กระบวนการเรียนรู้และการสร้างความรู้ของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา (Learning Process and Knowledge Creation of Para-Rubber Farmers)
Keywords:
Learning process, knowledge creation, Para rubberAbstract
การศึกษากระบวนการเรียนรู้และการสร้างความรู้ของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย เรื่อง การพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่เป็นแนวทางสนับสนุนการสร้างความรู้ของเกษตรกร การวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพที่มีคำถามการวิจัย คือ เกษตรกรมีกระบวนการเรียนรู้สร้างความรู้ในการผลิตพืชใหม่อย่างไร ซึ่งมีพื้นที่ศึกษาที่เป็นตัวแทนพื้นที่ปลูกยางพารามานาน คือบ้านเทพนิมิต ตำบลหนองซน อำเภอนาทม จังหวัดนครพนม ตัวแทนพื้นที่ปลูกยางใหม่คือ บ้านคำไฮ ตำบลหาดแพง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ผู้ให้ข้อมูลระดับชุมชน ประกอบด้วยผู้รู้ ผู้นำชุมชน จาก 2 หมู่บ้าน จำนวน 16 ราย ผู้ให้ข้อมูลระดับครัวเรือน คือตัวแทนครัวเรือนเกษตรกรที่มีบทบาทในการผลิตยางพาราจาก 2 หมู่บ้าน จำนวน 19 ราย รวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์โดยมีประเด็นคำถามหลัก ร่วมกับการสังเกตในพื้นที่ โดยรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน 2553-เมษายน 2554 ข้อมูลที่ได้นำมาจัดหมวดหมู่ข้อมูล วิเคราะห์ และสรุปผลผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรมีรูปแบบการเรียนรู้โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่ม A จำนวน 4 ราย เป็นกลุ่มค้นคว้า สร้างความรู้และปรับใช้ให้เหมาะกับตนเอง เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริงและการศึกษาเพิ่มเติมจากบุคคลและสื่อการเรียนรู้อื่นๆ กลุ่ม B จำนวน 15 ราย เป็นกลุ่มนำเอาชุดความรู้มาปฏิบัติและปรับใช้ให้เหมาะกับตนเอง การเรียนรู้โดยการนำเอาความรู้ไปปฏิบัติ เมื่อประสบปัญหาใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันภายในชมชน ซึ่งกลุ่ม A คือกลุ่มสร้างความรู้ โดยใช้วิธีการทดลองปฏิบัติและสังเกตผลในพื้นที่ตนเองเพื่อผลิตชุดความรู้ใหม่ด้านการผลิตยางพารา
Downloads
Additional Files
Published
2014-10-24
Issue
Section
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์