การเปรียบเทียบความน่าเชื่อถือภายในผู้วัดของเทคนิคการวัดองศาการเคลื่อนไหวของหลังแบบทำเอง สามวิธีในอาสาสมัครปกติ: การศึกษานำร่อง (Comparison of Intra-tester Reliability for Measuring Active Lumbar Range of Motion by three Methods in Healthy Subjects: A Prel
Keywords:
Intra-rater reliability, Lumbar flexion, Lumbar extensionAbstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่าความน่าเชื่อถือภายในผู้วัดของวิธีการวัดองศาการเคลื่อนไหวของหลังแบบทำเอง 3 วิธี ได้แก่ Long arm goniometer (LAG), Double inclinometer (DI) และ Modified-modified schöber method test (MMST) ที่ใช้ในการวัดองศาการเคลื่อนไหวของหลังในท่าก้มและท่าเงยในอาสาสมัครปกติ โดยมีอาสาสมัครจำนวน 30 คน (หญิง 15 คน ชาย 15 คน) อายุตั้งแต่ 23-40 ปี (ค่าเฉลี่ย = 30.83 ปี ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 5.2 ปี) ทำการวัดโดยนักกายภาพบำบัดที่มีประสบการณ์ทางด้านคลินิก 10 ปี และ 5 ปี ตามลำดับ นักกายภาพบำบัดจะทำการวัดองศาการเคลื่อนไหวของหลังในท่าก้มและท่าเงยด้วยวิธีการวัดทั้ง 3 วิธี ได้แก่ LAG, DI และ MMST อาสาสมัครแต่ละคนจะถูกวัดในท่าก้มและเงย ท่าละ 3 ครั้งในแต่ละวิธี เพื่อนำมาหาค่าเฉลี่ยของค่าที่วัดได้ พบว่าค่าความน่าเชื่อถือของการวัดองศาการเคลื่อนไหวของหลังโดยใช้เทคนิค MMST นั้นมีค่าความน่าเชื่อถือสูงที่สุด โดยค่า Intraclass correlation coefficients (ICC) มีค่าอยู่ระหว่าง 0.99 - 1.00 ขณะที่ค่าความน่าเชื่อถือภายในผู้วัดของการวัดองศาการเคลื่อนไหวของหลังที่ต่ำที่สุดคือ การใช้วิธี LAG (ICC มีค่าอยู่ระหว่าง 0.57 - 0.88) สรุปได้ว่าเทคนิค MMST มีค่าความน่าเชื่อถือสูงที่สุดใน 3 วิธีจากการวัดองศาการเคลื่อนไหวของหลังDownloads
Additional Files
Published
2014-10-31
Issue
Section
วิทยาศาสตร์สุขภาพ