การใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอช่วยคัดเลือกลักษณะความหอมและปริมาณอะมิโลสต่ำ ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวแบบบันทึกประวัติ (Marker Assisted Selection for Aroma and Low Amylose Content Traits in Pedigree Breeding of Rice (Oryza sativa L.))

Authors

  • จันทร์จิรา โรหิตเสถียร Kasetsart University
  • ธานี ศรีวงศ์ชัย Kasetsart University
  • ประภา ศรีพิจิตต์ Kasetsart University
  • รังสฤษดิ์ กาวีต๊ะ Kasetsart University

Keywords:

Cooking quality, Markers assisted selection (MAS), Pedigree breeding

Abstract

การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเพื่อคุณภาพการหุงต้มที่ดีเป็นหนึ่งในเป้าหมายของการปรับปรุงพันธุ์ข้าวไทย การวิจัยนี้ได้ใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอ Naro และ RM190 ที่เฉพาะกับลักษณะความหอมและปริมาณอะมิโลสที่มีตำแหน่งอยู่บนโครโมโซม 8 และ 6 ของข้าวตามลำดับ มาใช้ช่วยในการคัดเลือกลักษณะทั้ง 2 ในประชากรชั่วที่ 2 จำนวน 600 ต้นจากคู่ผสมระหว่างพันธุ์ปทุมธานี 1 (PTT1) ที่มีคุณภาพหุงต้มดี กับพันธุ์ CH4 ที่มีศักยภาพการให้ผลผลิตสูง มีการคัดเลือกแบบทีละลักษณะในประชากรดังกล่าว โดยคัดเลือกต้นที่มีพันธุกรรมแบบคงตัวในลักษณะความหอมได้จำนวน 151 ต้น จากนั้นคัดเลือกต้นที่มีพันธุกรรมคงตัวของปริมาณอะมิโลสต่ำเช่นเดียวกับพันธุ์ปทุมธานี 1 ได้ต้นที่มีพันธุกรรมที่ต้องการทั้ง 2 แบบทั้งหมด 32 ต้น ซึ่งจะได้นำไปใช้ในขั้นตอนต่อไปของการปรับปรุงพันธุ์ นอกจากนี้มีการใช้เทคนิคการหน่วงเวลาโหลดตัวอย่างในการทำอิเล็กโตรโฟรีสีซิสเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดกรองต้นที่ต้องการ 

Downloads

Additional Files

Published

2014-11-01

Issue

Section

วิทยาศาสตร์กายภาพ