ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการดูแลตนเองที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ (Health Literacy and Self Care Related to Quality of Life of Elderly in Amnatcharoen Municipality Amnatcharoen Province)

Authors

  • ศิรินันท์ สุขศรี (Sirinan Suksri) Graduate School, Khon Kaen University
  • ดร.ดาริวรรณ เศรษฐีธรรม (Dr.Dariwan Settheetham)

Keywords:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health literacy), การดูแลตนเอง (Self-care), คุณภาพชีวิต (Self-care), ผู้สูงอายุ (Elderly)

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตความรอบรู้ด้านสุขภาพและการดูแลตนเองที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญจำนวน 380 คน ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างเป็นระบบ (systematic sampling) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และแบบวัดคุณภาพชีวิตฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI) วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและสถิตอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยพหุโลจิสติก  Multiple logistic regressionผลการศึกษา พบว่า คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ พบว่าคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยรวมอยู่ในระดับคุณภาพชีวิตปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 56.32 (95%CI 51.12-61.37) ซึ่งใกล้เคียงกับจำนวนผู้สูงอายุที่มีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับดี คือ ร้อยละ 43.16 (95%CI 38.12-48.31) มีเพียงร้อยละ 0.53 (95%CI 0.06-1.89) ที่มีคุณภาพชีวิตในระดับไม่ดีปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงมากที่สุด คือ  ด้านทักษะการตัดสินใจเพื่อสุขภาพในการปฏิบัติที่ถูกต้อง ร้อยละ 67.11 ด้านทักษะการจัดการตนเองเกี่ยวกับสุขภาพ ร้อยละ 48.95 และด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพ ร้อยละ 43.68 ปัจจัยด้านการดูแลตนเอง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงมากที่สุด คือ ด้านการใช้ยาร้อยละ 61.32 ด้านการควบคุมอาหาร ร้อยละ 55.79 และด้านการดูแลสุขภาพ ร้อยละ 26.58 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญได้แก่ ความสามารถในการตัดสินใจด้านสุขภาพอยู่ในระดับสูง (OR=2.57; 95 % CI: 1.44-4.58; p-value < 0.001) ความสามารถในการควบคุมอาหารอยู่ในระดับสูง (OR=2.51; 95 % CI: 1.37-3.74; p-value = 0.001) ความสามารถในการใช้ยาอยู่ในระดับสูง (OR=2.12; 95 % CI: 1.26-3.55; p-value = 0.004) การไม่มีโรคประจำตัว (OR=2.01; 95 % CI: 1.20-3.36; p-value =0.008) การไม่มีหนี้สิน (OR=1.96; 95 % CI: 1.09-3.50; p-value =0.024) ผู้สูงอายุที่เป็นข้าราชการบำนาญ (OR=6.53; 95 % CI: 2.14-19.92;  p-value = 0.002) และผู้สูงอายุที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป (OR=0.38; 95 % CI: 0.13-0.71; p-value  = 0.012) ตามลำดับดังนั้นการพัฒนาทักษะของผู้สูงอายุเกี่ยวกับการจัดการสุขภาพและการดูแลตนเองที่ถูกต้องและเหมาะสมจะมีช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีได้อย่างยั่งยืน

This research purposed to study levels of quality of life, health literacy, and self-caring that relate to the quality of the elderly’s life in Amnat Charoen Municipality, Amnat Charoen Province, totaling 380 persons. The samples came from the systematic sampling and data collection was interview by a questionnaire ofWorld Health Organization Quality of Life Brief (WHOQOL-BREF-THAI). Data was by analyzed descriptive and inferential statistics consisted of multiple logistic regressions. According to the study, the quality of the elderly’s life in Amnat Charoen Municipality, Amnat Charoen Province are in the medium level or 56.32% (95%CI 51.12-61.37), which is close to the overall quality of life that is at the good level or 43.16% (95%CI 38.12-48.31). Only 0.53% (95%CI 0.06-1.89) had a bad quality of life. The highest mean in health literacy factors were a decision for accurate health care or 67.11%, self-health care or 48.95%, and health knowledge or 43.68%. For self-caring factors, the highest means were medical use or 61.32%, food control or 55.79%, and health care or 26.58%. The factors relating to the quality of the elderly’s life in Amnat Charoen Municipality, Amnat Charoen Province, included the health decision making at the high level (OR=2.57; 95 % CI: 1.44-4.58; p-value < 0.001), food control at the high level (OR=2.51; 95 % CI: 1.37-3.74; p-value = 0.001), medical use at the high level (OR=2.12; 95 % CI: 1.26-3.55; p-value = 0.004), non-underlying disease (OR=2.01; 95 % CI: 1.20-3.36; p-value =0.008), no debt (OR=1.96; 95 % CI: 1.09-3.50; p-value =0.024), retired government official (OR=6.53; 95 % CI: 2.14-19.92;  p-value = 0.002), and ages over 80 (OR=0.38; 95 % CI: 0.13-0.71; p-value  = 0.012), respectively. Therefore, developing the skills of the elder involving management their health care properly and appropriately will help them healthier well-being and sustainable.

Downloads

Additional Files

Published

2017-10-26

Issue

Section

บทความวิจัย