Comparative Study of Habitual with Left and Right Handwritings of The Same Person(การศึกษาเปรียบเทียบความเคยชินในการเขียนด้วยมือซ้ายและมือขวาของบุคคลคนเดียวกัน)

Authors

  • Anongnath Soison (อนงค์นาถ สร้อยสน) Mahidol University.
  • Dr. Montip Tiensuwan (ดร. มนต์ทิพย์ เทียนสุวรรณ) Mahidol University.
  • Dr. Suda Riengrojpitak (ดร. สุดา เรียงโรจน์พิทักษ์) Mahidol University.
  • Pitsanu Fupleum (พิษณุ ฟูปลื้ม) Mahidol University.

Keywords:

Off-Line handwriting(ลายมือเขียน), Unaccustomed handwriting(การเขียนด้วยมือข้างไม่ถนัด), Disguise(การดัดแปลงลายมือตนเอง)

Abstract

Handwriting document examination is one of the important knowledge in forensic science. Forensic Handwriting features examination is feature comparison between question and known documents. One method that suspects use to change their handwriting habitual is to disguise by unaccustomed handwriting. By researcher observation, there was stability in some feature. In this study, researcher collected accustomed and unaccustomed handwritings from the elementary school teachers in Bangkok. The examined features were slant, size of wide letter, size of narrow letter, size of normal letter, space, alignment and height. These features were measured by video microscope. The data was analyzed by two independent t-test and the percentage of each feature similarity was computed. The result was shown that 75% of the subjects have similarity in narrow-size letter. 

เอกสารที่เกิดจากการเขียนด้วยลายมือเป็นเอกสารที่สำคัญในการตรวจพิสูจน์ทางด้านนิติวิทยาศาสตร์เมือถูกพบในที่เกิดเหตุหรือเกี่ยวข้องกับคดีความต่างๆ วิธีหนึ่งที่ใช้ตรวจพิสูจน์นั้น เป็นการตรวจลักษณะตัวอักษรเปรียบเทียบกันระหว่างลายมือเขียนจากเอกสารปัญหากับเอกสารลายมือเขียนตัวอย่างซึ่งได้จากการเขียนโดยผู้ต้องสงสัย วิธีที่นิยมใช้ในการเปลี่ยนแปลงลักษณะของลายมือเขียนเดิมของผู้เขียนคือการเขียนด้วยมือข้างที่ไม่ถนัดของตนเอง แต่ลายมือที่เกิดจากการเขียนด้วยมือข้างที่ไม่ถนัดก็ยังคงไว้ซึ่งความคิดที่ในบางลักษณะของตัวอักษร ในการศึกษานี้ผู้วิจัยได้ทำการจัดเก็บลายมือเขียนภาษาไทยที่เขียนโดยข้างที่ถนัดและไม่ถนัดของกลุ่มประชากรครูประถมศึกษาในกรุงเทพมหานคร มาวัดค่าของลักษณะต่างๆของลายมือเขียนได้แก่การเอียงลาด,ความสูง,ขนาดของตัวอักษรกับเส้นบรรทัดและช่องไฟด้วยกล้องจุลทรรศน์วิดีโอ จากนั้นนำค่าที่ได้มาวิเคราะห์โดยการทดสอบสมมติฐานในกรณีสองกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระต่อกันแล้วหาค่าความเป็นไปได้ โดยคำนวนร้อยละของกลุ่มประชากรที่มีค่ากลางไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการศึกษาพบว่า พบความคงที่ของขนาดตัวอักษรแบบแคบมากที่สุดคือเป็นร้อยละ75 ของกลุ่มประชากรทดสอบ

Downloads

Published

2014-11-21

Issue

Section

วิทยาศาสตร์สุขภาพ