Health promotion practice guideline for older adults in rattanawaree primary care unit huatapan district amnatcharoen province(แนวปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในศูนย์สุขภาพชุมชนรัตนวารีอำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ)
Keywords:
Practice Guideline(แนวปฏิบัติ), Health Promotion(การส่งเสริมสุขภาพ), Older Adults(ผู้สูงอายุ)Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ(Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแนวปฏิบัติในการส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุ และเจ้าหน้าที่ในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชนรัตนวารี อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ ผู้สูงอายุที่ช่วยตนเองได้จำนวน 41 คน เจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชนจำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึกข้อมูลผู้สูงอายุ แนวทางการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานใช้จำนวนและร้อยละ ข้อมูลที่ได้จากการสนทนากลุ่มและการทบทวนเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาวิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 7 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาตำรา ค้นคว้าข้อมูล บทความทางวิชาการ เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ รวบรวมแนวปฏิบัติในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่มีอยู่ทั้งในและต่างประเทศ และหลักฐานทางคลินิกที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อนำไปจัดทำร่างแนวปฏิบัติ ขั้นตอนที่ 2 จัดสนทนากลุ่มผู้สูงอายุที่บ้านเสียวหมู่ที่ 2 และ 3 หมู่ละ 1 กลุ่ม จำนวนกลุ่มละ 8 คน รวมทั้งหมด 16 คน เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากประเด็นในการสนทนากลุ่มมาเพิ่มเติม และปรับปรุงร่างแนวปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุมากที่สุด ขั้นตอนที่3 อบรมเชิงปฎิบัติการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จากสถานีอนามัย นักวิชาการสาธารณสุข พยาบาล ทั้งหมด 28 คนและผู้สูงอายุจำนวน 5 คน รวมทั้งหมด 33 คน ผู้วิจัยนำเสนอกระบวนการที่ได้จัดทำแนวปฎิบัติ และร่างแนวปฏิบัติการส่งเสริมสูขภาพ พร้อมทั้งข้อสรุปที่ได้จากการสนทนากลุ่มผู้สูงอายุ เจ้าหน้าที่ และผู้สูงอายุที่เข้าร่วมประชุมเชิงปฎิบัติการร่วมกันแสดงความคิดเห็น ระดมสมอง พัฒนาคุณภาพของร่างแนวปฎิบัติในการส่งเสริมสูขภาพ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมใช้ในพื้นที่และตรงกับความต้องการของผู้สูงอายุ ขั้นที่ 4 ตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหา(Content validity) โดยผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ด้านการส่งเสริมสูขภาพผู้สุงอายุจำนวน 5 ท่านขั้นตอนที่ 5 นำแนวปฎิบัติในการส่งเสริมสูขภาพผู้สุงอายุ ไปทดลองใช้ในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์สูขภาพชุมชนรัตนวารี คือ ผู้สูงอายุบ้านรัตนวารีหมู่ที่ 7 จำนวน 20 รายโดยให้เจ้าหน้าที่นำแนวปฏิบัติไปทดลองใช้กับผู้สูงอายุที่ทางศูนย์สุขภาพชุมชนรัตนวารีออกหน่วยให้บริการในหมู่บ้านจำนวน 10 รายและใช้ในการเยี่ยมบ้านจำนวน 10 ราย ใช้ระยะเวลา 1 เดือน ซึ่งผู้วิจัยจะต้องติดตาม สังเกตการณ์บันทึกผล และมีส่วนร่วมกับเจ้าหน้าที่ตลอดกระบวนการในการนำแนวปฏิบัติไปทดลองช้ตามระยะเวลาดังกล่าวขั้นตอนที่ 6 ประเมินผลสะท้อนกลับจากเจ้าหน้าที่ ด้านกระบวนการในการจัดทำแนวปฏิบัติการส่งเสริมสูขภาพผู้สูงอายุ และการนำไปทดลองใช้กับผู้สูงอายุถึงปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆ ขั้นตอนที่ 7 ปรับปรุง แก้ไขแนวปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุใช้ในศูนย์สูขภาพชุมชนรัตนวารีตามความต้องการของเจ้าหน้าที่ และผู้สูงอายุ ผลการวิจัย เมื่อนำแนวปฏิบัติไปใช้ที่ศูนย์สุขภาพชุมชนหรือออกหน่วยให้บริการกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนซึ่งมีผู้รับบริการจำนวนมาก เจ้าหน้าที่มีเวลาในการให้บริการน้อย แนวปฏิบัติที่ทำได้ควรมีเนื้อหาสั้น กระชับใช้เวลาน้อย ได้ใจความผู้สูงอายุรับฟังแล้วเข้าใจง่ายเข้าใจตามปัญหาและความต้องการที่ประเมินได้ การนำไปใช้ในการเยี่ยมบ้านผลที่ได้ คือ เป็นแนวปฏิบัติที่สามารถให้รายละเอียดได้มาก เนื่องจากได้เห็นถึงสภาพสิ่งแวดล้อมของบ้านความเป็นอยู่ทั้งของผู้สูงอายุ ญาติ/ผู้ดูแล เจ้าหน้าที่มีเวลาในการให้บริการ แนวปฏิบัติที่ทำได้ควรมีเนื้อหาที่รายละเอียดครบถ้วนแต่จะได้ใจความ ผู้สูงอายุและญาติ/ผู้ดูแลฟังแล้วเข้าใจ ดังนั้นจึงได้ปรับปรุงแนวปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุทั้งที่ใช้ในศูนย์สุขภาพชุมชนหรือออกหน่วยให้บริการผู้สูงอายุในชุมชนและใช้ในการเยี่ยมบ้านที่เหมาะสมใช้ในพื้นที่ให้บริการ
This study was an action research with the objective of establishing the practice guideline for older adults in promoting their health and meets their needs as well as consistent with the requirement of primary care unit (PCU). The sample was 41 older adults and staff of Rattanawaree Primary Care Unit. This primary care unit was located at Huatapan district, Amnatcharoen province. The instruments used in collecting data of this study were the demographics record form and the structured question for focus group. These instruments were developed by the researcher. Descriptive statistics were used to analyze the demographics data. The qualitative data from the focus groups were analyzed using content analysis method. In addition, the previous practice guideline for older adults reviewed were also criticized and synthesized. The method of the study was developed in seventh steps. First, the related literatures were critically reviewed and synthesized in order to develop the draft of health promotion practice guideline for older adults. In addition, the data from the family folders of all older adults, who lived in the areas under the responsibility of Rattanawaree Primary Care Unit, were reviewed. Second, 16 older adults who could take care of themselves and lived in Banseaw village Moo 2 and Moo 3 were included in the focus group process. The qualitative data from this process were analyzed
and utilized to modify the draft of practice guideline, which would be congruent with problems and needs of older adults under their community circumstances. Third, one day workshop was established for the staff of Rattanawaree Primary Care Unit, those from other primary care units in Huatapan district and older adulys.
Twenty-eight staff and five older adults were participated. As the result of this process, the second draft of practice guideline was corrected according to the staffûs and older adultûs opinions. Fourth, the guideline was reviewed by the experts for content validity. Fifth, the staff of Rattanawaree Primary Care Unit and the researcher used the guideline with older adults who had similar characteristics to those adults in sample group. The guideline was tested with 20 older adults; 10 were those who came to receive health services at Rattanawaree Primary Care Unit and 10 were those whom visited by the staff at home. The period of time for testing the guideline was one month. Sixth, the guideline was evaluated for the process of developing and testing the practice guideline as well as the problems limitation of using the guideline and suggestions. Finally, practice guideline for promoting older adults health was finally developed; the practice guideline for older adults in promoting their health and meets their needs as well as consistent with the requirement for primary care unit (PCU). The results of this study showed that the practice guideline used at the primary care unit should be concise and easy for older adults to understand because of the limitation of the number of staff and the large number of patients. However, the practice guideline for home visit should include more detail than those used at primary care unit because the staff has more time and chance to meet patientûs families. And also understand their lifestyles. Therefore, two health promotion practice guideline for older adults were developed; one were used at the primary care unit and another was for home visit.