การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ของบุคลากรสาธารณสุข จังหวัดหนองคาย

Authors

  • ชาญศักดิ์ วิชิต Khon Kean University
  • ประจักร บัวผัน Khon Kean University

Keywords:

The administrative process, The participation, The local health security funds

Abstract

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross Sectional Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ของบุคลากรสาธารณสุข จังหวัดหนองคาย กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในสถานบริการสาธารณสุขที่เข้าร่วมกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ จังหวัดหนองคาย จำนวน 114 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เจาะลึก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างและใช้แบบสอบถาม ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2552 ถึงวันที่ 10 มกราคม 2553 นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป แจกแจงข้อมูลด้วยค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 57.90 อายุเฉลี่ย34.56 ปี สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 62.28 ระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 85.96 รายได้ 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 54.39 ระยะเวลาการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกองทุนเฉลี่ย 2.53 ปี กระบวนการบริหารในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง ( =3.39, S.D.=0.52) ด้านการวางแผน อยู่ในระดับมาก ( =3.50, S.D.=0.50) ด้านการจัดองค์การ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการอำนวยการ และด้านการควบคุมกำกับ อยู่ในระดับปานกลาง( =3.35, S.D.=0.63, =3.31,S.D.=0.68, =3.38, S.D.=0.65 และ =3.22, S.D.=0.61ตามลำดับ) 
ด้านการมีส่วนร่วมในภาพรวม พบว่าอยู่ในระดับมาก ( =3.50, S.D.=0.44) ด้านการค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหา ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมาก ( =3.67, S.D.=0.61, =3.58, S.D.=0.54, และ =3.56, S.D.=0.50 ตามลำดับ) ด้านการมีส่วนร่วมรับผิดชอบ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผลโครงการ และด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ อยู่ในระดับปานกลาง ( =3.48, S.D.=0.51, =3.41, S.D.=0.62, และ =3.27, S.D.=0.50 ตามลำดับ) และ ตัวแปรที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ของบุคลากรสาธารณสุข จังหวัดหนองคาย ได้แก่ ด้านการควบคุมกำกับ ด้านการวางแผน และอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.041) และสามารถร่วมกันพยากรณ์การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ของบุคลากรสาธารณสุข จังหวัดหนองคาย ได้ร้อยละ 70.5 ปัญหาและอุปสรรคที่พบส่วนใหญ่ คือ การมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหา 
ข้อเสนอแนะแนวทางในการมีส่วนร่วมของบุคลากรสาธารณสุขในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพ ควรให้ความสำคัญด้านการควบคุมกำกับ ด้านการวางแผน และควรส่งเสริมให้บุคลากรสาธารณสุขที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน

Downloads

Published

2014-10-24

Issue

Section

วิทยาศาสตร์สุขภาพ