การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนทางวิศวกรรม กรณีศึกษาเรื่องการควบคุมแบบออโตจูน (The Instructional Model Development in Engineering Education: Case Study of Autotuning Control)

Authors

  • พูลศักดิ์ โกษียาภรณ์ King Mongkut's University of Technology North Bangkok
  • มงคล หวังสถิตย์วงษ์ King Mongkut's University of Technology North Bangkok

Keywords:

Engineering education, Instructional design, Constructivism

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนทางด้านวิศวกรรม เรื่องระบบควบคุมแบบออโตจูน ตามแนวการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ความรู้นิยม ขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วย การวิเคราะห์เนื้อหา การสร้างรูปแบบการเรียนการสอน ECEA-Model การสร้างสื่อการเรียนการสอนแบบโปรแกรมจำลอง การประเมินรูปแบบการเรียนการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านการศึกษาและด้านวิศวกรรม จำนวน 10 คน รูปแบบการเรียนการสอนนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีวิศวกรรมไฟฟ้าจำนวน 26 คน ใช้วิธีวัดประเมินความรู้ของผู้เรียนและการประเมินกระบวนการและทดสอบความแตกต่างของคะแนนทดสอบก่อนเรียนหลังเรียนโดยใช้สถิติที (t-test) ผลการวิจัยพบว่าประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนมีค่าเท่ากับ 71.86/74.86 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 70/70 คะแนนทดสอบก่อนเรียนหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนในระดับพึงพอใจระดับมาก

Downloads

Additional Files

Published

2014-10-29

Issue

Section

วิทยาศาสตร์กายภาพ