Prevalence of Salmonella Carrier-State in Pork Butchers in Khon Kaen Municipality (ความชุกของภาวะการเป็นพาหะของเชื้อซัลโมเนลลาในผู้ประกอบการเขียงหมูเขตเทศบาลนครขอนแก่น)

Authors

  • อรวรรณ แจ่มจันทร์ (Orawan Jamjane) Khon Kaen University
  • ดร.อัจฉราภรณ์ ภักดี (Dr.Adcharaporn Pagdee) Khon Kaen University
  • สำอาง หอมชื่น (Samang Homchuen) Khon Kaen University
  • ดาริวรรณ เศรษฐีธรรม (Dariwan Satetheetum) Khon Kaen University

Keywords:

Prevalence(ความชุก), Salmonella spp.(เชื้อซัลโมเนลลา), Carrier(พาหะ)

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของภาวะการเป็นพาหะของเชื้อซัลโมเนลลาในผู้ประกอบการเขียงหมูเขตเทศบาลนครขอนแก่น และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมกับภาวะการเป็นพาหะของเชื้อซัลโมเนลลา โดยการสุ่มตัวอย่างที่ยินยอมเข้าร่วมโครงการ จำนวน 87 คน จากตลาดเทศบาล 1, 2, 3, อ.จิระอาเขต และตลาดบางลำภู ระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึง ธันวาคม 2548 พบความชุกของภาวะการเป็นพาหะฯร้อยละ 51.7 โดยพบเชื้อจากทวารหนักร้อยละ 31.0 จำแนกได้ 4 ซีโรกรุ๊ปได้แก่ B,C,D และ E ประกอบด้วย 9 ซีโรวาร์ได้แก่ S.enterica subsp. enterica ser 4,5,12 : i :-, S. Typhimurium, S. Schwarzengrund, S. Stanley, S. Bovismorbificans, S. Rissen, S. Panama, S. Anatum และ S. Weltevreden และพบเชื้อจากมือร้อยละ 36.8 จำแนกได้ 5 ซีโรกรุ๊ปได้แก่ B,C,D, E และ I ประกอบด้วย 10 ซีโรวาร์ได้แก่ S. enterica subsp. enterica ser 4,12:i:-, S. Stanley, S. Bovismorbificans, S. Rissen, S. Enteritidis, S. Panama, S. Anatum, S. Lexington, S. Weltevreden และS. Welikade จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสี่ยงด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมกับภาวะการเป็นพาหะฯพบว่า ปัจจัยการหยิบจับอาหารบริโภคด้วยมือมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับภาวะการเป็นพาหะฯ (2=6.299, p = 0.012) สำหรับการวิเคราะห์ตัวแปรเชิงซ้อนด้วยสมการถดถอยพหุโลจิสติคพบว่า ผู้ประกอบการฯที่มีพฤติกรรมการหยิบจับอาหารบริโภคด้วยมือมีความเสี่ยงต่อภาวะการเป็นพาหะฯเท่ากับ 9.881 เท่า (95% C.I.=1.162-83.983) และผู้ที่รับประทานอาหารเช้าไม่หมดแล้วเก็บไว้บริโภคต่อในตอนเย็นโดยไม่ได้อุ่นหรืออุ่นเป็นบางครั้งมีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะการเป็นพาหะฯเท่ากับ 4.132 เท่า (95% C.I.=0.060-0.969)

The objectives of this study were to investigate the prevalence of Salmonella carrier-state of pork buthers in Khon Kaen Municipal, and to analyse the relationship between the environmental health factors and the carrier-state of pork buthers. Eighty seven pork buthers from five main municipal markets including Tessban 1, 2, 3, Jirach and Banglampuu markets were participated in this study between November and December, 2005. Of 87 pork buthers, 45 (51.7%) were Salmonella carrier-state, of which 27 (31%) were found from rectal swab samples, whereas, 32 (36.8%) were found from hand swab samples. The serogroups of Salmonella found in rectal swab samples were serogroup B, C, D and E, which of them comprised of 9 serovars : S. enterica subsp. enterica ser 4, 5, 12 : i :-, S. Typhimurium, S. Schwarzengrund, S. Stanley, S. Bovismorbificans, S. Rissen, S. Panama, S. Anatum, and S. Weltevreden. The serogroups of Salmonella found in hand swab samples were serogroups B, C, D, E and I serogroups with 10 serovars: S. enterica subsp. enterica ser 4, 12 : i :-, S. Stanley, S. Bovismorbificans, S. Rissen, S. Enteritidis, S. Panama, S. Anatum, S. Lexinton, S. Weltevreden and S. Welikade. Salmonella that were found in both rectal and hand swab samples were S. Stanley, S. Bovismorbificans, S. Rissen, S. Panama, S. Anatum and S. Weltevreden. According to Chi-square Test, only butcherûs eating habit, contacted food with hands shows significantly association with the potential of being Salmonella carriers-state (χ2 = 6.299, p = 0.012). This group of participants had a chance to become the carrier-state of 9.881 times greater than those who had food with forks and spoons (95% C.I. = 1.162-83.983). Pork butchers who reported having overdue food from breakfast to dinner, had a chance to be the Salmonella carrier-state of 4.132 times greater than those who did not do. (95% C.I. = 0.060-0.969).


Downloads

Published

2014-11-16

Issue

Section

วิทยาศาสตร์สุขภาพ