ผลของการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตทางการเกษตรต่อการจับปลาและประชากรปลาในทุ่งกุลาร้องไห้

Authors

  • เหล็กไหล จันทะบุตร Khon Kean University
  • สุจินต์ สิมารักษ์ Khon Kean University
  • วิริยะ ลิมปินันทน์ Khon Kean University
  • ประภาส โฉลกพันธ์รัตน์ Khon Kean University

Keywords:

Changes of agriculture practices, Fish catching, Fish population

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตทางการเกษตรต่อรูปแบบการจับปลาและประชากรปลาในทุ่งกุลาร้องไห้ ในกลุ่มตัวอย่าง 41 ครัวเรือน ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaires) และใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง(Semi-structured) เพื่อเก็บข้อมูลเชิงลึก (In-dept) ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนกู่กาสิงห์หันมาปลูกข้าวหอมมะลิเป็นหลัก เปลี่ยนจากนาดำเป็นนาหว่าน ใช้สารเคมี ใช้เครื่องสูบน้ำในการสูบน้ำเข้านาส่งผลต่อรูปแบบการจับปลา นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อรูปแบบการดักปลาและประชากรปลา ได้แก่ การสร้างระบบชลประทาน ถนน ยูคาลิปตัส ภัยแล้ง และปลาต่างถิ่น จากการสำรวมภาคสนามและสัมภาษณ์ พบปลาน้ำจืดที่เป็นปลาพื้นบ้านน้อยลงมีทั้งหมดเพียง 14 ชนิด จาก 10 วงศ์ ได้แก่ วงศ์ ปลาช่อน ปลาดุก ปลาหมอ ปลากระดี่ ปลาตะเพียน ปลากด ปลาหลด ปลาไหล ปลาตอง ปลาเนื้ออ่อนและปลาต่างถิ่น 5 ชนิด ได้แก่ปลาตะเพียน ปลาดุกบิ๊กอุย ปลานิล ปลาสลิด และปลาไน แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงที่กล่าวมามีผลลบต่อปริมาณและประเภทของปลาพื้นเมือง แต่ปลาพื้นเมืองก็ยังมีบริโภคและขายตลอดมา เนื่องจากเกษตรกรมีความเชื่อที่มีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์ปลาในบ่อดักทำให้ปลายังคงเหลือและแพร่ขยายพันธุ์ต่อไป และที่สำคัญคือการเชื่อมต่อระบบนิเวศน์นาข้าวกับแม่น้ำที่มีวงจรการเกื้อหนุนให้ประชากรปลาส่วนใหญ่ยังคงอยู่

Downloads

Published

2014-10-25

Issue

Section

วิทยาศาสตร์ชีวภาพ