การศึกษามโนมติเรื่องฟิสิกส์อะตอมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วิธีการสอนแบบเปรียบเทียบ (A Study of Grade XI Students’ Conception on “Atomic Physics” Through Analogy Approach)

Authors

  • ชำนาญ เพริดพราว Khon Kaen University
  • โชคชัย ยืนยง Khon Kaen University

Keywords:

Atomic physics, Analogy, FAR Guide

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามโนมติของนักเรียนหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ เรื่อง ฟิสิกส์อะตอม โดยใช้การสอนแบบเปรียบเทียบ ตามแนวทาง FAR Guide กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5/15 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร จำนวน 29 คนที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่เน้นการตีความ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบเปรียบเทียบ ตามแนวทาง FAR Guide แบบสำรวจมโนมติเรื่องฟิสิกส์อะตอม ใบงานกิจกรรม FAR Guide และการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ และนำมโนมติของของนักเรียนที่ได้มาจัดกลุ่มมโนมติเพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องกับมโนมติวิทยาศาสตร์
ผลการวิจัยได้รายงานไว้ 3 ส่วน ได้แก่ 
(1) มโนมติก่อนเรียนเรื่องฟิสิกส์อะตอม พบว่านักเรียนมีแนวคิดเกี่ยวกับอะตอมสามารถจัดได้เป็น 5 กลุ่มแนวคิด โดยส่วนมากร้อยละ 34.48 นักเรียนมีแนวคิดว่าอะตอมมีรูปร่างกลมประกอบด้วยโปรตอน นิวตรอนและอิเล็กตรอนกระจายอยู่โดยทั่วไป 
(2) การประยุกต์ใช้มโนมติก่อนเรียนเพื่อการจัดการเรียนรู้เรื่องฟิสิกส์อะตอมโดยใช้การเปรียบเทียบ ประกอบด้วย 5 มโนมติได้แก่มโนมติเรื่อง แบบจำลองอะตอมของทอมสันแบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด แบบจำลองอะตอมของโบร์ ระดับพลังงานตามแบบจำลองอะตอมของโบร์ และปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก ใช้ตัวเปรียบเทียบ คือ ลูกน้อยหน่า การชนกันระหว่างแท่งแม่เหล็ก ระบบสุริยะ ขั้นบันได และการปาลูกเทนนิสใส่ลูกปิงปองที่อยู่ในถังบรรจุน้ำ ตามลำดับ
(3) การสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้เรื่องฟิสิกส์อะตอมโดยใช้การเปรียบเทียบ นักเรียนสามารถวิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง Analog กับ Target เกี่ยวกับฟิสิกส์อะตอม แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีความเข้าใจมโนมติเกี่ยวกับฟิสิกส์อะตอม

Downloads

Additional Files

Published

2014-10-28

Issue

Section

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์