การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการให้เหตุผล ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เรื่อง ความน่าจะเป็น สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Authors

  • ชนะศักดิ์ แสงศรีเรือง Khon Kean University
  • วัลลภา อารีรัตน์ Khon Kean University
  • เจียมศักดิ์ ตรีศิริรัตน์ Khon Kean University

Keywords:

The development of learning activities, Reasoning skills based, Constructivist theory, Probability

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการให้เหตุผลตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง ความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านโนนรังวิทยาคารจังหวัดขอนแก่น 2) ศึกษาทักษะการให้เหตุผล เรื่อง ความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านโนนรังวิทยาคารจังหวัดขอนแก่น ให้นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีทักษะการให้เหตุผลอยู่ในระดับดี 3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง ความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านโนนรังวิทยาคารจังหวัดขอนแก่น ให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยอย่างน้อยร้อยละ 70 และจำนวนนักเรียนอย่างน้อยร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์เฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป
กลุ่มเป้าหมาย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 23 คน โรงเรียนบ้านโนนรังวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่นเขต 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติ ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการให้เหตุผลตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง ความน่าจะเป็น สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 14 แผนการสอน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดทักษะการให้เหตุผล 3) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการทดลอง ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในกระบวนการกลุ่ม แบบบันทึกผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และแบบทดสอบย่อย ท้ายวงจร รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการซึ่งมีวงจรปฏิบัติการ 3 วงจร ดังนี้ วงจรที่ 1 ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1-6 วงจรที่ 2 ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7-11 วงจรที่ 3 ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 12-14 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และสรุปความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการให้เหตุผล ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง ความน่าจะเป็น สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้รับการพัฒนาตามรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ซึ่งมี 4 ขั้นตอน คือ 1.1) ขั้นการวางแผนงาน เป็นการสำรวจวิเคราะห์สภาพปัญหา ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ปฐมนิเทศให้ความรู้แก่ผู้ช่วยวิจัยและผู้เรียน สร้างเครื่องมือในการวิจัย 1.2) ขั้นการปฏิบัติการ ดำเนินการสอนตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่วางไว้โดยผู้วิจัยเอง 1.3) ขั้นสังเกตการณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเครื่องมือ (แบบสังเกต, แบบบันทึก, แบบทดสอบย่อย, แบบวัดผลสัมฤทธิ์ ฯลฯ) 1.4) ขั้นสะท้อนการปฏิบัติการณ์ เป็นการประเมินจากข้อมูลที่รวบรวม ได้จากการการสังเกตของผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัย แล้วนำข้อมูลที่ได้จากการสะท้อนผลและปรับปรุงข้อบกพร่องในแผนการจัดการเรียนรู้ใหม่ในวงจรต่อไป การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการให้เหตุผล เรื่อง ความน่าจะเป็น สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส่งผลให้นักเรียนมีทักษะการให้เหตุผลระดับดีและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใน แต่ละวงจรสูงขึ้น 2) จำนวนนักเรียนมีทักษะการให้เหตุผลอยู่ในระดับดี ร้อยละ 86.96 3) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยร้อยละ 74.13 และนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 78.26

Downloads

Published

2014-10-26

Issue

Section

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์