Alcohol, Gender, Consumption and Related problems in Khon Kaen province : An area based study(การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และปัญหาที่เกี่ยวข้องจากการดื่มเครื่องแอลกอฮอล์ของประชาชน 12-65 ปีในจังหวัดขอนแก่น)
Keywords:
Alcohol(การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์), Gender, Consequences(ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์)Abstract
Alcohol consumption and related problem area information is essential to understand situation , solve related problems and allow to revise campaign regarding alcohol. This study aims to explore alcohol consumption and related problems relation to gender in population age 12-65 years, Khon Kaen province, during March 2006-March 2007. This survey used multi-stage sampling and face to face interview. The setting distributed in urban area and rural area, total 533 household and 1,033 interviewees. Estimation total drinkers among 1,300,026 population, there were 398,211 drinkers drank in 12 months, 328,061 drinkers drank in 1 month, and 266,664 drinkers drank in 1 week. In samples, life time abstainers was 48% and drinker was 43%. Lifetime abstain was common for female (78%), while current drinker was common for male (67.8%). About history of drinking, 28.3% drank in 1 week (49.8% male, 11.7% female), 33.8% drank in 1 month (56.8% male, 16.1% female) and 43.0% drank in 1 year (16.2% male, 32.6% female). Male drinkers were heavy drinker (10.2%), possibly alcohol dependence (21.5%), and binge drinker (38.2%), greater than female’s rate about 2-3 times. Both gender (2-5%) was victims for physical injuries, oppressing, from drinkers. Among drinkers, the majority of harm were these; 16-17% of men got problem on marriage or intimate relationship with spouse, on working, and physical. It might conclude that during the past year, men had a higher level of alcohol use than women in both number of drinkers and amount of alcohol intake. Moreover, consequences of alcohol use effected widely for social. Those had difference among men and women.ข้อมูลระดับพื้นที่เกี่ยวกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีความจำเป็นต่อการเข้าใจสถานการณ์เรื่องนี้ เพื่อนำไปสู่การวางแผนแก้ปัญหาตลอดจนการทบทวนวิธีการรณรงค์เพื่อลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกฮอล์ให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลต่อไป การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และปัญหาที่เกี่ยวข้องจากการดื่ม ในกลุ่มประชาชน12-65 ปี พื้นที่จังหวัดขอนแก่น ในรอบปีที่ผ่านมาก่อนการศึกษา(มีนาคม2549ถึงมีนาคม 2550)โดยใช้วธีสำรวจในการเก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์โดยตรงกับกลุ่มเป้าหมาย 1,033 คน และสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอน ทั้งในเขตเมือง และชนบท. ผลการศึกษาพบว่าประมาณการผู้ที่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของจังหวัดขอนแก่น มีผู้ดื่มในระยะเวลา1ปีที่ผ่านมามีประมาณ 398,211 คน ดื่มภายใน 1 เดือนที่ผ่านมามีประมาณ328,061 คนและดื่มในสัปดาห์ที่ผ่านมามีประมาณ 266,664 คน จากประชากรเป้าหมาย1,300,026 คน ผลการศึกษาเฉพาะในกลุ่มตัวอย่างพบว่า 48%เป็นผู้ที่ไม่เคยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เลยในชีวิต 43% เป็นคนที่ดื่มในรอบปีที่ผ่านมา 78% ของผู้หญิงไม่เคยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เลยในชีวิต ขณะที่ผู้ชายส่วนใหญ่ดื่มในช่วงปีที่ผ่าน ถึง 67.8% ครั้งสุดท้ายที่ดื่มนับถึงการสัมภาษณ์ ดื่มในช่วง 1 สัปดาห์ ผู้ชาย 49.8% ผู้หญิง 11.7% ดื่มในช่วง 30 วัน ผู้ชาย 56.8% ผู้หญิง 16.1% ดื่มในช่วง1 ปี ผู้ชาย 67.8% ผู้หญิง 23.9% ในส่วนรูปแบบการดื่มของผู้ดื่ม ผู้ชายดื่มแบบดื่มหนัก 10.2%ดื่มแบบมีแนวโน้มติดแอลกอฮอล์21.5% ดื่มแบบหนักมาก 38.2% ซึ่งทุกแบบการดื่มผู้ชายมีสัดส่วนที่สูงกว่าผู้หญิง2-3เท่า ด้านปัญหาที่เกี่ยวข้องการดื่ม ผู้ชายและผู้หญิงประมาณ2-5% ถูกทำร้ายร่างกายหรือได้รับความรำคาญจากการกระทำของผู้ดื่ม ผู้ชายที่ดื่ม16-17% มีปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับคู่ครอง งานและสุขภาพ สรุปได้ว่าในรอบปีที่ผ่านมาผู้ชายดื่มมากกว่าผู้หญิงทั้งปริมาณและรูปแบบการดื่มทุกประเภท ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการดื่มส่งผลอย่างกว้างขวางทั้งแก่ผู้ที่ดื่มและผู้ที่ไม่ดื่ม แต่มีความแตกต่างกันระหว่างชายและหญิง