การศึกษารูปแบบพื้นที่สีเขียวด้านการใช้ประโยชน์โดยมนุษย์ ในเขตเมืองสุรินทร์และพื้นที่เกี่ยวเนื่อง

Authors

  • สมชญา มีโชค Khon Kean University
  • รวี หาญเผชิญ Khon Kean University

Keywords:

Green areas, Human use, Surin city

Abstract

การศึกษานี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและรูปแบบของพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองสุรินทร์และพื้นที่เกี่ยวเนื่องในด้านบทบาทการใช้ประโยชน์โดยมนุษย์ โดยวิเคราะห์และประเมินพื้นที่สีเขียวที่มีความสัมพันธ์กันทั้งในเชิงพื้นที่และเชิงบทบาทที่เกี่ยวข้องกับการเข้าไปใช้ประโยชน์ของชุมชนเมืองสุรินทร์และพื้นที่เกี่ยวเนื่องทั้งทางตรงและทางอ้อม มีวิธีการดำเนินการศึกษาโดยใช้ลักษณะโครงสร้างทางนิเวศวิทยาภูมิทัศน์ในการจัดแบ่งพื้นที่ 2 ประเภท คือ พื้นที่เป็นผืนเป็นหย่อม (patch) และพื้นที่เป็นแถบเป็นแนว (corridor) โดยวิเคราะห์พื้นที่สีเขียวตามบทบาทด้านการใช้ประโยชน์โดยมนุษย์ซึ่งแบ่งได้ 7 ประเภท ดังนี้ 1) พื้นที่โล่งสีเขียว 2) พื้นที่โล่งว่างเมือง 3) พื้นที่สีเขียว นันทนาการแบบผ่อนคลาย 4) พื้นที่สีเขียวนันทนาการแบบกระฉับกระเฉง 5) พื้นที่สีเขียวอนุรักษ์และสงวนที่ดิน 6) พื้นที่สีเขียวกันชน และ 7) พื้นที่สีเขียวการเกษตร ใช้เกณฑ์ในการประเมิน 2 ด้าน คือ ด้านปริมาณและด้านคุณภาพ โดยกำหนดค่าคะแนน 3 ระดับ คือ ระดับสูง ระดับปานกลางและระดับต่ำ ผลที่ได้จากการประเมินพื้นที่ตามบทบาทดังกล่าวมาสรุปและเสนอแนะเพื่อปรับบทบาทและเพิ่มศักยภาพของพื้นที่สีเขียวในด้านการใช้ประโยชน์โดยมนุษย์ ผลการศึกษาพบว่าพื้นที่ที่มีบทบาทและคุณค่าในด้านการใช้ประโยชน์โดยมนุษย์สูง เป็นพื้นที่ที่อยู่บริเวณส่วนกลางของเทศบาลเมืองสุรินทร์ ส่วนพื้นที่โดยรอบเทศบาลและพื้นที่เกี่ยวเนื่องพบว่ามีศักยภาพในด้านการใช้ประโยชน์โดยมนุษย์อยู่ในระดับต่ำและบางพื้นที่ไม่มีบทบาทในด้านการใช้ประโยชน์โดยมนุษย์เลย

Downloads

Published

2014-10-24

Issue

Section

วิทยาศาสตร์กายภาพ