The Development of Learning Management Strategies of English Writing Using the Process Approach Combining an Information Processing Theory and Metacognitive Strategies for Upper Secondary School Students (การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้การเขียนภาษา

Authors

  • พิชญสุกานต์ ทองอนันติวงศ์ Udon Thani Rajabhat University
  • ประยงค์ กลั่นฤทธิ์ Udon Thani Rajabhat University
  • ชาติชาย ม่วงปฐม Udon Thani Rajabhat University
  • ชาตรี นาคะกุล Udon Thani Rajabhat University

Keywords:

Information processing theory, Metacognitive strategy, The process approach

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้การเขียนภาษาอังกฤษแบบเน้นกระบวนการ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษก่อนและหลังการทดลอง 3) เปรียบเทียบเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษก่อนและหลังการทดลอง และ4) ศึกษาความคงทนของการเรียนรู้การเขียนภาษาอังกฤษภายหลังการทดลอง 2 สัปดาห์ 4 สัปดาห์ และ 6 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่มคือ 1) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ ได้แก่ ครูภาษาอังกฤษ จำนวน 8 คน นักเรียน 30 คน 2) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการตอบแบบสอบถาม ได้แก่ นักเรียน 60 คน และครูภาษาอังกฤษ 6 คน และ 3) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 17 คน ผลการวิจัยพบว่า I) ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ประกอบด้วยการสอน 9 ขั้นตอน ได้แก่ 1) นำเข้าสู่บทเรียน 2) เพียรแจ้งจุดประสงค์ 3) มุ่งตรงตัวอย่าง 4) วางแผนศึกษา 5) หาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต 6) ตรวจเช็ครายละเอียดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 7) มุ่งสู่การปฏิบัติงานเขียน 8) เพียรแก้ไขข้อผิดพลาด และ 9) ประเมินความสามารถของตนและเพื่อน II) นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความสามารถในการเขียนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 III) นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 IV) นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความคงทนของการเรียนรู้หลังการทดลองผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ 4 สัปดาห์ และ 6 สัปดาห์ และ V) นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความคงทนของการเรียนรู้การเขียนภายหลังการทดลองผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ 4 สัปดาห์ และ 6 สัปดาห์ไม่แตกต่างกัน

Downloads

Additional Files

Published

2014-10-28

Issue

Section

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์