Using CAS to Visualize Concepts of Integration and Its Application Polar Form(การใช้ CAS ในการอธิบายมโนทัศน์ของการหาปริพันธ์และการประยุกต์ในรูปแบบเชิงขั้ว)
Keywords:
Visualization(หลับตามองเห็น), Concepts(มโนทัศน์), Polar form(รูปแบบเชิงขั้ว)Abstract
ในการสอนรายวิชาแคลคูลัสและเรขาคณิตวิเคราะห์ 2 สำหรับนักศึกษาสายวิทยาศาสตร์ สิ่งที่สำคัญและจำเป็นที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้ดีคือการสร้างมโนทัศน์ในเรื่องที่เรียน เพราะมโนทัศน์ที่เกิดขึ้นจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคงทนในการเรียนรู้ การใช้ CAS ในการอธิบายมโนทัศน์ของการหาปริพันธ์และการประยุกต์ในรูปแบบเชิงขั้วสามารถทำโดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคณิตศาสตร์ด้านเรขาคณิตเชิงพลวัตร การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสื่อการสอนวิชาแคลคูลัสเรื่องการหาปริพันธ์และการประยุกต์ในรูปแบบเชิงขั้ว หาประสิทธิภาพของสื่อการสอน ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการใช้สื่อที่สร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเป็นนักศึกษาที่เรียนรายวิชาแคลคูลัสและเรขาคณิตวิเคราะห์ 2 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ที่สอบผ่านความรู้พื้นฐานเรื่องระบบพิกัดเชิงขั้ว ด้วยคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 มีจำนวน 31 คน ผลการวิจัยพบว่า สื่อการสอนที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 75.97/78.36 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70/70 ที่ตั้งไว้ นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
In teaching calculus and analytic geometry 2 for science students one of important aims is to create a good comprehension of the basic concepts appearing in the topic. This comprehension should give the capability of the students to enhance their knowledge. In many cases the introduction of a new concept can be done by using a good visualization. Itûs possible to use Computer Algebra System (CAS) to introduce the concepts of finding the area in polar form by dynamical visualization. The objective of this thesis are to create the lesson by using The geometerûs sketchpad , the efficiency of visual aided , to study the learning achievement of student in visual aided. The sample group is the 31 undergraduate students in the second semester of 2007 of Thepsatri Rajabhat University. The result revealed that the efficiency of the visual aided by CAS passed the criterion 70/70 respectively. The learning achievement of the students passed the criterion of 60%. Also their learning achievement after study was better than before study the lesson with statistical significant at 0.01.