The Effects of Group with Individual Counseling using Reality Theory on Adolescents' Aggression(ผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มร่วมกับรายบุคคลตามแนวทฤษฎีเผชิญความจริง ต่อความก้าวร้าวของวัยรุ่น)

Authors

  • สายชล กังศศิเทียม (Saichol Kangsasitiam) Khon Kaen University
  • มัลลวีร์ อดุลวัฒนศิริ (Mallawee Adulwatthanasiri) Khon Kaen University

Keywords:

Group with individual counseling(การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มร่วมกับรายบุคคล), Aggression(ความก้าวร้าว)

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มร่วมกับรายบุคคลตามแนวทฤษฎีเผชิญความจริงต่อความก้าวร้าวของวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์) ระดับมัธยม ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวสูง จำนวน 12 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 6 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มร่วมกับรายบุคคลตามทฤษฎีเผชิญความจริง จำนวน 7-10 ครั้ง ครั้งละ 50 นาที และกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มร่วมกับรายบุคคลตามแนวทฤษฎีเผชิญความจริง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบวัดความก้าวร้าวของวัยรุ่น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .92 2) โปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มร่วมกับรายบุคคลตามแนวทฤษฎีเผชิญความจริง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ The Wilcoxon’s Matched-Pairs Signed-Ranks Test และ The Mann-Whitney U-test ผลการวิจัยพบว่า หลังการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มร่วมกับรายบุคคลตามแนวทฤษฎีเผชิญความจริง กลุ่มทดลองมีคะแนนความก้าวร้าวลดลงกว่าก่อนการทดลอง และลดลงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

This research was a Quasi-experimental Research. The objective of this study was to study the effects of group with individual counseling using Reality Theory on Adolescents. Aggression. The sample were 12 Matayomsuksa II Students at Demonstration School, during the first semester of 2006 school year. They were randomized to the experimental group and control group, 6 student for each group. The experimental group attended 8-10 sessions of group with individual counseling using Reality Theory . Each session last 50 minutes. The instrument consisted of 1) the Aggressive Behavior Scale with reliability coefficient of .92 and 2) The Program of Group with Individual Counseling using Reality Theory. The Wilcoxon.s Matched-Pairs Signed-Ranks Test and The Mann-Whitney U-test were used for data analysis. The findings showed that, after the experiment was completed, the experiment group showed a lower aggressive scores than before the experiment and their aggressive lower than the control group at the .05 level of significance.


Downloads

Published

2014-11-16

Issue

Section

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์