ปัจจัยการบริหารและกระบวนการบริหารที่มีผลต่อสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุข ในศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดขอนแก่น

Authors

  • บุญถม ชัยญวน Khon Keam University
  • ประจักร บัวผัน Khon Kean University

Keywords:

An administrative factors, An administrative processes, Core competencies

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารและกระบวนการบริหารที่มีผลต่อสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขศูนย์สุขภาพชุมชน ในจังหวัดขอนแก่น ประชากรที่ศึกษา คือ นักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดขอนแก่น จำนวน 248 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 150 คน ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านและตรวจสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาช 0.95 และสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากกลุ่มตัวอย่าง 10 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 14 ธันวาคม 2552 ถึงวันที่ 18 มกราคม 2553 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป แจกแจงข้อมูลด้วยค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการศึกษาพบว่านักวิชาการสาธารณสุขส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 54.70 อายุระหว่าง 31 - 40 ปี ร้อยละ 50.70 อายุเฉลี่ย 38.28 ปี (S.D.= 7.88) อายุต่ำสุด 22 ปี อายุสูงสุด 56 ปี สถานภาพสมรส คู่ ร้อยละ 76.70 ระดับการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 84 รายได้ 20,001 - 30,000 บาท ร้อยละ 52 รายได้เฉลี่ย 23,612.60 บาท (S.D.= 6,684.05) ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานเป็นนักวิชาการสาธารณสุขในศูนย์สุขภาพชุมชน 1 - 10 ปี ร้อยละ 70.70 เฉลี่ย 8.97 ปี (S.D.= 6.66) และได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุข 1 - 5 ครั้ง ร้อยละ 45.30 เฉลี่ย 2.41 ครั้ง (S.D. = 2.20)
ปัจจัยการบริหารภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.67 กระบวนการบริหารภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.57 สมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขในศูนย์สุขภาพชุมชนอยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ย 3.86 ปัจจัยการบริหารและกระบวนการบริหารมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางทางบวกกับสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขในศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดขอนแก่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r = 0.589 , p-value = 0.001) และ (r = 0.608 , p-value = 0.001) ตามลำดับ ตัวแปร 3 ตัว ที่สามารถร่วมกันพยากรณ์สมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขในศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดขอนแก่น ได้แก่ กระบวนการบริหารด้านการจัดองค์การ และปัจจัยการบริหารด้านงบประมาณและด้านกำลังคนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้ร้อยละ 43.50 ปัญหาและอุปสรรคที่พบส่วนใหญ่ เรื่องกระบวนการบริหารสมรรถนะหลักด้านการจัดองค์การร้อยละ 12.40 รองลงมาคือปัจจัยการบริหารสมรรถนะหลักด้านงบประมาณร้อยละ 10.90

Downloads

Published

2014-10-25

Issue

Section

วิทยาศาสตร์สุขภาพ