Creative Thinking of Ninth Grade Students about Circle Through Art Work(ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 เกี่ยวกับเรื่องวงกลม จากผลงานศิลปะ)

Authors

  • จารุวรรณ ปะกัง (Jaruwan Pakang) Khon Kaen University
  • ดร.บัณฑิต ภิบาลจอมมี (Dr.Bundit Pibaljommee) Khon Kaen University

Keywords:

Creative Thinking(ความคิดสร้างสรรค์), Mathematical idea about Circle(ความคิดคณิตศาสตร์เกี่ยวกับวงกลม), Art work(ผลงานศิลปะ)

Abstract


“จินตนาการสำคัญกว่าความรู้” อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักคณิตศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ได้เคยกล่าวไว้ จินตนาการเป็นหนทางที่จะนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ งานวิจัยชิ้นนี้มีแนวคิดในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนผ่าน งานศิลปะ ด้วยอาศัยพลังจากศิลปะและจินตนาการเป็นส่วนกระตุ้น ดึงดูดความสนใจ และท้าทายในการเรียนรู้และทำความเข้าใจคณิตศาสตร์ในเรื่องวงกลม งานศิลปะถูกเลือกใช้เป็นเครื่องมือสำหรับนักเรียนชั้น ม. 3 เพราะเห็นว่าศิลปะเป็นสิ่งที่เหมาะสมกับโลกแห่งจินตนาการและวัยแห่งสีสันของเด็ก ผลการวิจัยสะท้อนให้เห็นถึง ความสามารถของนักเรียนในการเชื่อมโยงความคิดสร้างสรรค์กับการเข้าใจคณิตศาสตร์แล้วถ่ายทอดหรือสื่อสารผ่านงานศิลปะในหนทางเฉพาะตัวแต่ละคน นักเรียนแต่ละคนแสดงออกให้เห็นถึงเอกลักษณ์ วิธีการ วิธีคิดที่จะนำเสนอ ลักษณะของวงกลมได้อย่างริเริ่ม คล่องแคล่ว ยืดหยุ่น และละเอียดลออบอกเล่าผ่านมากับผลงานศิลปะตามแบบของตัวเอง ข้อค้นพบที่สำคัญในงานวิจัยนี้พบว่า กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ผ่านศิลปะ มีส่วนสนับสนุนความงอกงามของการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนได้อย่างดียิ่ง ผู้เรียนกล้าแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ ตามความเข้าใจ คิดฝันและจินตนาการของตนเอง

çImagination is more important than knowledgeé Albert Einstein, the great mathematician, once said. Imagination is the path leading to creative thinking. This study focus on ideas to promote studentsû creative thinking through art work by using art as a creative tool to enhance learning and understanding in mathematics regarding circle. Art work was selected as creative tool for ninth-grade studentsû mathematics classroom as it seemed to facilitate the colorful imagination of young students. The research results reflected the studentsû ability to link between creative thinking and mathematical understanding then transferred and communicated their understandings through art works of which were individual differences. Each student was unique depending on the art work and methods they initiated and presented. Freedom and opportunities to communicate through art work in mathematics classroom enhanced studentûs higher capability to learn mathematics. The students expressed their clearly understand of mathematical concepts, in this case: about the concept of circle, and successfully presented in various kinds of art works in their own ways.


Downloads

Published

2014-11-21

Issue

Section

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์