สภาพปัจจุบันของการจัดการความรู้ในการบริหารงานของจังหวัดแบบบูรณาการ

Authors

  • สถิติพงษ์ เอื้ออารีมิตร Khon Kean University
  • ลำปาง แม่นมาตย์ khon Kean University
  • ปณิธาน พีรพัฒนา Khon Kean University

Keywords:

Knowledge management, Administrative of integrated provinces, Knowledge management in administrative of integrated provinces

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการดำเนินการการจัดการความรู้ และศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริม และผลักดันให้เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในบริบทของการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการโดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพและเก็บรวบรวมข้อมูลโดย การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-participant observation) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหาร หน่วยงาน และผู้ดำเนินการในการจัดการความรู้ของจังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดขอนแก่นรวมทั้งสิ้น 18 คน ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์จัดกลุ่ม และตีความ แล้วนำเสนอเป็นผลการวิจัย
ในด้านความรู้ความเข้าใจ ในการจัดการความรู้ ผู้บริหาร และผู้รับผิดชอบการจัดการความรู้ในหน่วยงานส่วนใหญ่มีความรู้และสามารถอธิบายหลักการของการจัดการความรู้ได้ว่า การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือการบริหารงานที่ทำให้คนเรียนรู้ร่วมกัน และต่อยอดความรู้สู่การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ในส่วนความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดการความรู้ของบุคลากรในหน่วยงานยังอยู่ในระดับน้อย ซึ่งถึงแม้เคยได้รับการอบรม แต่ยังมีความเข้าใจไม่มากพอที่จะนำไปประยุกต์เพื่อใช้ประโยชน์ได้ 
การจัดการความรู้ในระดับหน่วยงานภายใต้จังหวัดโดยส่วนใหญ่หน่วยงานมีการแต่งตั้งคณะกรรมการ หรือมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบในการดำเนินการจัดการความรู้ โดยมีเป้าหมายในการจัดการความรู้ 3 ด้าน คือ การจัดการความรู้เพื่อพัฒนางาน เพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในหน่วยงาน และเพื่อผลักดันยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน โดยผลวิจัยชี้ให้เห็นว่าในทางปฏิบัติหน่วยงานส่วนใหญ่ดำเนินการจัดการความรู้เพื่อพัฒนา ศักยภาพของบุคลากร และเพื่อพัฒนางานเป็นหลัก สำหรับกระบวนการจัดการความรู้ของหน่วยงาน ยังไม่เป็นรูปธรรม และไม่มีร่องรอยที่ชัดเจน แต่ทั้งนี้พบว่ากระบวนการจัดการความรู้ที่มีการดำเนินการมากที่สุดคือ การถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ โดยดำเนินการผ่านการประชุม สัมมนา การสอนงานในระบบพี่เลี้ยง การจัดทำเอกสารเผยแพร่ และใช้กิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงาน ปัจจัยที่ขับเคลื่อนให้การจัดการความรู้ประสบความสำเร็จจะประกอบด้วย ผู้บริหารหน่วยงาน ความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดการความรู้ของบุคลากร วัฒนธรรมการเรียนรู้ และการสื่อสารในหน่วยงาน เทคโนโลยีสารสนเทศ และความช่วยเหลือจากที่ปรึกษาที่เป็นนักวิชาการ

Downloads

Published

2014-10-26

Issue

Section

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์