การปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด (Surveillance and Rapid Response Performance of Health Personnel at Sub-district Health Promoting Hospitals in Roi Et Province)
Keywords:
, Surveillance and Rapid Response, Motivation factorsAbstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross – sectional descriptive study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด และคุณลักษณะส่วนบุคคล และปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 231 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 192 คน ซึ่งสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย และการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth interview) จำนวน 10 คน เลือกจากบุคคลที่สามารถให้ข้อมูลซึ่งเป็นผู้ที่รู้ดีที่สุด (Key informants) ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถามโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน และหาความเที่ยงของแบบสอบถามโดยใช้ Cronbach’s method หาค่า Alpha coefficient ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.98 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเดือน กุมภาพันธ์ 2557 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Pearson product moment correlation coefficient และ Stepwise multiple linear regression analysis ผลการศึกษาพบว่าการปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.81 (S.D.=0.49) และพบว่า คุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ ระยะเวลาการปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว และการฝึกอบรมการเฝ้าระวังสอบสวนโรค มีความสัมพันธ์ระดับต่ำทางบวกกับการปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.151, p-value = 0.036 และ r = 0.289, p-value < 0.001 ตามลำดับ) และแรงจูงใจมีความสัมพันธ์ระดับสูงทางบวกกับการปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.763, p-value < 0.001) และตัวแปรอิสระที่มีผลต่อการปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ได้แก่ ด้านนโยบายและการบริหาร(p-valueDownloads
Additional Files
Published
2014-11-01
Issue
Section
วิทยาศาสตร์สุขภาพ