ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการความเสี่ยงทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของชุมชนชายแดนไทย-ลาว (Factors Influencing in Social and Environmental Risk Management
Keywords:
Risk management, Social risk, Environmental risk, Thai-Lao border communityAbstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการความเสี่ยงทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของชุมชนชายแดนไทย-ลาว เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ ใช้หน่วยในการศึกษาเป็นระดับชุมชน ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน ด้วยแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น จำนวน 285 ชุมชน ในพื้นที่ 3 อำเภอ ตามแนวชายแดนไทย-ลาวของจังหวัดมุกดาหาร ในเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2554 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS และ LISRELผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการความเสี่ยงทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของชุมชนชายแดนไทย-ลาว ประกอบด้วย 3 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยแรกคือภาวะความเสี่ยงทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย (1) การสูญเสียระบบนิเวศน์และความหลากหลายทางชีวภาพ (2) การทำลายและความเสื่อมโทรมของป่าไม้ (3) มลพิษและความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (4) ความขัดแย้งและความรุนแรงทางสังคม และ (5) ความไม่เท่าเทียมในสังคม ปัจจัยที่สอง คือ ความถดถอยของทุนทางสังคม ประกอบด้วย (1) ความผุกร่อนทางความเชื่อ ประเพณีและวัฒนธรรม (2) การเป็นปัจเจกนิยม (3) การหายไปขององค์ความรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่น และ (4) ความไม่เท่าเทียมทางสังคม และ ปัจจัยที่สาม คือ การเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรน้ำ ประกอบด้วย (1) การเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพน้ำ และ (2) การพังทลายและการเปลี่ยนแปลงริมตลิ่งและทางน้ำไหล ซึ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการความเสี่ยงทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของชุมชนชายแดนไทย-ลาว มีอิทธิพลทางตรงสูงสุดในเชิงลบจากภาวะความเสี่ยงทางสังคมและสิ่งแวดล้อม (β = - 1.99) รองลงมาคือ ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรน้ำ (β = 0.64) ขณะเดียวกันได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากการสนับสนุนจากภาครัฐ (γ = 0.37) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ปัจจัยทั้งหมดนี้สามารถอธิบายระดับการจัดการความเสี่ยงทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของชุมชนชายแดนไทย-ลาวได้ร้อยละ 78.0 (R2= 0.78)
Downloads
Additional Files
Published
2014-10-28
Issue
Section
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์