https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/ScienceRERU/issue/feed วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2024-06-14T22:14:47+07:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พูนสุข จันทศิลป์ science101@reru.ac.th Open Journal Systems <p>วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รับตีพิมพ์บทความ ในสาขาวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ชีวเคมี จุลชีววิทยา เทคโนโลยีชีวภาพ เกษตรศาสตร์ วิทยาศาสตร์การอาหาร วิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี (ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์) และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/ScienceRERU/article/view/253223 การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการจำแนกประเภทข้อมูลความเสี่ยงการเป็นโรคไต 2024-04-08T17:14:19+07:00 นิพาดา ธงสันเทียะ niphada45@gmail.com ก้องเกียรติ สุวรรณการ dmen0472@gmail.com ธีระศักดิ์ ยอดดี 64425901007@reru.ac.th ณัฐธิดา บุตรพรม nattida.cs19@gmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนําเทคนิคการทำเหมืองข้อมูลแบบการจําแนกประเภทข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในการทํานายความเสี่ยงการเป็นโรคไต พร้อมทั้งเปรียบเทียบประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้อัลกอริทึมที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมที่สุด โดยใช้อัลกอริทึม 3 เทคนิค คือ โครงข่ายประสาทเทียม(Multilayer Perceptron) ต้นไม้ตัดสินใจ (Decision Tree) และการเรียนรู้แบบเบย์ (Bayesian Learning) ชุดข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย คือชุดข้อมูลระยะเริ่มต้นของโรคไตเรื้อรัง จากฐานข้อมูล UCI dataset ปี ค.ศ. 2015 มีจำนวนข้อมูล 400 ชุดข้อมูล ปัจจัยสำหรับการวิเคราะห์ 25 ปัจจัย และเปรียบเทียบประสิทธิภาพของแบบจําลองด้วยวิธี 10-Fold Cross Validation โดยเครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ใช้ โปรแกรม Weka ผลวิจัยพบว่าชุดข้อมูลแบบโครงข่ายประสาทเทียมเป็นชุดข้อมูลที่เหมาะสมที่สุด โดยมีค่าความถูกต้อง 98.75% ค่าความแม่นยำ 98.80% ค่าความระลึก 98.80% และค่าความถ่วงดุล 99.90%</p> 2024-05-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/ScienceRERU/article/view/253949 การศึกษาเปรียบเทียบและการตรวจสอบการทำงานร่วมกันของโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 5G และ 4G: กรณีศึกษาโรงพยาบาลราชวิถี 2024-05-19T13:30:48+07:00 เทอดพงษ์ แดงสี therdpong.d@rmutp.ac.th ภัคศิษฐ์ ศรีอมรตระกูล pakkasit-s@rmutp.ac.th ธนะกิจ วัฒกีกำธร thanakit.w@rmutp.ac.th กฤษฏิ์พนธ์ พรรณรัตนชัย kritphon.ai@pcru.ac.th พิสิฐ พรพงศ์เตชวาณิช phisit.kha@rmutr.ac.th สุรชัย ฉัตรเฉลิมพันธุ์ surachai.won@gmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันระหว่างโครงข่าย 5G และโครงข่าย 4G เดิม โดยศึกษาเปรียบเทียบด้วยการใช้ค่าคุณภาพของบริการ (Quality of Service: QoS) จำนวน 3 พารามิเตอร์ ประกอบด้วย ความเร็วในการดาวน์โหลด (Download Speed: DL) ความเร็วในการอัปโหลด (Upload Speed: UL) และค่าเวลาแฝง (Latency) ภายใต้สถานการณ์ที่มีการทำงานร่วมกันระหว่างโครงข่าย 5G และ 4G โดยใช้โทรศัพท์ที่รองรับเทคโนโลยี 5G จำนวน 2 เครื่อง เป็นยี่ห้อและรุ่นเดียวกัน รองรับเทคโนโลยี 4G และ 5G โดยมี Android 13 เป็นระบบปฏิบัติการ ใช้แอปพลิเคชัน Speedtest ทำการวัดสัญญานภายในอาคารศูนย์การแพทย์แห่งหนึ่งของโรงพยาบาลราชวิถี ชั้นที่ 1 ของอาคารมีค่าเฉลี่ย 291.8 Mbps การวัดที่ชั้น 20-24 อยู่ที่ 115.1 Mbps ลดลงร้อยละ 60.5 อนุมานว่าสาเหตุที่ ทำให้ความเร็วดังกล่าวลดลง มีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการทำงานร่วมกันระหว่างโครงข่าย 5G และ 4G ในสัดส่วนที่สูงกว่าปกติ โดยโครงข่ายของผู้ให้บริการรายหนึ่งมีสัดส่วนการให้บริการด้วยโครงข่าย 5G คิดเป็นร้อยละ 67.7 ส่วนผู้ให้บริการอีกราย มีสัดส่วนการให้บริการด้วยโครงข่าย5G คิดเป็นร้อยละ 55.5 ในขณะที่มีสัดส่วนการให้บริการด้วยโครงข่าย 5G ที่ชั้น 1 ของผู้ให้บริการทั้ง 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 98.6 สรุปได้ว่า ในการใช้งานโทรศัพท์หรืออุปกรณ์ 5G นั้น หากเป็นการ ในงานในระดับพื้นราบทั่วไปจะได้รับคุณภาพของบริการ ดาวน์โหลดข้อมูล ที่ดีกว่าการใช้งานบนชั้นสูง ๆ ของอาคาร ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพของบริการ</p> 2024-06-13T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/ScienceRERU/article/view/254528 การหาปัจจัยที่เหมาะสมของเตาอบความร้อนต้นทุนต่ำสำหรับการอบเป็ด โดยวิธีแฟรคชั่นนอลแฟคทอเรียลดีไซน์ 2024-06-14T22:14:47+07:00 โกศล พิทักษ์สัตยาพรต koson.p@pcru.ac.th สุชาติ เขียวนอก suchart.ki@pcru.ac.th ศักดิ์ศิริชัย ศรีสวัสดิ์ seksunsek@pcru.ac.th กฤษฏิ์พนธ์ พรรณรัตนชัย kritphon.ai@pcru.ac.th <p>งานวิจัยนี้เป็นการออกแบบการทดลองเตาอบความร้อนต้นทุนต่ำสำหรับการอบเป็ด โดยการวางแผนการทดลองแบบแฟรคชั่นนอล แฟคทอเรียล ดีไซน์ โดยใช้ปัจจัยอุณหภูมิและเวลาในการอบ เพื่อเป็นต้นแบบให้กับผู้ประกอบการด้านอาหารรายย่อยที่ต้องการใช้เพื่อประกอบอาหารเป็ดย่าง จากการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของเตาอบ พบว่าเตาอบสามารถตั้งค่าอุณหภูมิและเวลาในการอบได้ ทดสอบด้วยการตั้งค่าอุณหภูมิไว้ที่ 110, 150, 210 และ 250 °C เป็นเวลาที่ 15, 20, 25 และ 30 นาที ตามลำดับ พบว่ามีการแกว่งของอุณหภูมิจากค่าที่ตั้งไว้มากกว่าค่าที่ตั้งไว้สูงสุด +7 °C น้อยกว่า ค่าที่ตั้งไว้ต่ำสุด -5 °C และได้ทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัสของเป็ดอบต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็ดอบด้วยวิธี 9– point–Hedonic scale ชนิด 9 ระดับ ใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารทดสอบจำนวน 7 คน พบว่าคุณภาพทางประสาทสัมผัสของเป็ดอบสูงสุดอยู่ที่ 8.11 อุณหภูมิอบช่วงที่ 1 ให้มีค่าระดับต่ำคือ 110 ºC เวลาอบช่วงที่ 1 ให้มีค่าระดับสูงคือ 60 นาที อุณหภูมิอบช่วงที่ 2 ให้มีค่าระดับต่ำคือ 210 ºC และเวลาอบช่วงที่ 2 มีค่าที่ระดับต่ำคือ 45 นาที</p> 2024-06-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/ScienceRERU/article/view/253301 การคัดเลือก Bacillus sp.ที่เป็นแบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช 2024-05-02T22:18:52+07:00 เปรมสุดา สมาน premsuda@tistr.or.th <p>ทำการแยกแบคทีเรียจากตัวอย่างดินในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยสามารถแยกเชื้อแบคทีเรียได้ทั้งหมด 260 ไอโซเลต เป็นแบคทีเรียที่สร้างสปอร์ 30 ไอโซเลต หลังจากนั้นนำแบคทีเรียที่สร้างสปอร์มาทดสอบการย่อยสลายเม็ดเลือดแดงเพื่อประเมินความปลอดภัยเบื้องต้น และนำไปทดสอบคุณสมบัติที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช เช่น การย่อยสลายฟอสเฟต การยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในพืช ได้แก่ <em>E. carotovora</em>, <em>R. solanacearum</em>, <em>X. axonopodis </em>pv<em>. citri</em> และ <em>X. oryzae</em> pv. <em>oryzae</em> และการสร้างฮอร์โมนพืช เช่น ออกซินและจิบเบอเรอลิน จากผลการทดลองพบว่า แบคทีเรียแต่ละไอโซเลตแสดงความสามารถที่แตกต่างกันในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช จึงได้ คัดเลือกไอโซเลตที่มีคุณสมบัติที่ดีไปจัดจำแนกชนิดและสายพันธุ์ด้วยการหาลำดับเบสของชิ้นส่วน 16S rDNA โดยสามารถจัดจำแนกแบคทีเรียที่คัดเลือกได้ 9 ไอโซเลต ได้แก่ A8, A21, Bb_4.2, Bc_2.1, Bc_6.1, BS2_1.2, BC2_3.2, BZ2_5.1 และ BB2_4.3 เป็นแบคทีเรีย <em>B. zanthoxyli, B. velezensis, B. tequilensis, B. infantis, B. infantis, B. licheniformis, B. wiedmannii, B. altitudinis </em>และ <em>B. aryabhattai </em>ตามลำดับ</p> 2024-06-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด