คุณสมบัติของแบคเทอริโอซินที่สร้างโดยแลคติคแอสิดแบคทีเรียที่แยกได้จากอาหารหมัก

Authors

  • วรายุทธ สุระนรากุล Khon Kaen University

Keywords:

Lactic acid bacteria, Plasmid

Abstract

จากการคัดเลือกเชื้อแลคติคแอสิดแบคทีเรียที่สามารถสร้างแบคเทอริโอซินได้จากตัวอย่างแหนมโดยวิธี agar spot assay พบว่ามีเชื้อแลคติคแอสิดแบคทีเรียจำนวน 49 ไอโซเลต ที่สามารถยับยั้งการเจริญต่อเชื้อจุลินทรีย์ทดสอบ Leuconostoc mesenteroides TISTR 473 ได้ เมื่อนำเชื้อทั้ง 49 ไอโซเลต ไปทำการสกัดพลาสมิดพบว่ามีเพียงเชื้อแลคติคแอสิดแบคทีเรีย รหัส NO5 เท่านั้นที่มีพลาสมิดขนาด 2.5 kb โดยเชื้อดังกล่าวถูกตรวจสอบว่าเป็นเชื้อ Lactococcus เมื่อทำการศึกษาความสามารถในการยับยั้งการเจริญต่อเชื้อจุลินทรีย์ทดสอบของแบคเทอริโอซินที่ผลิตโดยเชื้อแลคติคแอสิดแบคทีเรียรหัส NO5 โดยวิธี swab- paper disc พบว่า แบคเทอริโอซินสามารถยับยั้งได้เฉพาะเชื้อเเบคทีเรียแกรมบวกเท่านั้น ซึ่งได้แก่ Bacillus cereus ATCC 11778, Bacillus subtilis TISTR 008, Streptococcus pneumoniae DMS 5851, Streptococcus pyogenes ATCC 12384, Staphylococcus aureus ATCC 25923 และ Leuconostoc mesenteroides TISTR 473 จากศึกษากลไกการทำงานของแบคเทอริโอซินโดยการนำเซลล์ของ L. mesenteroides TISTR 473 ที่ถูกยับยั้งการเจริญโดยแบคเทอริโอซินมาศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนชนิดส่องกราด (SEM) พบว่าเซลล์ดังกล่าวไม่มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อทำการศึกษาคุณสมบัติของแบคเทอริโอซินที่ผลิตโดยเชื้อแลคติคแอสิดแบคทีเรียรหัส NO5 พบว่าแบค เทอริโอซินดังกล่าวเป็นโปรตีนที่มีน้ำหนักโมเลกุลประมาณ 10 kDa สามารถทนความร้อนได้ที่อุณหภูมิ 121°C เป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที เชื้อแลคติคแอสิดแบคทีเรียรหัส NO5 สามารถผลิตแบคเทอริโอซินได้สูงสุดซึ่งมีค่าเท่ากับ 1,280 AU/ml หลังจากที่ทำการบ่มเชื้อดังกล่าวเป็นเวลา 7 ถึง 8 ชั่วโมง เมื่อตรวจหาตำแหน่งยีนสำหรับแบคเทอริโอซินของเชื้อแลคติคแอสิดแบคทีเรียรหัส NO5 พบว่ายีนดังกล่าวเป็นยีนที่น่าจะอยู่บนพลาสมิด

Downloads

Published

2014-10-22

Issue

Section

วิทยาศาสตร์ชีวภาพ