ผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 จังหวัดอุดรธานี
Keywords:
AIDS, Health belief model, Participatory learningAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนอายุระหว่าง 14-15 ปี คัดเลือกโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลองจำนวน 34 คนและกลุ่มเปรียบเทียบจำนวน 33 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสุขศึกษาเป็นเวลา 12 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบให้มีการเรียนการสอนตามปกติ รวบรวมข้อมูลก่อนและหลังทดลองโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และใช้สถิติอนุมานเปรียบ เทียบภายในกลุ่มด้วย Pair t-test, เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มด้วย Independent t-test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีความรู้เรื่องโรคเอดส์และการป้องกันโรค การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อโรคเอดส์ การรับรู้ความรุนแรงต่อโรคเอดส์ การรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคของการป้องกันโรคเอดส์ สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) และหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีความรู้เรื่องโรคเอดส์และการป้องกันโรค การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อโรคเอดส์ การรับรู้ความรุนแรงต่อโรคเอดส์ การรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคของการป้องกันโรคเอดส์ สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ส่วนความตั้งใจใฝ่พฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ ไม่พบความแตกต่าง จากผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมสุขศึกษานี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ในเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 นำไปขยายผลสู่กลุ่มนักเรียนในระดับเดียวกัน ได้