แรงจูงใจและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา (Motivation and Organizational Climate Affecting Surveillance and Rapid Response Performance of Health Per

Authors

  • นครินทร์ ประสิทธิ์ Nakarin Prasit นักศึกษา หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ดร.ประจักร บัวผัน Dr.Prachak Bouphan รองศาสตราจารย์ ภาควิชาการบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Abstract

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Descriptive Study) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 146 คน จากประชากรทั้งหมด 346 คน โดยใช้ วิธีการสุ่มอย่างเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) และตัวอย่างในการสนทนากลุ่มเพื่อยืนยันข้อมูลเชิงปริมาณ จำนวน 12 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา สถิติอนุมานหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน จากการศึกษาพบว่า แรงจูงใจ ปัจจัยจูงใจด้านลักษณะงาน บรรยากาศองค์การ มิติความรับผิดชอบ มิติความอบอุ่น มิติมาตรฐานการปฏิบัติงานและมิติความเสี่ยง สามารถพยากรณ์การปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา ได้ร้อยละ 55.4 (R2= 0.554 p-value <0.001)โดยผลการวิจัยในครั้งนี้หน่วยงานสาธารณสุขสามารถนำไปใช้ในการวางแผนปรับปรุงการปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

This cross-sectional descriptive research aimed to study the motivation and the organizational climate that affect to the surveillance and rapid response performance of health personnel at sub-district health promoting hospitals in Nakhon Ratchasima Province, Thailand. The samples were 146 health personnel randomly selected by systematic random sampling from the 346 population and 12 key informants were in focus group guidelines for qualitative data gathering. Data distribution was performed by descriptive statistics and inferential statistics include Pearson’s product moment correlation and Stepwise multiple linear regressions were also utilized. The results showed that the motivation factors; work itself and three organizational climate factors; standard, warmth, risk and responsibility can predict surveillance and rapid response performance at 55.4 percentage (R2=0.554,P-value <0.00l). Public health organization can be using the results of this study to make plan to improve and develop surveillance and rapid response performance of health personnel at sub-district health promoting hospitals.

Downloads

Published

2018-06-04

Issue

Section

บทความวิจัย