Chromosomes Homology Between Human (Homo sapiens) and Dusky Langur (Trachypithecus obscurus) by Fluorescence In Situ Hybridization

Authors

  • Wiwat Sangpakdee (วิวรรธน์ แสงภักดี) Khon Kaen University
  • Dr. Monthira Monthatong (ดร.มณฑิรา มณฑาทอง) Khon Kaen University
  • Alongkoad Tanomtong (อลงกลด แทนออมทอง) Khon Kaen University

Keywords:

Fluorescence In Situ Hybridization(เทคนิคฟลูออเรสเซนซ์อินซิไฮทูบริไดเซชัน), Human (Homo sapiens) chromosomes(โครโมโซมนุษย์), Dusky langur (Trachypithecus obscurus) chromosomes(โครโมโซมค่างแว่นถิ่นใต้)

Abstract

Human (Homo sapiens Linnaeus, 1758, 2n=46) and dusky langur (Trachypithecus obscurus, Ried, 1837, 2n=44) are classified in the same order which evolutionary close relatives. The chromosomal homology between both species was established by chromosome painting technique. The fluorescently labeled probes specific to human chromosomes 14, 15, 21 and 22 were developed. The probes were allowed to hybridize with dusky langur chromosome prepared from fibroblast culture of ear tissues. The results showed that the human chromosomes 14 and 15 probes hybridized to chromosome 5 of dusky langur while human chromosomes 21 and 22 probes hybridized to chromosome 19 of dusky langur. The hybridization patterns can be interpreted that dusky langur chromosomes 5 and 19 occurred by Robertsonian translocation from human chromosomes 14/15 and 21/22, respectively. Moreover, chromosome 19 of dusky langur bears the nucleolar organizer regions (NORs) which can be the marked chromosome of this species.

มนุษย์และค่างแว่นใต้ถูกจัดให้อยู่ในอันดับเดียวกันซึ่งมีความสัมพันธ์ทางวิวิฒนาการกันอย่างใกล้ชิด การศึกษาความเหมือนของโครโมโซมทั้งสองสปีชีส์ครั้งนี้ ใช้เทคนิคโครโมโซมเพ้นทิง โดยเตรียมโพรบจากโครโมโซมของมนุษย์คู่ที่14,15,21และ22 นำไปไฮบริไดซ์ร่วมกับโครโมโซมของค่างแว่นถิ่นใต้ที่เตรียมจากการเพาะเลี้ยงเซลล์ไฟโบรบลาสต์จากเนื้อเยื่อใบหู ผลการทดลองพบว่าโพรบของมนุษย์คู่ที่14 และ15จับกับโครโมโซมคู่ที่ 5 ของค่างแว่นถิ่นใต้ขณะที่โพรบของมนุษย์คู่ที่21 และ22 จับกับโครโมโซมคู่ที่19 จากการทดลองครั้งนี้สามารถอธิบายเชิงวิฒนาการของโครโมโซมของทั้งสองสปีชีส์ได้ว่าโครโมโซมค่างแว่นถิ่นใต้คู่ที่5 และ19 เกิดจากกระบวนการรวมตัวกันแบบโรเบิร์ตโซเนียนของโครโมโซมมนุษย์คู่ที่14/15และคู่ที่21/22 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าโครโมโซมคู่ที่19 ของค่างแว่นถิ่นใต้มีบริเวณที่เรียกว่านิวคลีโอลาว์ออร์กากาไนเซอร์รีเจียนส์(นอร์)ซึ่งเป็นโครโมโซมเครื่องหมายของค่างสปีชีส์นี้

Downloads

Published

2014-11-20

Issue

Section

วิทยาศาสตร์ชีวภาพ