อุปสงค์และอุปทานสำหรับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของแรงงานพม่าที่มีบัตรประกันสุขภาพ ในหน่วยบริการปฐมภูมิ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี (Demand and Supply in Health Promotion and Disease Prevention Among Burmese Labors under the Universal Health Insurance at P

Authors

  • ปิติภัทร บุญมี Prince of Songkla University
  • เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย Prince of Songkla University
  • สาวิตรี ลิ้มชัยอรุณเรือง Prince of Songkla University

Keywords:

Demand, Supply, Health promotion

Abstract

การวิจัยเชิงพรรณานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบปริมาณอุปสงค์และอุปทานของการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ในแรงงานพม่าที่มีบัตรประกันสุขภาพในหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษามี 2 กลุ่ม คือ แรงงานพม่าที่มีบัตรประกันสุขภาพ จำนวน 380 คน และผู้บริหารหน่วยบริการปฐมภูมิทั้งหมดในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 165 คน และได้ค่าความเที่ยงในการวัดส่วนอุปสงค์ได้ เท่ากับ 0.87 และวิเคราะห์เปรียบเทียบอุปสงค์และอุปทานด้วยสถิติอ้างอิง Independent t- test ผลการวิจัยพบว่า ปริมาณอุปสงค์ของบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในแรงงานพม่าแบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ การวางแผนครอบครัว เฉลี่ย 17.06 ครั้งต่อปี อนามัยแม่และเด็ก เฉลี่ย 8.41 ครั้งต่อปี และการป้องกันโรคด้วยวัคซีน เฉลี่ย 23.91 ครั้งต่อปี ส่วนอุปทานบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของหน่วยบริการปฐมภูมิ ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ การวางแผนครอบครัว เฉลี่ย 27.51 ครั้งต่อปี อนามัยแม่และเด็กเฉลี่ย 20.05 ครั้งต่อปี และการป้องกันโรคด้วยวัคซีน เฉลี่ย 59.00 ครั้งต่อปี และเมื่อเปรียบเทียบอุปสงค์และอุปทานสำหรับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของแรงงานพม่าที่มีบัตรประกันสุขภาพ ทั้ง 3 ด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยอุปทานมีมากกว่าอุปสงค์ และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Downloads

Additional Files

Published

2014-10-31

Issue

Section

วิทยาศาสตร์สุขภาพ