การเปรียบเทียบวิธีการสกัดด้วยตัวทำละลายต่อการสกัดวิตามินอีและแกมมา-โอไรซานอลจากรำข้าวพันธุ์ กข 6 (Comparison of Solvent Extraction on Extractable Vitamin E and Gamma Oryzanol from Rice Bran (RD 6))

Authors

  • ปรีดาวรรณ ขอช่วยกลาง Khon Kaen University
  • วรนุช ศรีเจษฎารักข์ Khon Kaen University

Keywords:

Rice bran, Vitamin E, Gamma-oryzanol

Abstract

ปัจจุบันรำข้าวถูกนำมาสกัดเป็นน้ำมันรำข้าวโดยนิยมใช้เฮกเซน แต่เฮกเซนเป็นสารที่มีความเป็นพิษสูง ระเหยง่ายและไวไฟ จึงสนใจศึกษาชนิดของตัวทำละลายชนิดอื่นคือ ไอโซโพรพานอล เอทานอล เปรียบเทียบกับการใช้เฮกเซนที่สภาวะการสกัดเดียวกันพบว่า รำข้าวที่ผ่านการคงสภาพด้วยวิธีการนึ่งและสกัดด้วยไอโซโพรพานอลจะให้ปริมาณน้ำมัน วิตามินอีและแกมมา-โอไรซานอลได้สูงที่สุด จากการศึกษาผลของอัตราส่วนรำข้าวต่อไอโซโพรพานอล (1 ต่อ 30, 1 ต่อ 45 และ 1 ต่อ 60 กรัม/มิลลิลิตร) อุณหภูมิ (50, 60 และ 70 oซ) และเวลา (1, 10 และ 20 ชั่วโมง) ในการสกัดต่อคุณภาพน้ำมัน พบว่าทั้ง 3 ปัจจัยมีผลต่อค่าปริมาณน้ำมัน วิตามินอีและแกมมา-โอไรซานอลโดยพบว่า สภาวะที่มีสารดังกล่าวมากที่สุดคือ สภาวะการสกัดที่ใช้รำข้าวต่อไอโซโพรพานอล 1 ต่อ 30 กรัม/มิลลิลิตร ที่อุณหภูมิ 70 oซ และเวลา 20 ชั่วโมง

Downloads

Additional Files

Published

2014-10-31

Issue

Section

วิทยาศาสตร์ชีวภาพ