การศึกษาระยะเวลาการคงอยู่ของปริมาณเขม่าปืนภายหลังการยิงปืน 9 มม. บนหลังมือและฝ่ามือจำแนกตามช่วงเวลาหลังยิงปืนและลูกกระสุนปืน (Study on Persistence of Gunshort Residue After Shooting From 9 mm Pistol on Back of Hands and Palms with Different Persistent
Keywords:
เขม่าปืน (Gunshot residue), ระยะเวลา (Duration)Abstract
งานวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบปริมาณธาตุองค์ประกอบของเขม่าปืนที่มือภายหลังการยิงปืนที่ช่วงเวลาต่างกัน 2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณธาตุองค์ประกอบของเขม่าปืนกับช่วงเวลาหลังยิงปืน 9 มม. โดยให้กลุ่มตัวอย่างยิงปืนด้วยลูกกระสุน 2 ชนิด ได้แก่ ลูกกระสุนหัวทองแดงหุ้มตะกั่วและลูกกระสุนหัวตะกั่ว และเก็บเขม่าปืนที่หลังมือขวา ฝ่ามือขวา หลังมือซ้าย ฝ่ามือซ้าย ของกลุ่มตัวอย่างหลังยิงปืนที่เวลา 6, 8 และ 10 ชั่วโมง เพื่อวิเคราะห์หาธาตุองค์ประกอบของเขม่าปืน ได้แก่ แอนติโมนี แบเรียม และตะกั่ว ด้วยเครื่อง Inductively coupled plasma (ICP) พบว่า หลังมือขวาและหลังมือซ้ายของกลุ่มตัวอย่างมีค่าแอนติโมนี (Sb) ตั้งแต่ 10 ppb แต่น้อยกว่า 20 ppb แสดงว่าปริมาณของธาตุแอนติโมนี (Sb) ที่มือของกลุ่มตัวอย่างไม่สามารถยืนยันว่ากลุ่มตัวอย่างเกี่ยวข้องกับการยิงปืน 9 มม. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณธาตุองค์ประกอบของเขม่าปืนกับช่วงเวลาหลังยิงปืนด้วย Friedman test พบว่าปริมาณเขม่าปืนมีปริมาณลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่องานทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ต่อไป
This study aimed 1) to compare the elemental composition of the gunshot residue on the hand after shooting at different durations 2) to study the correlation between the elemental components of the gunshot residue and the duration after 9 mm pistol shooting. The gunshot residues were collected from back of the hand and the palm of both hand sides after shooting at 6, 8 and 10 hours. Then, the elemental compositions of gunshot residue including antimony, barium and lead by Inductively coupled plasma (ICP). Interestingly, The quantity of antimony on the back of right and left hands were varied from 10 ppb to less than 20 ppb. Therefore, it is unlikely to use the quantity of antimony to prove that suspects are involved in 9 mm pistol shooting. The relation between the amount of gunshot residue and time after shooting determined by Friedman test revealed that the amount of gunshot residue has statistically reduced with time after shooting (p < 0.05). The results of this study would be helpful for 9 mm pistol forensic investigation.