พฤติกรรมการเล่นการพนันของเยาวชนกรณีศึกษา : เขตกรุงเทพมหานคร (Gambling behavior Among A dolescent and youth in Thailand : A Case Study of Young People’s Gambling Behaviours in Bangkok Area)

Authors

  • คงกริษ เล็กศรีนาค Suan Sunandha Rajabhat University
  • ณรงค์ พลอยดนัย Suan Sunandha Rajabhat University
  • วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ Suan Sunandha Rajabhat University

Keywords:

Factors affecting the players, Gambling behavior, Gambling output

Abstract

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเล่นพนันของเยาวชน ปัจจัยสาเหตุของการเล่นพนัน ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสาเหตุกับพฤติกรรมการเล่นพนันของเยาวชน ผลลัพธ์ของการเล่นพนัน ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเล่นพนันกับผลลัพธ์ของการเล่นพนันของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือเยาวชนที่เล่นการพนันในเขตกรุงเทพ มหานครจำนวน 400 ราย จากผลการศึกษาพบว่า เยาวชน 400 รายส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 92.8 ส่วนใหญ่ร้อยละ 75 มีอายุระหว่าง 15-20 ปี ด้านการศึกษาพบว่าร้อยละ 83.5 ยังคงทำการศึกษาอยู่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีโดยมีรายได้สูงสุดไม่เกิน 6,000 บาทต่อเดือน และพบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 79.8 ได้รับรายได้มากกว่า 2 แหล่งที่มา ส่วนใหญ่ที่มาของรายได้มาจากผู้ปกครอง พิจารณาความถี่ในการเล่นพนันพบว่าเยาวชนส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 72 เล่นพนันอย่างน้อย 1- 3 วันต่อสัปดาห์ ด้านสถานที่หรือช่องทางการเล่นพนันของเยาวชน พบว่าร้อยละ 89.8 เล่นที่บ้านเพื่อนหรือที่พักอาศัยของเพื่อน ค่าใช้จ่ายในการพนันแต่ละครั้ง 1,000 - 2,000 บาท การให้น้ำหนักปัจจัยด้านสังคมที่ส่งผลต่อการเล่นพนันอยู่ในระดับมากที่สุดคือ การมีเพื่อนเล่นพนันส่งผลให้เล่นพนัน ปัจจัยด้านโครงสร้างที่ส่งผลในการเล่นพนันอยู่ในลำดับมากคือการได้รับสื่อข่าวสารที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับแหล่งพนัน วิธีการเล่นพนัน ปัจจัยด้านทัศนคติและแรงจูงใจในการเล่นพนันที่ให้น้ำหนักในระดับมากที่สุดได้แก่ เป็นช่องทางหาเงินและต้องการเงินที่เสียไปคืน การให้น้ำหนักผลลัพธ์ด้านอารมณ์และกายภาพอยู่ในลำดับมากได้แก่ เคยคิดเลิกพนันแต่เลิกไม่ได้ ทำให้สูญเสียความมั่นใจ เครียด และปล่อยเลยตามเลย ผลลัพธ์ด้านปฎิสัมพันธ์กับครอบครัวและสังคมให้น้ำหนักในลำดับมาก ได้แก่ การโกหกคนในครอบครัวเพื่อการไปเล่นพนัน การทะเลาะกับคนในครอบครัวเพราะการพนัน การขโมยเงินของคนในครอบครัวเพราะผลจากการพนัน และต้องกู้ยืมเงินมาเพื่อการพนัน ผลลัพธ์ด้านพฤติกรรมเด็กเกเรและการศึกษาของเยาวชนอยู่ในลำดับปานกลางทั้งหมด ได้แก่ การขาดเรียนเพราะไปเล่นการพนัน การเสียสมาธิหรือหลับในระหว่างเรียน ผลการเรียนตกต่ำเมื่อเทียบกับเพื่อน การถูกกล่าวโทษว่ากล่าวตักเตือนจากอาจารย์และครอบครัวหรือถูกจับกุม และสุดท้ายคือทำให้เข้าสู่พฤติกรรมเสี่ยงในการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือสิ่งเสพติดอื่น ๆ

Downloads

Additional Files

Published

2014-10-28

Issue

Section

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์