วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/ScienceRERU <p>วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รับตีพิมพ์บทความ ในสาขาวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ชีวเคมี จุลชีววิทยา เทคโนโลยีชีวภาพ เกษตรศาสตร์ วิทยาศาสตร์การอาหาร วิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี (ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์) และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> th-TH <div class="item copyright"> <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p> </div> science101@reru.ac.th (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พูนสุข จันทศิลป์) surachai_med@hotmail.com (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรชัย รัตนสุข) Wed, 04 Sep 2024 16:15:48 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนาผลิตภัณฑ์สังขยาใบเตยเพื่อสุขภาพ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/ScienceRERU/article/view/254693 <p>การพัฒนาสังขยาใบเตยเพื่อสุขภาพโดยการแทนที่ด้วยกะทิธัญพืชสูตรที่ได้รับยอมรับทางประสาทสัมผัสจากกลุ่มตัวอย่างสูงสุดคือสูตรที่ 3 โดยมีส่วนผสมประกอบด้วย กะทิธัญพืช 20 มิลลิลิตร กะทิสด 20 มิลลิลิตร ไข่ไก่ 14 กรัม น้ำใบเตย 24 มิลลิลิตร น้ำตาล 18 กรัม และแป้งข้าวโพด 4 กรัม จะทำให้ได้สังขยาสีเขียวแกมเหลือง โดยมาจากสีของน้ำใบเตยและน้ำมันรำข้าวที่เป็นส่วนประกอบของกะทิธัญพืช และมีค่าความเป็นกรด-เบส อยู่ในช่วง 6-9 ซึ่งจะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่เก็บรักษา ทั้งนี้ควรเก็บไว้ในตู้เย็นไม่เกิน 7 วัน ความหนืดและปริมาณน้ำอิสระส่งผลต่อการคงตัวของสังขยา การศึกษาคุณภาพทางจุลินทรีย์พบว่ามีปริมาณจุลินทรีย์รวมน้อยกว่า 1x10<sup>6</sup> CFU/g และพบเชื้อ <em>Escherichia coli </em>น้อยกว่า 3 MPN/g ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้ก่อนโรค ด้านคุณค่าทางโภชนาการพบว่า ให้ค่าพลังงาน 239.63 กิโลแคลอรี่ มีวิตามินอี และโพแทสเซียมสูงกว่าสูตรควบคุม นอกจากนี้ยังพบว่ามีปริมาณไขมันอิ่มตัวต่ำกว่าสูตรควบคุมซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพของผู้บริโภคในการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคระบบหัวใจและหลอดเลือดได้</p> ลัดดาวัลย์ กงพลี, ปัทมาภรณ์ เจริญนนท์ Copyright (c) 2024 คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/ScienceRERU/article/view/254693 Wed, 04 Sep 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการไม่พึงประสงค์จากการรับสัมผัสความร้อน ของพนักงานอุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์แห่งหนึ่ง https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/ScienceRERU/article/view/254843 <p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่ออาการไม่พึงประสงค์จากความร้อนของพนักงานที่รับสัมผัสความร้อนโรงงานผลิตยางรถยนต์แห่ง จำนวน 146 คนดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลของอาสาสมัครโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการไม่พึงประสงค์จากความร้อนโดยใช้การทดสอบไคสแควร์ <br />ผลการศึกษา พบว่า พนักงานอุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 79.45 อายุเฉลี่ย 34.36 ปี มีประสบการณ์ทำงานเฉลี่ย 5.01 ปี ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 57.31 ความรู้เรื่องความปลอดภัยในการทำงานระดับน้อย ร้อยละ 54.11 ผลการศึกษาความสัมพันธ์ พบว่า เพศ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประสบการณ์ทำงาน และความรู้เรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับความร้อนมีความสัมพันธ์กับอาการไม่พึงประสงค์จากความร้อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) ดังนั้น สถานประกอบกิจการควรมีการอบรมให้ความรู้กับพนักงานในเรื่องของการทำงานกับความร้อนและการป้องกันตนเองจากการรับสัมผัสความร้อน การกำหนดกฎระเบียบข้อบังคับห้ามดื่มแอลกอฮอล์ในขณะปฏิบัติงาน และควรมีการกำกับให้พนักงานปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด ตลอดจนการจัดให้มีระยะเวลาพักในระหว่างการปฏิบัติงาน</p> ชลลดา พละราช, อรวรรณ ชำนาญพุดซา, จิราพร แจ้งสนอง, เบญจมาศ มีทวี Copyright (c) 2024 คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/ScienceRERU/article/view/254843 Thu, 05 Sep 2024 00:00:00 +0700 ประสิทธิภาพของสารกลุ่มฟลาโวนอยด์จากต้นสักขีต่อการต้านเชื้อ Escherichia coli TISTR 527 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/ScienceRERU/article/view/254405 <p>การแยกสารสำคัญจากส่วนสกัดหยาบเมทานอลของลำต้นสักขี ด้วยเทคนิคทางโครมาโทกราฟี ได้สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ที่มีการรายงานโครงสร้างแล้ว จำนวน 4 สาร ได้แก่ pinocembrin<strong> (</strong><strong>I), </strong>naringenin<strong> (II), </strong>biochanin A<strong> (III), </strong>และ sativanone<strong> (IV)</strong> และวิเคราะห์โครงสร้างทางเคมีของสารทั้งหมดด้วยเทคนิคทางสเปกโทรสโกปี IR, <sup>1</sup>H และ <sup>13</sup>C NMR นำสารบริสุทธิ์ทั้งหมดที่แยกได้มาศึกษาฤทธิ์การต้านเชื้อแบคทีเรียต่อเชื้อ <em>Escherichia coli </em>TISTR 527 ด้วย broth dilution assay และหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ (MIC) และฆ่าเชื้อ (MBC) ผลการศึกษาพบว่า pinocembrin<strong> (</strong><strong>I)</strong> สามารถต้านเชื้อได้ดีที่สุด มีค่า MIC และ MBC เท่ากับ 17.19 และ 137.5 <em>µ</em>g/mL ตามลำดับ</p> <p><strong> </strong></p> อุไรวรรณ ศรีพนา , อภิญญา รัตนางาม , สุภาวดี อัญญโพธิ์ , ปริ่มมาลา ขำคมเขตต์ , ปิยะนุช ภูทองขาว Copyright (c) 2024 คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/ScienceRERU/article/view/254405 Thu, 05 Sep 2024 00:00:00 +0700