ประสิทธิภาพการดูดซับสีจากน้ำเสียย้อมไหมโดยใช้เถ้าบิทูมินัสเคลือบเฟอร์ริกคลอไรด์ (Efficiency of Dye Adsorption From Silk Dyeing Wastewater by Ferricchloride Coated With Bituminous Bottom Ash)

Authors

  • กนกวรรณ ศรีม่วง (Kanokwan Srimuang) Graduate School, Khon Kaen University
  • ดร.กาญนิถา ครองธรรมชาติ (Dr.Kannitha Krongthamchat)

Keywords:

การดูดซับ (Adsorption), เถ้าถ่านบิทูมินัส (Bituminous), เฟอร์ริกคลอไรด์ (Ferric chloride)

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับสีจากน้ำเสียย้อมผ้าโดยใช้เถ้าบิทูมินัสเคลือบและไม่เคลือบเฟอร์ริกคลอไรด์ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดูดซับ ได้แก่ พีเอช ปริมาณตัวดูดซับ ระยะเวลาสัมผัส  และศึกษาการดูดซับโดยใช้ถังปฏิกรณ์แบบคอลัมน์ (Fluidized Bed) ใช้น้ำเสียสังเคราะห์สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน ความเข้มข้น 500 มิลลิกรัมต่อลิตรโดยใช้ปริมาณตัวดูดซับ 10 กรัม พบว่าเถ้าบิทูมินัสไม่เคลือบผิวมีประสิทธิภาพดูดซับสีแดงร้อยละ65 ที่พีเอช 6เวลาสัมผัส180 นาที ประสิทธิภาพการดูดซับสีเหลืองและสีน้ำเงินร้อยละ 51.0 และ 33.20 ที่พีเอชเดียวกันคือ 5 เวลาสัมผัส 180 นาที และ 90 นาที ตามลำดับ ส่วนถ่านบิทูมินัสเคลือบผิวมีประสิทธิภาพดูดซับสีแดงและสีเหลืองที่พีเอชเดียวกันคือ 7 มีประสิทธิภาพร้อยละ 97.53 และ 93.23 เวลาสัมผัส 180 นาที และ 90 นาที ตามลำดับ ส่วนการดูดซับสีน้ำเงินมีประสิทธิภาพร้อยละ 68.0 ที่พีเอช 3 เวลาสัมผัส 90 นาที ผลการศึกษารูปแบบไอโซเทอม พบว่าเถ้าบิทูมินัสไม่เคลือบและเคลือบผิวดูดซับสีแดง มีแนวโน้มสอดคล้องรูปแบบสมการฟรุนดลิช สีเหลืองและสีน้ำเงินมีแนวโน้มสอดคล้องรูปแบบสมการแลงเมียร์ ผลการทดลองถังปฏิกรณ์แบบคอลัมน์ที่อัตราการไหล 100 มิลลิลิตรต่อนาที พบจุดเสื่อมสภาพของตัวดูดซับทั้งสี 3 สี ที่ 18, 17, 20 ชั่วโมง และอัตราการไหล150 มิลลิลิตรต่อนาที พบจุดเสื่อมสภาพของตัวดูดซับสีทั้ง 3 สี ที่ 10, 11 และ 13  ชั่วโมง ตามลำดับ

The aim of this research was to study the efficiency of ferric chloride coated with bituminous bottom ash as an adsorbents to adsorb color from silk dye wastewater. The factors of adsorption including pH, volume of adsorbents, contact time  were studied in batch reactors. The color adsorption was studied in the fluidized bed reactor. The reactor was filled with synthetic wastewater which had color content of 500 mg/L. The result showed that uncoated bottom ash had efficiency to reduce red dye around 65 % at pH 6 with the contact time of 180 mins. The noncoated adsorbent had ability to adsorb yellow and blue dyes around 51.0 % and 33.20%, respectively, at pH 5 at the contact time of 180 and 90 mins. The result  also showed that coated bottom ash had efficiency to remove red and yellow dyes around 97.53% and 93.23%, respectively, at pH 7 with the contact time of 180 and 90 mins., respectively. The coated adsorbent had efficiency to red dye 68.0 % at pH 3 with the contact time of  90 mins. The study of  adsorption isotherm showed that coated and noncoated with  bottom ash were responded with  Freundlich and Langmuir models. The result from the column reactors filled with ferric chloride coated with bottom ash that the breakthrough of the adsorbents when adsorbed Three shade color at the flow rate of 100 ml/min were 18, 17, 20 hours, respectively. At the flow rate of 150 ml/min, the breakthrough of adsorbents were 10, 11, and 13 hours, respectively.

Downloads

Additional Files

Published

2017-09-26

Issue

Section

บทความวิจัย