ความชุกของความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยง ต่อการฆ่าตัวตายของประชากร อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก (Suicidal Risk Prevalence and Factors Related to Suicidal Risk Among People in Ban Tak District, Tak Province)

Authors

  • หทัยทิพย์ เจริญศรี (Hathaithip Charoensri) Graduate School, Khon Kaen University
  • ดร.จิราพร เขียวอยู่ (Dr.Jiraporn Khiewyoo)

Keywords:

ความชุก (Prevalence), ความเสี่ยง (Risk), ฆ่าตัวตาย (Suicide)

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกของความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายของประชากรอำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก  ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชากรอายุ  25–59  ปี จำนวน 16,118 คน คำนวณขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรการคำนวณขนาดตัวอย่างสำหรับ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติถดถอยพหุโลจิสติก ของ Hsieh และคณะ ได้ตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 417 คน เลือกตัวอย่างโดยการสุ่มแบบเป็นระบบ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง มีทั้งหมด 5 ส่วน คือ ข้อมูลส่วนบุคคล ปัจจัยด้านชีวภาพ ปัจจัยด้านจิตใจ ปัจจัยด้านสังคม และความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย โดย   แบบสัมภาษณ์ในส่วนปัจจัยด้านชีวภาพ  ปัจจัยด้านจิตใจ และความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย นำมาจากแบบประเมินมาตรฐาน ส่วนปัจจัยด้านสังคม สร้างขึ้นจากการทบทวนแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา จากผู้เชี่ยวชาญ 4 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1 และวิเคราะห์หาความเชื่อมั่นของแบบสัมภาษณ์ โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค พบว่า แบบสัมภาษณ์ความผูกพันกับสังคม ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.83  แบบสัมภาษณ์การขาดความผูกพันกับสังคม ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.86 และแบบสัมภาษณ์การปรับตัวเข้ากับสภาพสังคม ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ STATA version 10.1 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ช่วงความเชื่อมั่น 95%  ของร้อยละ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุโลจิสติก ผลการวิจัย พบ ความชุกของความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ร้อยละ 3.4 (95% CI = 1.62-5.09) แบ่งตามระดับความเสี่ยง ได้ดังนี้  ความเสี่ยงระดับน้อย ร้อยละ 2.4 ระดับปานกลาง ร้อยละ 0.3 และระดับรุนแรง ร้อยละ 0.7 ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 คือ ความเครียด การดื่มแอลกอฮอล์ และภาวะซึมเศร้า โดยการมีความเครียดเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายเป็น 22.2  เท่า  (95% CI = 4.57–107.93) ของการไม่มีความเครียด การดื่มแอลกอฮอล์เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายเป็น 12.7 เท่า (95% CI = 2.26–70.99) ของการไม่ดื่มแอลกอฮอล์ และการมีภาวะซึมเศร้าเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายเป็น 5.2 เท่า (95% CI = 1.08–24.69) ของการไม่มีภาวะซึมเศร้า

This was a descriptive study. To determine the prevalence of suicidal risk and related factors among population in Ban Tak district, Tak province. The population of the study was 16,118 people aged 25-59 years. Calculate the sample size was used multiple logistic regression of  Hsieh et al. and 417 subjects were drawn  through systematic random sampling. The research tool was structured interview with 5 parts: personal data, biological factors, psychological factors, social factor and suicidal risk. The interview on biological factors, psychological factors and suicidal risk taken from the standard assessment. The interview on social factor created by literature review was content validated  by 4 experts and yielded the value of 1. The reliability was tested using Cronbach’s alpha coefficient: Interview with social commitment valued at 0.83, lack of social commitment valued at 0.86 and   adaptation to society valued at 0.82. The data was analyzed by statistical software STATA version 10.1 and statistically expressed by frequency, percentage, means, standard deviation, median, minimal value, maximal value, 95% confidence interval and multiple logistic regression analysis. The result showed prevalence of suicidal risk was 3.4 (95% CI = 1.62 - 5.09); 2.4%  at a low level, 0.3%  at a middle level and 0.7%  at a severe level. The factors related to suicidal risk at a significant level of 0.05 were stress (OR = 22.2; 95% CI = 4.57-107.93), alcohol drinking (OR = 12.7; 95% CI = 2.26-70.99) and depression (OR = 5.2; 95% CI = 1.08-24.69)

 

Downloads

Additional Files

Published

2017-09-26

Issue

Section

บทความวิจัย