การพัฒนาวิธีสอนแบบผสมผสานเพื่อการอนุรักษ์ดิน น้ำและป่าไม้ (A Development of a Blended Instructional Model on Soil Water and Forestry Conservation)

Authors

  • เสรี ปานเงิน Uttaradit Rajabhat University
  • เจษฎา มิ่งฉาย Uttaradit Rajabhat University
  • จันทร์เพ็ญ ชุมแสง Uttaradit Rajabhat University

Keywords:

Method, Conservation, Soil, Water, Forestry

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อพัฒนาวิธีสอนแบบผสมผสาน เรื่องการอนุรักษ์ดิน น้ำและป่าไม้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2. เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจ เรื่องการอนุรักษ์ดิน น้ำและป่าไม้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ใช้วิธีสอนแบบผสมผสาน กับวิธีสอนแบบปกติ 3. เพื่อเปรียบเทียบเจตคติเรื่องการอนุรักษ์ดิน น้ำและป่าไม้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ใช้วิธีสอนแบบผสมผสานกับวิธีสอนแบบปกติ 4. เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมเรื่องการอนุรักษ์ดิน น้ำและป่าไม้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ใช้วิธีสอนแบบผสมผสานกับวิธีสอนแบบปกติ 5. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อวิธีสอนแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนบ้านหนองไม้สอ ซึ่งใช้วิธีสอนแบบผสมผสาน จำนวน 30 คน และโรงเรียนบ้านหนองบัวทอง ใช้วิธีสอนแบบปกติ จำนวน 30 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. การตรวจสอบคุณภาพของวิธีสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา 2. แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้วิธีสอนแบบผสมผสาน 3. แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้วิธีสอนแบบปกติ 4. แบบวัดความรู้ความเข้าใจ 5. แบบวัดเจตคติ 6. แบบวัดพฤติกรรม 7. แบบวัดความพึงพอใจต่อวิธีสอนแบบผสมผสาน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ วิเคราะห์ความแปรปรวน (One–Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้วิธีสอนแบบผสมผสานมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุดและมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 87.31/92.08 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้วิธีสอนแบบผสมผสาน มีความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ดิน น้ำและป่าไม้สูงกว่าวิธีสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3)นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3ที่เรียนโดยใช้วิธีสอนแบบผสมผสาน มีเจตคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์ดิน น้ำและป่าไม้สูงกว่าวิธีสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 4)นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้วิธีสอนแบบผสมผสาน มีพฤติกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ดิน น้ำและป่าไม้สูงกว่าวิธีสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 5) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้วิธีสอนแบบผสมผสาน มีความพึงพอใจ ต่อวิธีสอนแบบผสมผสานอยู่ในระดับมาก

Downloads

Additional Files

Published

2014-10-28

Issue

Section

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์