex Dietr.) และอีทือ (Z. Zerumbet (L.) Sm.) รายงานการใช้ประโยชน์พืชวงศ์ขิง 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการประกอบอาหารและเครื่องเทศ (ร้อยละ 49.25) ยารักษาโรค (ร้อยละ 25.44) ไม้ประดับ (ร้อยละ 9.02) สีย้อมผ้า (ร้อยละ 4.89) การประกอบพิธีกรรม (ร้อยละ 7.89) และพืชเศรษฐกิจ (ร้อยละ 4.14) ส่วนของพืชที่นำมาใช้ประโยชน์ ได้แก่ เหง้า (ร้อยละ 40) ลำต้นเหนือดิน (ร้อยละ 20) ช่อดอก (ร้อยละ 20) ราก (ร้อยละ 10) และทั้งต้น (ร้อยละ 10)</p>}, number={1}, journal={วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี }, author={รักษาศิลป์ อารีรัตน์ and นำพูลสุขสันต์ วิไลจิตร and แสนสุข สุรพล and แสนสุข ปิยะพร}, year={2020}, month={มิ.ย.}, pages={31–35} }