วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/ScienceRERU <p>วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รับตีพิมพ์บทความ ในสาขาวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ชีวเคมี จุลชีววิทยา เทคโนโลยีชีวภาพ เกษตรศาสตร์ วิทยาศาสตร์การอาหาร วิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี (ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์) และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด th-TH วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2730-2849 <div class="item copyright"> <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p> </div> ฤทธิ์สารสกัดดอกและใบกรุงเขมาต่อการฆ่าและยังยั้งการกินของเพลี้ยอ่อน https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/ScienceRERU/article/view/252429 <p>เพลี้ยอ่อนดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนของพืช ทำให้ใบเป็นสีเหลืองและร่วงหล่น และขับมูลหวานปกคลุมบนใบพืชเป็นสาเหตุของโรคราดำ ส่งผลต่อกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช การเข้าทำลายในปริมาณมากส่งผลให้ผลผลิตลดลง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์สารสกัดดอกและใบกรุงเขมา <em>Cissampelos pareira</em> L. ต่อการฆ่าและสารยับยั้งการกินเพลี้ยอ่อน โดยทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากกรุงเขมาที่สกัดด้วยเอทานอลในการเป็นสารฆ่าและสารยับยั้งการกินของเพลี้ยอ่อนถั่ว <em>Aphis craccivora </em>Koch. ที่ระดับความเข้มข้น 0.5, 1, 1.5 และ 2 เปอร์เซ็นต์ (w/v) เปรียบเทียบกับสารอิมิดาคลอพริดและตัวควบคุม ในสภาพห้องปฏิบัติการและกรงทดสอบ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (completely randomized design; CRD) ความเข้มข้นละ 20 ซ้ำ ผลการทดลองพบว่า สารสกัดกรุงเขมามีประสิทธิภาพฆ่าเพลี้ยอ่อนได้ แต่ประสิทธิภาพต่ำกว่าสารอิมิดาคลอพริด การทดสอบการยับยั้งการกินพบว่า สารสกัดกรุงเขมาทำให้การเข้าทำลายและระยะเวลาในการดูดกินบนใบครามของเพลี้ยอ่อนลดลง โดยความเข้มข้นของสารสกัดกรุงเขมาเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้ระยะเวลาในการดูดกินพืชของเพลี้ยอ่อนลดลง</p> อโนทัย วิงสระน้อย จารุวรรณ ดรเถื่อน Copyright (c) 2024 คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-12 2024-03-12 5 1 1 11 การใช้วัสดุเหลือใช้จากพืชวงศ์กัญชาเป็นทางเลือกในการควบคุมลูกน้ำยุงลายบ้าน https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/ScienceRERU/article/view/253305 <p>ยุงลายบ้านเป็นยุงพาหะหลักที่นำโรคไข้เลือดออกซึ่งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศไทย ตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบันนั้นได้พยายามมีการประยุกต์ใช้สารเคมีจากสารสกัดจากพืชมาเป็นทางเลือกในการควบคุมยุงพาหะ ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดหยาบจากวัสดุเหลือใช้จากพืชวงศ์กัญชาที่สกัดด้วยเฮกเซน และเมทานอล ต่อลูกน้ำยุงลายบ้านในวัยที่ 3-4 ด้วยการเตรียมสารที่ความเข้มข้นแตกต่างกัน (0, 125, 250, 500 และ 1,000 มิลลิกรัม/ลิตร) และอัตราการตายที่ 24 ชั่วโมง พบว่า สารสกัดจากวัสดุเหลือใช้จากพืชวงศ์กัญชาที่สกัดด้วยเฮกเซน มีอัตราการตายสูงถึง 98.00% และมีค่า LC<sub>50</sub> ต่อลูกน้ำยุงลายบ้าน ที่ 24 ชั่วโมงภายหลังการทดสอบ เท่ากับ 13.120 มิลลิกรัม/ลิตร ในขณะที่อัตราการตายของลูกน้ำยุงลายบ้านจากสารสกัดด้วยเมทานอลมีค่าเท่ากับ 88.00% และมีค่า LC<sub>50</sub> เท่ากับ 67.059 มิลลิกรัม/ลิตร ทั้งนี้พบว่า สารสกัดที่สกัดด้วยตัวทำลายทั้งสองสารให้ผลการตายของลูกน้ำยุงลายบ้านที่ไม่แตกต่างกัน (<em>p</em> ≥ 0.05) โดยสารสกัดจากวัสดุเหลือใช้จากพืชวงศ์กัญชาในครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการป้องกันควบคุมลูกน้ำยุงลายบ้านรวมทั้งแมลงอื่น ๆ ที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขในพื้นที่เสี่ยงต่อไปได้&nbsp;&nbsp;</p> ศศิกานต์ จันทะคุณ กีรติ ตันเรือน วิษณุ ธงไชย ยุทธศักดิ์ แช่มมุ่ย พิสิษฐ์ พูลประเสริฐ Copyright (c) 2024 คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-25 2024-03-25 5 1 12 21 ผลของการทำแห้งด้วยอุณหภูมิที่แตกต่างกันต่อสารประกอบฟีนอลิกและความสามารถ ในการต้านอนุมูลอิสระของมะก่อ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/ScienceRERU/article/view/252924 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการทำแห้งด้วยอุณหภูมิที่แตกต่างกันต่อการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ และสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของมะก่อ (<em>Lithocarpus ceriferus</em>) โดยตัวอย่างมะก่อทำแห้งด้วยวิธีอบลมร้อนที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส (ºC) และ 80 ºC พบว่า ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด (Total phenolic content) อยู่ในช่วง 24.62-42.38 mg GAE/g db และปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมด (Total flavonoid content) อยู่ในช่วง 0.89-1.16 mg RE/g db การศึกษาผลของการทำแห้งมะก่อที่แตกต่างกัน พบว่า มีชนิดและปริมาณกรดฟีนอลิค จำนวน 11 ชนิด ได้แก่ gallic acid, protocatechuic acid, p-hydroxybenzoic acid, vanillic acid, chlorogenic acid, caffeic acid, syringic acid,p-coumaric acid, ferulic acid sinapic acid และ gentisic acid ตามลำดับ และมีค่าปริมาณกรดฟีนอลิครวม เท่ากับ 1,115.47 µg/g db ผลการวิเคราะห์ชนิดและปริมาณของสารประกอบฟลาโวนอยด์ พบว่ามีชนิดและปริมาณฟลาโวนอยด์ 4 ชนิด ได้แก่ rutin, myricetin, quercetin และ apigenin ตามลำดับ มีค่าฟลาโวนอยด์รวม เท่ากับ 367.48 µg/g db อย่างไรก็ตาม ไม่พบ kaempferol ในตัวอย่างที่ทำการศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ พบว่า มีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี FRAP อยู่ในช่วง 18.20- 27.81 µmol FeSO<sub>4</sub>/g db และฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระด้วย วิธี DPPH radical scavenging activity อยู่ในช่วง 7.30- 9.03 mg Trolox/g db ตามลำดับ การอบแห้งที่อุณหภูมิที่แตกต่างกันมีผลต่อปริมาณองค์ประกอบทางเคมีที่แตกต่างกัน โดยการใช้อุณหภูมิสูงในการทำแห้งส่งผลต่อปริมาณสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ และกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระในผลิตภัณฑ์มะก่อ </p> ธีระพันธ์ จำเริญพัฒน์ ชุลีพร บุ้งทอง อรอนงค์ ภูสีฤทธิ์ Copyright (c) 2024 คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-16 2024-04-16 5 1 22 27 การคัดเลือกสารพรีไบโอติกที่มีประสิทธิภาพเป็นสารเสริมในอาหารโค https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/ScienceRERU/article/view/253117 <p>งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อที่จะคัดเลือกสารพรีไบโอติกที่มีประสิทธิภาพที่สามารถช่วยส่งเสริมการเจริญของจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่มีประโยชน์ โดยทดสอบกับสารคาร์โบไฮเดรต 3 ชนิด ได้แก่ isomalto-oligosaccharides (IMO) fructo-oligosaccharides (FOS) และ Trehalose วิธีทดสอบจะใช้กระบวนการหมักสารทั้ง 3 ชนิด ด้วยเชื้อโพรไบโอติกที่คัดแยกได้จากมูลโคจำนวน 3 สายพันธุ์ ได้แก่ <em>Lactobacillus farciminis</em>, <em>L. acidophilus </em>และ <em>Pediococcus pentosaceus</em> และใช้กระบวนการหมักที่มีน้ำตาล glucose และ <em>E</em><em>.</em><em>coli</em> เป็นกลุ่มเปรียบเทียบ ตรวจติดตามการเจริญของจุลินทรีย์ทุก ๆ 6 ชั่วโมง เป็นเวลา 48 ชั่วโมง นำค่าการเจริญของจุลินทรีย์แต่ละชนิดที่ได้มาคำนวณหาค่ากิจกรรม พรีไบโอติกของสารทดสอบ จากผลการทดลองพบว่าสารทดสอบแต่ละชนิดเมื่อทดสอบด้วยเชื้อแบคทีเรียที่แตกต่างกันก็จะให้ค่ากิจกรรมพรีไบโอติกที่แตกต่างกันในช่วงเวลาต่าง ๆ โดยสารทดสอบ ที่ให้ค่ากิจกรรมพรีไบโอติกที่ดีที่สุดคือ IMO รองลงมาคือ Trehalose และ FOS ตามลำดับ เนื่องจาก IMO สามารถช่วยส่งเสริมการเจริญของ <em>L. farciminis</em>, <em>L.acidophilus </em>และ <em>P. pentosaceus</em> ได้ดี จึงเป็นสารพรีไบโอติกที่มีประสิทธิภาพสามารถใช้เป็นสารเสริมในอาหารโคได้</p> เปรมสุดา สมาน Copyright (c) 2024 คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-16 2024-04-16 5 1 28 36 ผลของสภาวะขาดน้ำต่อปริมาณน้ำสัมพัทธ์ ค่าดัชนีความเขียวใบ และการเจริญเติบโตของข้าวระยะการเจริญเติบโตทางลำต้น https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/ScienceRERU/article/view/253076 <p> ศึกษาค่าปริมาณน้ำสัมพัทธ์ ค่าดัชนีความเขียวใบ (SPAD) และการเจริญเติบโตของข้าวจำนวน 3 พันธุ์ ได้แก่ มะลิแดง เขี้ยวงูและพันธุ์มาตรฐานทนแล้ง คือ DH103 ปลูกในกระถางจนกระทั่งอายุ 40 วัน แบ่งการทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มควบคุมที่ได้รับน้ำปกติ 2) กลุ่มที่ได้รับสภาวะเครียดแล้งจากการงดให้น้ำ เป็นเวลา 15 วัน เมื่อได้รับสภาวะเครียดแล้ง ปริมาณน้ำสัมพัทธ์ ค่าดัชนีความเขียวใบ และการเจริญเติบโตลดลงในทุกสายพันธุ์ โดยข้าวพันธุ์มะลิแดงและ DH103 มีความสามารถในการรักษาปริมาณน้ำภายในเซลล์ดีกว่าพันธุ์เขี้ยวงูโดยมีค่าปริมาณน้ำสัมพัทธ์สูงซึ่งบ่งชี้ถึงความสามารถปรับตัวได้ดีในสภาวะแล้ง นอกจากนี้มะลิแดง มีค่าคะแนนการม้วนใบต่ำ และการเจริญเติบโตดีกว่าพันธุ์เขี้ยวงู</p> ปัญญา มาดี เจนจิรา ทิพย์ทำมา นธภร ไชยธรรม จรัญญา กุลยะ Copyright (c) 2024 คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-19 2024-04-19 5 1 37 48