Optimization of Resazurin-based Assay for Cytotoxicity Test in Cholangiocarcinoma Cells(การปรับปรุงการวิเคราะห์ด้วยรีซาซูรินเพื่อวิเคราะห์การตายของเซลล์ในเซลล์มะเร็งท่อน้ำดี)

Authors

  • Benjaporn Buranrat (เบญจพร บุราณรัตน์) Khon Kean University.
  • Dr. Auemduan Prawan (ดร.เอื้อมเดือน ประวาฬ) Khon Kean University.
  • Dr. Veerapol Kukongviriyapan (ดร.วีรพล คู่คงวิริยพันธุ์) Khon Kean University.

Keywords:

Cholangiocarcinoma cells(เซลล์มะเร็งท่อน้ำดี), Cytotoxicity assay(การวัดการตายของเซลล์), Resazurin(รีซาซูริน)

Abstract


The viability of cell cultures is usually assessed from the metabolic capability of cells in converting some chemicals to color dyes which can be conveniently measured by multi-well plate reader. However, the inconsistency between the metabolic assays and direct microscopic examination is usually observed and raised some concerns over the validity of the metabolic assay. Resazurin test, one of the metabolic assays similar to the tetrazolium MTT assay, was evaluated against a fluorescent staining microscopic counting methods. The study was performed in cholangiocarcinoma (CCA) cell line KKU-100 and cells were treated with gemcitabine, a highly potent chemotherapeutic agent. Results were revealed that cell density, types of incubation medium and incubation time of resazurin affect the consistency of the metabolic assay as compared with a microscopic counting. Optimization of resazurin-based assay is necessary to provide resazurin test as a simple, rapid and high sensitive cytotoxicity test for the anticancer drugs for cholangiocarcinoma cells. 

การอยู่รอดของเซลล์เพาะเลี้ยงมักทำการประเมินด้วยการวัดความสามารถในการเมแทโบลิซึมของเซลล์โดยการเปลี่ยนสารเคมีเป็นสีที่สามารถตรวจวัดได้อย่างสะดวกโดยเครื่องอ่านแพลท อย่างไรก็ตามมักมีรายงานกล่าวถึงความไม่เท่าเทียมกันของการประเมินผลระหว่างวิธีการวัดเมแทโบลิซึมของเซลล์กับการสังเกตโดยตรงจากกล้องจุลทรรศน์ ทำให้ความเป็นห่วงถึงความถูกต้องของผลการอ่านจากการอ่านสีโดยวิธีต่างๆ การวิเคราะห์ด้วย resazurin ซึ่งจัดเป็นการวัดสีจากเมแทโบลิซึมของเซลล์เช่นเดียวกับวิธีอื่นเช่น tetrazolium MTT ได้นำมาศึกษาเปรียบเทียบโดยวัดการอยู่รอดของเซลล์มะเร็งท่อน้ำดี KKU-100ที่ได้รับยาเคมีบำบัด gemcitabine โดยการวัดย้อมเซลล์ด้วยสีฟลูออเรสเซนท์และนับเซลล์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ กับวิธี resazurin การศึกษาพบว่าจำนวนเซลล์ ชนิดของน้ำยาทำปฏิกิริยา และเวลาของปฏิกิริยาของresazurinมีผลต่อความแม่นยำของการวิเคราะห์ เมื่อได้ปรับปรุงวิธีการวิเคราะห์ ทั้งสองวิธีมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน ดังนั้น วิธีรีซาซูรินจึงเป็นวิธีที่ง่าย รวดเร็ว และมีความไวสูง และสามารถใช้เพื่อทดสอบความไวหรือการตอบสนองต่อยาต้านมะเร็งของเซลล์มะเร็งท่อน้ำดี

Downloads

Published

2014-11-21

Issue

Section

วิทยาศาสตร์สุขภาพ