ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตที่มีต่อการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้เอื้องสายล่องแล่ง (Dendrobium aphyllum (Roxb.) Fischer) ในสภาพปลอดเชื้อ (Effects of plant growth regulator on in vitro culture of Dendrobium aphyllum (Roxb.) Fischer)

Authors

  • สุภาพ สุนทรนนท์ Khon Kaen University
  • สุมนทิพย์ บุนนาค Khon Kaen University

Keywords:

Dendrobium aphyllum (Roxb.) Fischer, Protocorms, Tissue culture

Abstract

ศึกษาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเอื้องสายล่องแล่งในหลอดทดลองเพื่อชักนำให้เกิดโพรโทคอร์มบนอาหารสังเคราะห์ ½Murashige and Skoog (½MS) โดยการเติมสารควบคุมการเจริญเติบโต BA 0, 0.5, 1, 1.5 และ 2 มก./ล. เลี้ยงเป็นระยะเวลา 2 เดือน พบว่าการเพิ่มจำนวนโพรโทคอร์มในอาหาร ½MS ที่ไม่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโต สามารถชักนำให้เกิดโพรโทคอร์มได้ดีที่สุดคือ 0.43 กรัม และเมื่อศึกษา ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโต BA และ NAA ต่อการชักนำให้โพรโทคอร์มกล้วยไม้เอื้องสายล่องแล่งเจริญเป็นต้น โดยเติมสารควบคุมการเจริญเติบโต NAA 0, 1 และ 2 มก./ล. ร่วมกับสารควบคุมการเจริญเติบโต BA 0, 1 และ 2 มก./ล. พบว่าเติม BA 2 มก./ล.และ NAA 2 มก./ล. ชักนำให้เกิดยอดได้มากที่สุดคือ 180 ยอด อาหารที่ชักนำให้ต้นสูงมากที่สุดคืออาหาร ½MS ที่เติม BA 1 มก./ล.และ NAA 2 มก./ล. สามารถชักนำให้ต้นสูงมากที่สุดเท่ากับ 0.93 ซม. ส่วนอาหารที่ชักนำให้เกิดรากมากที่สุดคืออาหาร ½MS ที่ไม่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโต สามารถชักนำให้เกิดรากมากที่สุดคือ 8.44 ราก และอาหารที่ชักนำให้เกิดรากยาวที่สุดคืออาหาร ½MS ที่เติม NAA 1 มก./ล. ให้ความยาวรากคือ 0.60 ซม. ในระยะ 4 เดือน จึงนำอาหารสูตรนี้ไปประยุกต์ชักนำให้เกิดโพรโทคอร์มและเจริญเป็นต้น เพื่อใช้ในการอนุรักษ์และปรับปรุงพันธุ์พืชต่อไป

Downloads

Additional Files

Published

2014-10-29

Issue

Section

วิทยาศาสตร์ชีวภาพ