TY - JOUR AU - ภูสีฤทธิ์, อรอนงค์ AU - จำเริญพัฒน์, ธีระพันธ์ AU - กุมารสิทธิ์, เนตรนภา AU - ระดาไสย, เรณุกา AU - สังข์บัวดง, สิริรัตน์ PY - 2020/06/01 Y2 - 2024/03/29 TI - สารประกอบฟีนอลิกและความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดสมุนไพรไทย บางชนิด JF - วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี JA - ScienceRERU VL - 1 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/ScienceRERU/article/view/241767 SP - 44-51 AB - <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สารประกอบฟีนอลิก และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ พืชสมุนไพรไทย 3 ชนิด ได้แก่ หญ้างวงช้าง ผักคราดหัวแหวน และตำลึงทอง โดยวิเคราะห์ปริมาณฟีนอลิกรวม (TPC) ปริมาณ ฟลาโวนอยด์รวม (TFC) วิเคราะห์สารประกอบฟีนอลิกและสารประกอบฟลาโวนอยด์โดยวิธี High performance liquid chromatography (HPLC) ศึกษากิจกรรมต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH radical scavenging และ ferric reducing/antioxidant power (FRAP) พบว่า สารสกัดจากสมุนไพรหญ้างวงช้างมีปริมาณฟลาโวนอยด์รวมสูงที่สุด เท่ากับ 1467.11 μg RTE/g ปริมาณฟีนอลิกรวม พบมากที่สุดในสารสกัดจากตำลึงทองมีค่าเท่ากับ 540.48 μg GAE/g การวิเคราะห์ปริมาณกรดฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์ด้วยเครื่อง High performance liquid chromatography (HPLC) พบว่า สารประกอบฟลาโวนอยด์ที่พบมาก ได้แก่ apigenin, quercetin, kaempferol, myricetin และ rutin สารประกอบฟีนอลิกที่พบมากได้แก่ ferulic acid, cafferic acid และ sinapicnic acid ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระวิเคราะห์ด้วยวิธี DPPH อยู่ในระหว่าง 9.16-9.32 mg Trolox/g (p&gt;0.05) และความสามารถ ในการต้านอนุมูลอิสระวิเคราะห์ด้วยวิธี FRAP พบว่า หญ้างวงช้าง มีค่าสูงที่สุดเท่ากับ 106.63 mmol FeSO<sub>4</sub>/g จากการศึกษาครั้งนี้ ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ของสมุนไพรท้องถิ่นที่เป็นแหล่งของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ และมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ เพื่อใช้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพต่อไป</p> ER -