วารสารวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีการควบคุมอัตโนมัติ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/featkku <h4 style="text-align: left;"><strong><img src="/public/site/images/featkkuadmin/ปก1.png" width="699" height="409"><br></strong></h4> กลุ่มวิจัยวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีการควบคุมอัตโนมัติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (Farm Engineering and Automation Technology Research Group, Khon Kaen Univeristy) th-TH วารสารวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีการควบคุมอัตโนมัติ 2408-0985 <p>วารสารวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีควบคุมอัตโนมัติ (FEAT Journal) มีกําหนดออกเป็นราย 6 เดือน คือ มกราคม - มิถุนายน และกรกฎาคม - ธันวาคม ของทุกปี จัดพิมพ์โดยกลุ่มวิจัยวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีควบคุมอัตโนมัติ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ ผลงานทางวิชาการ งานวิจัยทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีพร้อมทั้งยังจัดส่ง เผยแพร่ตามสถาบันการศึกษาต่างๆ ในประเทศด้วย บทความที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร FEAT ทุกบทความนั้นจะต้องผ่านความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องและสงวนสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2535</p> การออกแบบและพัฒนาต้นแบบยานยนต์อเนกประสงค์ไฟฟ้า https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/featkku/article/view/230185 <p>การวิจัยนี้เป็นการออกแบบและสร้างยานพาหนะไฟฟ้า วัตถุประสงค์ของการออกแบบคือโครงสร้างที่มีมาตรฐานความปลอดภัย น้ำหนักเบา และชุดต้นกำลังขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า จากการออกแบบและสร้างทำให้ได้รถไฟฟ้าที่มีโครงสร้างแบบท่อโครงถัก (tube space frame chassis) มีค่าความปลอดภัย (F.O.S) เท่ากับ 5.44 โดยใช้ชุดต้นกำลังเป็นมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง 60 โวลต์ขนาด 3 แรงม้า และแหล่งป้อนกระแสไฟใช้แบตเตอรี่ขนาด 12 โวลต์ 60 แอมแปร์-ชั่วโมง 5 ลูก ต่อแบบอนุกรม ผลการทดสอบสมรรถนะใช้งาน สามารถวิ่งได้ระยะทาง 45 km ความเร็วสูงสุด 36 km/h รับน้ำหนักบรรทุกได้ 600 kg และขึ้นเนินได้ 30 องศา ระยะเวลาในการชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ 7 ชั่วโมง สามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายตามความต้องการของชุมชนหรือหน่วยงานที่ต้องการระบบขนส่งสาธารณะขนาดเล็ก</p> วิรุณ โมนะตระกูล ชลดา ยอดยิ่ง สมสุข ไตรศุภกิตติ ติณห์ บุญมี จอมทรัพย์ วรนาวิน กันตพงษ์ แข้โส Copyright (c) 2023 วารสารวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีการควบคุมอัตโนมัติ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-22 2023-12-22 9 2 87 102 การศึกษาวิธีการกำหนดเงื่อนไขขอบเขตสำหรับการทดสอบเสถียรภาพ ของยานยนต์บนพื้นเอียงด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอเลเมนต์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/featkku/article/view/244182 <p>เสถียรภาพบนพื้นเอียงหรือความสามารถในการทรงตัวบนพื้นเอียงของโครงสร้างยานยนต์ เป็นองค์ประกอบสำคัญของความปลอดภัย โดยเฉพาะรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร และรถบรรทุกใช้งานเกษตรกรรม (รย.15) วิธีการทดสอบเสถียรภาพบนพื้นเอียงสามารถกระทำได้โดยการนำยานยนต์จริงไปทดสอบที่เครื่องทดสอบการทรงตัวบนพื้นเอียง เพื่อเป็นการลดความสูญเปล่าจากการนำยานยนต์จริงไปทดสอบเสถียรภาพบนพื้นเอียงแล้วไม่ผ่านการทดสอบตามเกณฑ์ ระเบียบวิธีไฟไนต์เอเลเมนต์จึงได้ถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยวิเคราะห์ทางวิศวกรรมก่อนทำการผลิตโครงสร้างจริง บทความนี้จึงได้นำเสนอวิธีการในการกำหนดเงื่อนไขขอบเขตสำหรับการวิเคราะห์มุมเอียงที่ทำให้โครงสร้างยานยนต์พลิกคว่ำด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยวิเคราะห์ทางวิศวกรรม โดยวิเคราะห์ภายใต้สมมติฐานภาระกระทำแบบสถิตศาสตร์และสมบัติวัสดุแบบยืดหยุ่นเชิงเส้น ผลการวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยวิเคราะห์ทางวิศวกรรมได้ถูกเปรียบเทียบกับผลการทดสอบเสถียรภาพบนพื้นเอียงของโครงสร้างจริงที่เป็นโครงสร้างอย่างง่าย เมื่อวิเคราะห์ด้วยการกำหนดเงื่อนไขขอบเขตแบบที่ 1 ผลปรากฏว่ามีค่าความคลาดเคลื่อนสูงสุดถึงร้อยละ 63.63 และปรากฏว่ามีค่าความคลาดเคลื่อนสูงสุดเพียงร้อยละ 2.42 เมื่อทำการปรับปรุงวิธีการตั้งค่าเงื่อนไขขอบเขตเป็นแบบที่ 2 คณะผู้วิจัยคาดหวังว่าการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ยานยนต์ในด้านของความปลอดภัยของโครงสร้างและเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตยานยนต์ในด้านของการออกแบบและผลิต</p> จักรี วิชัยระหัด ชยารัก ธานี ติขะกุล ปวีณ เกรียงเกษม Copyright (c) 2023 วารสารวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีการควบคุมอัตโนมัติ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-22 2023-12-22 9 2 103 115 ผลกระทบของอุณหภูมิในน้ำยางที่ส่งผลต่อความแม่นยำในการวัด %DRC ด้วย SPR ที่ความถี่ 1, 1.5, 2.16 GHZ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/featkku/article/view/248555 <p>งานวิจัยนี้นำเสนอผลกระทบของอุณหภูมิในน้ำยางที่ส่งผลต่อกำลังงานไฟฟ้าที่วัดได้ ในการวัดปริมาณยางแห้งในน้ำยาง (%DRC) ด้วยอุปกรณ์รีเฟลกโตมิเตอร์หกพอร์ต (Six-Port Reflectometer ; SPR) ที่ความถี่ 1, 1.5 และ 2.16 GHz โดยในงานวิจัยนี้ใช้ตัวอย่างน้ำยางข้นเจือจางในช่วง 20-60 %DRC และมีอุณหภูมิน้ำยางในช่วง 20-45 °C เพื่อศึกษาผลกระทบจากอุณหภูมิของตัวอย่างน้ำยางที่มีผลต่อค่ากำลังงานไฟฟ้าที่อ่านได้จาก SPR ซึ่งเทคนิคการวัดด้วย SPR ประกอบด้วย แหล่งกำเนิดสัญญาณไมโครเวฟแถบกว้าง วงจรหกพอร์ต วงจรแมทชิ่งอิมพีแดนซ์ปรับค่าได้ และ ไมโครคอนโทรลเลอร์สำหรับอ่านค่าอุณหภูมิ งานวิจัยนี้ใช้ค่าความถี่ 3 ค่า คือ 1,1.5 และ 2.16 GHz จ่ายให้ SPR สำหรับวัดค่า %DRC ของตัวอย่างน้ำยาง เนื่องจากเป็นค่าความถี่ที่สามารถแมทชิ่งอิมพีแดนซ์ได้ ผลการศึกษาสามารถสรุปค่าความเป็นเชิงเส้นระหว่างกำลังงานไฟฟ้าของ SPR กับค่า %DRC และ ผลกระทบจากอุณหภูมิที่มีผลต่อค่ากำลังงานไฟฟ้าของ SPR ได้จากค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R<sup>2</sup>) และค่าสัมประสิทธิ์ของการแปรปรวน (CV(%)) ตามลำดับ จากการทดสอบพบว่า ที่ความถี่ 1 GHz ค่ากำลังงานมีความสัมพันธ์เป็นเชิงเส้นกับค่า %DRC มากที่สุด จึงเหมาะสำหรับการวัดค่า %DRC ได้ใกล้เคียงกับค่า %DRC จริงของน้ำยางมากที่สุด ส่วนผลกระทบจากอุณหภูมิน้ำยางที่ส่งผลต่อค่ากำลังงานที่อ่านได้จาก SPR พบว่าที่ความถี่ 2.16 GHz ให้ค่าสัมประสิทธิ์ของการแปรปรวนของน้ำยางน้อยที่สุด ซึ่งหมายถึงได้รับผลกระทบจากอุณหภูมิของน้ำยางต่ำสุด</p> ศรัณย์ ตันติวิชช์ มิตรชัย จงเชี่ยวชำนาญ สหพงศ์ สมวงค์ Copyright (c) 2023 วารสารวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีการควบคุมอัตโนมัติ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-22 2023-12-22 9 2 116 130 การใช้ IOT อย่างง่ายและราคาถูกเพื่อปรับปรุงการจัดการในโรงเรือนสุกรขุนระบบปิด https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/featkku/article/view/248605 <p>โรงเรือนสุกรขุนระบบปิดที่สามารถเลี้ยงสุกรขุนได้ 600 ตัว ซึ่งประกอบไปด้วย ระบบอาหารและน้ำ ระบบทำความเย็น ระบบไฟกกและระบบเติมส้วมน้ำ พร้อมระบบ IOT ได้ถูกสร้างขึ้น โดยระบบ IOT ใช้การปรับปรุง code จาก open source ใช้บอร์ด ESP 32 ที่มีคุณภาพสูงและเซ็นเซอร์เป็นแบบอุตสาหกรรมเกรด ใช้ Grafana เป็น dashboards ในการแสดงผล เมื่อนำไปเลี้ยงสุกรขุนจริงเป็นเวลา 5 เดือน แล้วทำการทดสอบอัตราการเจริญเติบโต อัตราการแลกน้ำหนัก คุณภาพซากของสุกรขุน และการทำงานของระบบ IOT พบว่า อัตราการเจริญเติบโตสูงสุด 1,053 กรัม/ตัว/วัน อัตราการแลกน้ำหนัก 2.55 คุณภาพซากของสุกรขุน A หรือ AA และระบบ IOT ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง มีราคาต่ำ 20,000 บาท</p> สมควร แววดี อภิชาติ อาจนาเสียว Copyright (c) 2023 วารสารวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีการควบคุมอัตโนมัติ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-22 2023-12-22 9 2 131 142 การศึกษาความเหมาะสมของการอบแห้งสำหรับพืชกัญชง โดยวิธีการพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณภายใต้สภาวะสุญญากาศ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/featkku/article/view/248681 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาสภาวะการอบแห้งที่เหมาะสมของพืชกัญชงโดยใช้พลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ ในเครื่องอบแห้งสุญญากาศ วัสดุและวิธีการของการวิจัยโดยนำวิธีการสุ่มไฮเปอร์คิวบ์แบบลาติน 20 คู่อันดับ มาใช้คำนวณหาค่าความดันในช่วง 10-30 kPa และอุณหภูมิ 40-60 °C จากนั้นนำไปใช้คำนวณหาเส้นทางการไหลของอากาศในห้องอบแห้งเพื่อดูการกระจายตัวของอุณหภูมิในแต่ละชั้นสำหรับพืชกัญชงโดยคุณสมบัติของพืชกัญชงที่ใช้คำนวณมีดังนี้ ความหนาแน่น 611 kg/m<sup>3</sup> ค่าการนำความร้อน 140.8 W/m-K ผลลัพธ์ของความดันและอุณหภูมิที่มีการกระจายตัวของอุณหภูมิในแต่ละชั้นสำหรับพืชกัญชงอย่างสม่ำเสมอ คือ แบบจำลองที่ความดัน 12 kPa และมีอุณหภูมิ 57.4 °C บทสรุปของงานวิจัยนี้ของการใช้พลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ (CFD) สามารถคำนวณการทำงานของระบบเครื่องอบแห้งสุญญากาศได้โดยที่พัดลมหมุนด้วยความเร็วรอบ 158 rpm และความเร็วที่ใช้การดูดอากาศของปั๊มสุญญากาศ 1.61 m/s</p> ชาตรี เป็นตามวา อภิชาติ อาจนาเสียว เกรียงไกร นาบุดดา สมควร แววดี Copyright (c) 2023 วารสารวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีการควบคุมอัตโนมัติ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-22 2023-12-22 9 2 143 152 การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับการทำนายพฤติกรรมการใช้พลังงานไฟฟ้าและการระบายความร้อนจากการทำงาน ของระบบทำความเย็นชนิด 3 สภาวะในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเครื่องดื่ม https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/featkku/article/view/250452 <p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อทำนายพฤติกรรมการใช้พลังงานไฟฟ้าและการระบายความร้อนสู่อากาศแวดล้อมภายนอกจากการทำงานของระบบทำความเย็นชนิด 3 สภาวะ ในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเครื่องดื่ม ประกอบไปด้วยระดับอุณหภูมิ 15, -1 และ -6 องศาเซลเซียส โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาแบบจำลองที่มีความแม่นยำสำหรับการทำนายการใช้พลังงานไฟฟ้าและการระบายความร้อนของระบบ นำไปสู่การวิเคราะห์สภาวะการทำงานที่เหมาะสมของระบบทำความเย็น โดยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ใช้ศึกษาประกอบไปด้วยแบบจำลอง Radial basis function (RBF), Multivariate adaptive regression splines (MARS) และ Kriging จากการศึกษาผลการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับทำนายพฤติกรรมการใช้พลังงานไฟฟ้าและการระบายความร้อนของระบบ แบบจำลองที่มีประสิทธิภาพสูงสุดคือ RBF ที่มีสมการควบคุมเป็น linear splines มีค่า RMSE 2.80% และ 2.77% ตามลำดับ และแบบจำลองที่มีประสิทธิภาพแย่ที่สุดคือ RBF ที่มีสมการควบคุมเป็น cubic splines มีค่า RMSE 41.10% และ 74.17% ตามลำดับ แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่มีความแม่นยำสามารถแทนพฤติกรรมของระบบทำความเย็น ใช้ในการหาค่าเหมาะสมที่สุด เพื่อนำไปสู่การลดการใช้พลังงานไฟฟ้าและเพิ่มประสิทธิภาพการระบายความร้อย ช่วยลดต้นทุนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเครื่องดื่มได้ในอนาคต</p> อัศวิน นามเสริฐ ธนา ราษฎร์ภักดี Copyright (c) 2023 วารสารวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีการควบคุมอัตโนมัติ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-22 2023-12-22 9 2 153 163