การศึกษาร่องรอยบนโลหะตัวถังรถยนต์หลังการยิงด้วยกระสุนปืน ขนาด 11 มม.(FMJ) (Trace Study on The Metallic Car Body After Firing With The11mm (FMJ) Bullets)
Keywords:
Gun, Bullet, Gooves and landsAbstract
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและบันทึกรูปแบบร่องรอยการปะทะที่เกิดจากลูกกระสุนปืนขนาด 11 mm บนแผ่นโลหะของตัวถังรถยนต์ที่ระยะยิงและวิถียิงต่างกันเพื่อนำมาสร้างเป็นฐานข้อมูลเฉพาะสำหรับรูปแบบร่องรอยปะทะเป็นแนวทางในการตรวจวิถีกระสุนปืนจากสถานที่เกิดเหตุและนำมาใช้ในกระบวนการทางนิติวิทยาศาสตร์ผลจากการศึกษาพบว่า ลักษณะของร่องเกลียว (Groove Impression) สันเกลียว (Land Impression) ที่ยิงจากปืน ขนาด 11 mm ด้วยลูกกระสุนปืนแบบทองแดงหุ้มตะกั่ว (Full Metal Jacket) กำหนดมุมยิง 90, 60และ 45 องศา และระยะทาง 0.5,1.5 และ 2.5 เมตร พบลักษณะของร่องรอยของร่องเกลียวสันเกลียวบนแผ่นโลหะบริเวณรูทางเข้ากระสุนปืนเมื่อนำมาส่องภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ในมุมยิง 90 ,60 และ 45 องศา ที่ระยะยิง 0.5 ,1.5 และ 2.5 เมตร
จากการวิเคราะห์ทางสถิติแผนการทดสอบแบบ 3×3 แฟคตอเรียลใน CRD (3×3 factorial design with CRD) ในการวิจัยครั้งนี้สนใจปัจจัย 2 ตัวที่มีผลต่อตัวแปรตาม 2 ตัว พบว่าในแต่ละ มุมยิงมีผลต่อขนาดความกว้างและความยาวทางเข้า-ออกของรูกระสุนปืน ซึ่งมีขนาดความกว้างจากมากไปน้อย มุม 45, 60, 90 องศา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p< .001) แต่ระยะยิงที่ 0.5, 1.5, 2.5 เมตร ไม่มีผลต่อความกว้างและความยาวทางเข้า-ออกของรูกระสุนปืน เพราะเป็นระยะยิงที่ไม่ห่างกัน ร่องเกลียวสันเกลียวที่พบเกิดจากความเร็วลูกกระสุนปืนต่ำ เวลาที่หัวกระสุนออกจากปากลำกล้องปืนเข้าปะทะกับแผ่นโลหะความเร็วหัวกระสุนปืนจะลดลงทำให้พื้นที่หัวกระสุนสัมผัสกับแผ่นโลหะมากจึงทำให้เกิดร่องเกลียวสันเกลียวบนแผ่นโลหะบริเวณรูทางเข้ากระสุนปืนชัดเจนในทุกมุมยิงและระยะยิง ร่องเกลียวสันเกลียวที่พบเป็นข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงไปยังปืนที่ใช้ยิงได้
Downloads
Additional Files
Published
2014-10-29
Issue
Section
วิทยาศาสตร์กายภาพ