ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการรถแทรกเตอร์ขนาดกลางของเกษตรกรในตำบลน้ำอ้อม อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น (Factors Influencing Decision Making to Middle Size Tractor Utilization of Farmers in Nam-Oam Sub-district, Kanuan District, Khon Kaen Province)
Keywords:
4-wheel tractor, Hand tractorAbstract
การเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรมและบริการส่งผลทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานออกนอกภาคการเกษตรไปยังภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทำให้เกษตรกรต้องใช้เครื่องจักรกลเกษตรเพื่อทดแทนแรงงานที่เคลื่อนย้ายออก การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของตำบลและการใช้งานรถแทรกเตอร์ขนาดกลางและรถไถเดินตามโดยใช้วิธีการประชุมกลุ่มตัวแทนเจ้าของรถแทรกเตอร์ขนาดกลาง (34-50 แรงม้า) และรถไถเดินตาม (8-11.5 แรงม้า) จำนวนกลุ่มละ 10 คน และศึกษาการใช้และปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการรถแทรกเตอร์ขนาดกลางในการปลูกพืชของผู้ใช้บริการ โดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการรถแทรกเตอร์ขนาดกลาง จำนวน 217 คน จากการศึกษา พบว่า เกษตรกรในตำบลน้ำอ้อมนิยมใช้รถแทรกเตอร์ขนาดกลางในการเตรียมดินในการปลูกข้าว (ร้อยละ 98.2) การเตรียมดินปลูกอ้อย (ร้อยละ 100) และการปรับพื้นที่นาเพื่อปลูกอ้อย (ร้อยละ 100) มากที่สุด สำหรับการเตรียมดินในการปลูกมันสำปะหลังนั้น เกษตรกรนิยมใช้รถไถเดินตามในการไถเตรียมดิน (ร้อยละ 80) เนื่องจากต้องปลูกแซมในพื้นที่ปลูกยางพารา หากใช้รถแทรกเตอร์ขนาดกลางอาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของรากยางพารา นอกจากนั้นรถไถเดินตามยังถูกเปลี่ยนบทบาทไปเป็นเครื่องสูบน้ำ (ร้อยละ 100) และใช้ในการขนส่ง (ร้อยละ 92.2) จากการศึกษาปัจจัยหลักที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ใช้บริการรถแทรกเตอร์ขนาดกลาง พบว่า ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการรถแทรกเตอร์ขนาดกลางในระดับสูง คือ ด้านประสิทธิภาพในการทำงาน (ร้อยละ 84.2), ด้านแรงงาน (ร้อยละ 65.7), ด้านกายภาพ (ร้อยละ 59.4), ด้านอายุและสุขภาพ (ร้อยละ 52.9) ส่วนปัจจัยหลักที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการรถแทรกเตอร์ขนาดกลางในระดับต่ำ คือ ด้านเศรษฐกิจ (ร้อยละ 23.6), ด้านสังคม (ร้อยละ 9.2) และด้านอื่นๆ คือ การที่เกษตรกรไม่มีรถไถเดินตามเป็นของตนเอง มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการรถแทรกเตอร์ขนาดกลางอยู่ในระดับต่ำที่สุดDownloads
Additional Files
Published
2014-10-31
Issue
Section
วิทยาศาสตร์กายภาพ